เดิมพันของ UBC
แม้ว่าสถานการณ์ยังไม่เป็นใจ แต่มาตรการหลายอย่าง
ที่ยูบีซีทำไปกำลังจะเริ่มเห็นผลในปีนี้ นั่นหมายความว่า
จะเป็นปีแรกที่เคเบิลทีวีรายนี้จะโผล่พ้นน้ำได้เป็นครั้งแรก
หลังจากที่พวกเขาต้องใช้เวลามาแล้วไม่ต่ำกว่า 11 ปีเต็ม
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545)
อนาคตยูบีซี ยังไงก็ยังต้องพึ่งการมีโฆษณา
5 ปัจจัยที่จะมีผลต่อราคาหุ้นของยูบีซีในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหัวข้อหลักที่วาสิลี
สกูร์ดอส ผู้ช่วยรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินของยูบีซี นำมาใช้เป็นฐานในการแถลงข่าวผลการดำเนินงานประจำปี
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545)
ลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก ถ้ายูบีซีไม่ได้มาคงลำบาก
การตัดสินใจของอีเอสพีเอ็น สตาร์ สปอร์ต ที่มอบลิขสิทธิ์ใน การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์
ลีก จากประเทศอังกฤษ ในฤดูกาลนี้ไปจนถึงปี 2546 ให้กับยูบีซี เปรียบเสมือนการยกภูเขาลูกใหญ่ออกจากอกของสัมพันธ์
จารุมิลินท
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544)
น้ำผึ้งขมที่เนชั่นชาแนล
กว่า 6 เดือนเต็มของเนชั่นชาแนล 8
ท่ามกลางมรสุมรอบด้าน อาจทำให้เนชั่น และยูบีซี ต้องหันมาทบทวนบทบาทของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543)
ทีวี-คอมเมิร์ซ
ยูบีซี เคเบิลทีวี เป็น "จิ๊กซอว์" อีกตัวที่กำลังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของ
TV commerce ในรูปแบบของอินเตอร์แอคทีฟ ที่จะเป็น "สื่อ" อีกประเภทหนึ่งบนเส้นทาง
อี-คอมเมิร์ซของทีเอที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543)
NATION CHANNEL อิทธิพลของ content
ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการช่องข่าว "เนชั่นชาแนล" ทางช่อง
8 ของยูบีซี ท่ามกลางอุณหภูมิความขัดแย้งไอทีวี
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
War room ของยูบีซีอาวุธลับอยู่ที่ข้อมูล
ด้วยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้บริษัทเคเบิลทีวีรายเดียวของเมืองไทย เลือกติดอาวุธลับของการทำธุรกิจด้วยฐานข้อมูลที่จะถูกนำมารวมศูนย์ในห้องนี้ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า war room
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
ยูบีซีถึงเวลาฟันกำไรแต่อาจแพ้ภัยตัวเอง
เปิดแผนยูบีซีทะยานพ้นผิวน้ำ หลังรวมกิจการส่งผลให้ต้นทุนลดลงเกือบครึ่ง
แถม ได้เงินจากการขายหุ้น 2,200 ล้านบาทมาอัดฉีดสภาพคล่องจนถึงสิ้นปีหน้า
กำหนดเป้าหมายสิ้นปี 2542 ถึงจุดคุ้มทุนแน่ แต่ท่ามกลางแสงสว่างที่รออยู่ข้างหน้า
ยูบีซีอาจต้องเจอกับกระแสต่อต้านการเป็นผู้ผูกขาด ที่คอยเป็นบ่วงรัดคอ ที่ทำให้ยูบีซีไปไม่ถึงดวงดาว
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541)
ไอบีซีผนึกยูทีวี เดิมพันครั้งใหญ่ของทีเอ
ทันทีที่ผู้บริหารของบริษัทไอบีซีและยูทีวี จรดปากกาลงบนสัญญาการรวมกิจการของทั้งสองเสร็จสิ้นลง
บันทึกบนหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของธุรกิจเคเบิลทีวีก็กำลังเริ่มต้น ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนจากคู่แข่งมาเป็นทองแผ่นเดียวกัน
อะไรคือสาเหตุทำให้ทีเอเป็นผู้กำหนดชะตาของไอบีซี ในขณะที่ชินวัตรกลับเป็นฝ่ายถอยไปจากเส้นทางนี้
ทีเอจะวางอนาคตของธุรกิจนี้ภายใต้เศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจ และจะรับมือกับการค้าเสรีที่จะเกิดในอีกไม่ถึง
2 ปีข้างหน้านี้อย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541)
ภัทรฯ เปิดใจ "IBC-UTV" ดีลหิน
ข่าวการรวมกิจการระหว่างสองยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเคเบิลทีวี IBC และ UTV มีออกมาเป็นระยะๆ
คนส่วนใหญ่ก็ไม่คิดว่าดีลนี้จะเป็นจริงขึ้นมาได้ เพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็นคู่แข่งที่มีความแข็งแกร่งด้วยกันทั้งคู่
แต่ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องหันหน้าเข้ามาปรึกษากัน ในปัญหาหลักที่เผชิญร่วมกันอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยมี บล.ภัทร ทำหน้าที่เป็น Central Advisor ให้กับทั้งสองฝ่าย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541)