ปรากฏการณ์พลังงานที่หนองเสาเถียร
ภาพโรงไฟฟ้ากับโรงแยกก๊าซกลางทุ่งนากว้างใหญ่ใกล้กับชุมชนที่หนองเสาเถียร อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นภาพแปลกตาที่ดูขัดแย้ง แต่มาลงตัวอยู่ด้วยกันแบบที่ไม่เคยเกิดกับโรงไฟฟ้าที่ไหนมาก่อน แต่โรงไฟฟ้ารูปแบบนี้เป็นปรากฏการณ์ที่อาจจะได้เห็นเพิ่มขึ้นในเมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555)
ข้าวหอมมะลิแดงพันธุ์ใหม่
บริษัท ธุรกิจเพื่อพัฒนาการศึกษาและชนบท จำกัด (B.R.E.A.D.) มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ร่วมกับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.เปิดตัวผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิแดงพันธุ์ใหม่ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม ตราข้าวโรงเรียนจากโครงการวิทยาลัยข้าวไทย ในงาน “อิ่มข้าวอิ่มบุญ อิ่มอุ่น อิ่มใจ” เพื่อตอบโจทย์คนรักสุขภาพ และมีจิตสาธารณะ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555)
ปตท.สผ. ร่วมมือ Statoil
อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ระบุว่า ปตท.สผ.ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับบริษัท สแต็ทออยล์ (Statoil ASA) โดยนายเฮลเก ลุนด์ (Mr.Helge Lund) ซีอีโอของสแต็ทออยล์ เพื่อกระชับความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างสองบริษัท และส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
นักบุกเบิกแหล่งพลังงานระดับโลก “ก้าวต่อไป” ของ ปตท.สผ.
อนนต์ สิริแสงทักษิณ หัวเรือใหญ่แห่ง ปตท.สผ. ซึ่งเป็น “หัวขบวน” ของธุรกิจกลุ่ม ปตท. เขาตระหนักดีว่าไม่เพียงเพื่อสร้างความมั่งคั่งของ ปตท. อีกหน้าที่สำคัญของเขาคือสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553)
ความภาคภูมิใจ
คงเป็นเรื่องที่ยากจะพิสูจน์ถึงความคุ้ม หรือไม่คุ้ม กับการที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิต (ปตท.สผ.) ทุ่มงบประมาณเป็นตัวเลข 7 หลัก พาสื่อมวลชนกว่า 40 ชีวิต ไปเยี่ยมชมความคืบหน้าการก่อสร้างแท่นผลิตกลางของโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติ "อาทิตย์" ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ที่โรงงานของบริษัท J.Ray McDermott บนเกาะบาตัม ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อกลางเดือนก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550)
Learning from Partner ก้าวกระโดดของ ปตท.สผ.
การสร้างบุคลากรในวงการน้ำมันของไทย เริ่มต้นอย่างจริงจังหลังพระราชบัญญัติปิโตรเลียมถูกประกาศใช้ในปี 2514 ที่มีการเปิดสัมปทานให้บริษัทต่างชาติเข้ามาสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไขซึ่งระบุไว้ว่าบริษัทน้ำมันที่จะเข้ามา ต้องให้ทุนการศึกษากับคนไทยได้ไปศึกษาต่อในวิชาที่เป็นหัวใจทางด้านเทคนิคของอุตสาหกรรมนี้ คือด้านธรณีวิทยา ธรณี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมปิโตรเลียม ทุนนี้เรียกกันในสมัยนั้นว่า "ทุนน้ำมัน"
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
"ที่โอมานเขาให้เครดิตเรามาก"
การได้รับสัมปทานขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในประเทศโอมานของ ปตท. สผ.เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เพราะไทยเป็นลูกค้าที่ซื้อน้ำมันจากโอมานมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
"พื้นที่ปกติทุกแห่ง เราทำได้หมด"
- ขอถามแบบคนนอก คือไม่ทราบว่าการเรียนรู้เทคโนโลยีในด้านของการสำรวจ ขุดเจาะ กับการเป็น operator อันไหนมันยากง่ายกว่ากัน
ผมแบ่งงานอย่างนี้ งานที่เป็นงานหัวใจหลักจริงของธุรกิจนี้ คืองานที่คนจะต้องบอกให้ได้ว่าน้ำมันกับก๊าซนั้น มันอยู่ตรงไหน พวกนี้จะเป็นพวกนักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกซ์ วิศวกรปิโตรเลียม งานอันนี้จะไปให้คนอื่นทำแทนไม่ได้ บริษัทน้ำมันจะต้องทำเอง ฉะนั้นเราก็พยายามจะ build ตรงนี้ขึ้นมาให้คนของเรา
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
"Thai" Oil Hunter
ในบทบาทนักไล่ล่าหาน้ำมัน ปตท.สผ.ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยใช้ยุทธวิธีเรียนรู้จาก partner ในการยกระดับตัวเอง จนทำให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ข้ามชาติหลายรายให้การยอมรับได้อย่างรวดเร็ว ทั้งที่ ปตท.สผ.เพิ่งมีอายุได้ไม่ถึง 20 ปีเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
ธารา ธีรธนากร President คนไทยคนแรกของ Unocal
ท่าทีของ Unocal Thailand เริ่มเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หลังถูกสังคมตั้งข้อสังเกตอย่างมากเกี่ยวกับการกำหนดราคาก๊าซที่บริษัทแห่งนี้ขุดขึ้นมาขายให้กับปตท. ทั้งๆ ที่เป็นทรัพยากรที่เกิดและมีอยู่ในประเทศไทย การยินยอมลดราคาขายตลอดจนการแต่งตั้งคนไทยขึ้นเป็น President ถือเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนท่าทีที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547)