"ธรรมนูญ หวั่งหลี ลูกหม้อทีจี บริหารงานการบินไทยหายห่วง"
ธรรมนูญ หวั่งหลี ผู้นั่งในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย
จำกัด (มหาชน) อาจเป็นลูกหม้อคนแรกที่อยู่ในระดับสูงสุดด้วยโค้ดย่อ DD เป็นระยะเวลานานถึง
6 ปี นับจากปี 2536 เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เพราะสถานการณ์ของการบินไทยในยุคฝ่าคลื่นลมทางเศรษฐกิจการเมือง
คนของรัฐยังไม่สามารถเฟ้นหาตัวคนที่จะมาบริหารสายการบินแห่งชาติที่มีอายุกว่า
37 ปีแห่งนี้ได้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"แปรรูปกิจการการบินไทย เดิมพันตำแหน่ง "ธรรมนูญ"
"หนทางรอดของการบินไทย มีเพียงอย่างเดียวก็คือการแปรรูป" แต่ใครจะรู้ว่า
การแปรรูปการบินไทยเป็นอีกทางรอดหนึ่ง ซึ่งทำให้ธรรมนูญ หวั่งหลี สามารถสร้างผลงานเด่นชัดในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
บทสรุปประชุมผู้ถือหุ้นเจ้าจำปี เพิ่มฝูงบิน 21 ลำผ่านตลอด
การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2540 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา แม้จะได้บทสรุปเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม
21 ลำ ตามแผนวิสาหกิจปี 2538/39-2542/43 แล้วก็ตาม เพราะเป็นการจัดประชุมเพียงเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แต่แนวการหาเงินเพื่อซื้อเครื่องใหม่นั้นยังไม่ยุติ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
"เส้นทางบินในประเทศ 13 สาย การบินไทยทำขาดทุน หมอปราเสริฐจะทำกำไรให้ดู"
หมอปราเสริฐจะผ่าตัดเส้นทางบินภายในประเทศให้หายจากโรคขาดทุนได้อย่างไร
หากคณะกรรมการบริหารกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ 13 เส้นทางบินย่อยในประเทศที่ขาดทุนย่อยยับอย่างต่อเนื่องมาแรมปีจับใส่พานโดยมี
"เต้" ประธานบอร์ดยกให้กับเอกชน โดยเฉพาะหมอปราเสริฐเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันรับไปดำเนินการ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)
การบินไทยบินหลงเป้า
ชั่วเวลาเพียงปีเดียวนับจากเดือนเมษายน 2532 ถึงพฤษภาคม 2533 การบินไทยขอซื้อเครื่องบินครั้งใหญ่ถึงสองครั้ง
รวมจำนวน 31 ลำเป็นเงินเกือบแสนล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533)
การบินไทย
การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่มี "บิ๊กบอส" มาจากทหารอากาศ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ทัพฟ้าครั้งใดก็มักจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารในการบินไทย
เป็นประวัติศาสตร์ที่ดำรงอยู่จริงมาตลอด 28 ปีของการก่อตั้งสายการบินแห่งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)
การบินไทย
การตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารการบินไทยในการเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ใช้กับเครื่องบินจากยี่ห้อยีอีมาเป็นแพร็ต
แอนด์วิทนี่ย์ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของการบินไทย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532)
"ชี่" - ว่าด้วยปัญหาการบินไทยในมิติใหม่เอี่ยม
ความเป็นไปทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ หลายสิ่งทำความเข้าใจกันได้ด้วยหลักเหตุผลธรรมดาสามัญ
หลายอย่างอยู่เหนือกว่าที่ตรรกะของความคิดแบบวิทยาศาสตร์จะให้ความกระจ่างได้
และบางสิ่งบางอย่างรับรู้กันได้ด้วยมุมมองทั้งสองแบบ แล้วแต่ว่าจะปักใจกับเหตุผลแบบไหน
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532)
คืนการบินไทยให้ประชาชน
กระทรวงการคลังต้องการให้การบินไทยเข้าตลาดหุ้น เพื่อลดภาระของตัวเองในการค้ำประกันเงินกู้ต่างประเทศ
แต่ผู้บริหารการบินไทยกลับบอกว่าไม่จำเป็น กู้เองได้โดยคลังไม่ต้องค้ำ ก็แปลกดีที่เจ้าของบริษัทต้องการอย่างนี้แล้ว
คนที่เป็นลูกจ้างยังลุกขึ้นมาคัดค้านหัวชนฝาราวกับบริษัทนี้เป็นของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532)
"ถ้าการบินไทยเข้าตลาดหุ้นไม่เห็นเสียหายอะไร"
ในฐานะเป็นแบงเกอร์หากการบินไทยจะริเวอร์เรทเงินเข้ามาเพื่อมาขยายหรือซื้อเครื่องบิน
เหตุผลที่เขาบอกว่าไม่สมควรต้องเข้าตลาดหุ้น เพราะมีความสามารถในการก่อหนี้ได้เองนั้น
ประเด็นนี้ ผมว่ามองกันคนละจุด การจะก่อหนี้หรืออะไรก็ตาม ในเมื่อบริษัทนี้เป็นบริษัทจำกัด
สัดส่วนของเงินทุนกับหนี้ต้องได้อัตราส่วนกันไม่ใช่ว่าเราไปใช้เงินกู้ๆๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532)