True Visions คอนเทนต์ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
หลังความสงสัยเมื่อครั้งศุภชัย เจียรวนนท์ ยอมทุ่มทุนและเป็นหนี้หลายหมื่นล้านบาท เพื่อเป็นเจ้าของทรูวิชั่นส์ ปีกว่าที่ผ่านมากลยุทธ์ต่างๆ บนแนวคิด "convergence" แสดงให้เห็นแล้วว่า ศุภชัยมองเห็นว่า "ขุมคอนเทนต์" แห่งนี้เปรียบได้ราวกับ "บ่อน้ำมัน" ที่จะได้ขุด "น้ำมัน" ขึ้นมาปล่อยผ่าน "ท่อส่ง" เข้าสู่ครัวเรือน ซึ่งทรูฯ ได้วางโครงข่ายไว้พร้อมแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2550)
และแล้วก็มี "true" นำหน้า
"การทำ convergence ไม่ได้ทำง่ายๆ แค่เพียงควบรวมกิจการ หรือเปลี่ยนชื่อใหม่ที่ดูสวยหรูเพียงเท่านั้น เพราะตั้งแต่กลางปีที่แล้วจนถึงวันนี้ ทรูค่อนข้างชัดเจนว่าอย่างไรก็จะนำเสนอภาพของการรวมเข้าด้วยกันของเทคโนโลยีต่อลูกค้าและผู้ใช้งาน การเปลี่ยนชื่อเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จับต้องได้ และพยายามจะบอกว่าต่อไปนี้ยูบีซี จะให้อะไรมากกว่าที่เคยให้และเคยเป็นก่อนหน้านี้"
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
Synergy ของแท้
ตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะบริหาร บริษัททรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือยูบีซี มักใช้คำว่า "convergence" ในการอธิบายให้สื่อมวลชนและผู้คนทั่วไปได้เข้าใจการเข้ามารวมกันของเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
เจ้าของเต็มตัว
ข้อความจากบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ถูกส่งมายังโทรศัพท์มือถือ และสำนักงานของสื่อมวลชนหลายแขนงในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 โดยมีใจความระบุว่า ศุภชัย เจียรวนนท์ จะนั่งเป็นประธานในงานแถลงข่าวด่วนของบริษัทในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548)
ยูบีซีกับวิถีทาง "Segmentation"
Segmentation สำคัญแค่ไหนในสายตาของยูบีซีในยามที่คู่ต่อสู้ในสังเวียนเข้มแข็งขึ้น ผลกระทบของการเซ็นสัญญาระหว่างผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นกับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชั้นนำของโลกหลายๆ ราย เพื่อรับสิทธิ์เป็นผู้เผยแพร่ภาพรายการได้เพิ่มขึ้นจากรายการเดิมๆ ที่มีอยู่ หรือแม้แต่การเซ็นสัญญาของสถานีโทรทัศน์บางแห่งกับผู้รับสัมปทานการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ โดยผู้ชมทางบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการชมเพิ่มเติม และการกำเนิดขึ้นของฟรีทีวีที่นับวันจะเพิ่มรายการที่น่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็นแรงผลักดันที่ส่งผลให้ยูบีซีต้องออกมาแก้เกมการตลาดกันยกใหญ่ แม้จะเคยเป็นผู้ที่ผูกขาดตลาด มานานหลายปีแล้วก็ตามที
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548)
UBCi รายการทีวีบนบรอดแบนด์
ทรูจับมือยูบีซีเปิดตัวบริการ "UBCi" รายการทีวีบนบรอดแบนด์กระตุ้นยอดผู้ใช้งานบรอดแบนด์ในไทย หลังทุ่มทุนแจกโมเด็มบรอดแบนด์ฟรีให้กับลูกค้าติดต่อกันหลายเดือนเพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้บรอดแบนด์ แต่ "ทรู" ก็ยังคิดอยู่เสมอว่าตราบใดที่ยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเรื่องคอนเทนต์บนเครือข่ายบรอดแบนด์ ที่เป็นปัญหาไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันมาตลอดช่วงหลายปีมานี้ ตลาดก็คงยังจะโตได้ไม่เต็มที่
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
"นกแอร์" ปั้นดารา
นับเป็นครั้งที่ 2 ของการจัดงานแถลงข่าว สายการบิน "นกแอร์" สายการบินประเภท low cost airline แม้ว่ารูปแบบของการจัดงานแถลงข่าวครั้งนี้จะเน้นความเรียบง่าย สถานที่จัดงานก็เป็นห้องจัดเลี้ยงในโรงแรมโฟร์ซีซั่น (รีเจ้นท์ กรุงเทพฯ) ผิดไปจากเมื่อครั้งเปิดตัว "แบรนด์" นกแอร์ ที่ต้องมีคอนเซ็ปต์ตั้งแต่การ์ดเชิญไปจนกระทั่งรูปแบบการจัดงาน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547)
UBC Inside ถึงเวลาต้องผลิตเอง
เพราะเป็นครั้งแรกที่ยูบีซี เคเบิลทีวี ต้องหันมาผลิต รายการท้องถิ่นขึ้นเป็นของตัวเอง งานนี้จึงไม่ธรรมดา ถึงแม้จะเป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมรายการใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคเบิลทีวี ที่มีช่องรายการให้สมาชิกเลือกดูมากมายถึง 30 กว่าช่องด้วยแล้ว แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนกับที่ผ่านมา เพราะเป็นครั้งแรกที่ยูบีซีลงมือผลิตรายการด้วย
ตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546)
UBC คำตอบอยู่ที่ห้องนี้
"ถ้าคุณขาดทุนปีเดียว 3,000 ล้านบาท คงต้องตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง" วาสิลี
(เบซิล) สกูร์ดอส ผู้ช่วยรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน กลุ่มบริษัทยูบีซี
บอกถึงที่มาของการที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบการรายแรก ที่ไม่ใช่แค่ในไทย
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545)