"ชาติชาย เย็นบำรุง ผู้พลิกการขาดทุนให้เป็นกำไร"
ในที่สุด "ชาติชาย เย็นบำรุง" ก็ได้ตัดสินใจหันหลังให้กับวงการธุรกิจสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์
ที่เขาคลุกคลีมาเป็นเวลา 5 ปีเต็มชาติชายได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป
ของบริษัท ชินวัตรไดเร็คทอรี่ส์ จำกัดอย่างเป็นทางการแล้วและมีผลบังคับเมื่อวันที่
15 มกราคมที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536)
"ชินวัตรปะทะล็อกซเล่ย์ ใครจะแข็งกว่ากัน"
การเผชิญหน้าระหว่างชินวัตรกับล็อกซเล่ย์เกิดขึ้นอีกครั้งในโครงการโทรศัพท์ภูมิภาค
1 ล้านเลขหมาย การต่อสู้ครั้งนี้เป็นฉากพิสูจน์ความแข็งแกร่งทางการเงินระหว่างกลุ่มธุรกิจยักษ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535)
ชินวัตรการ์ด "เก็บเงินสะดวก แถมได้ภาพพจน์ด้วย"
ชื่อของชินวัตรคอมพิวเตอร์แอนด์คอมมิวนิเคชั่นหรือเอสซีแอนด์ซี เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นกลุ่มที่ทำธุรกิจรับสัมปทาน
เพื่อขายบริการทางด้านโทรคมนาคม ความโด่งดังในความสามารถของทักษิณ ชินวัตร
ในการเจาะตลาดสัมปทาน บวกกับความแข็งแกร่งของบริษัทกลุ่มชินวัตรในการเสนอบริการโทรคมนาคมสู่ตลาดผู้บริโภค
ทำให้กลุ่มชินวัตรมีกิจกรรมทางการตลาดที่ทันสมัยและมีนวัตกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534)
นงลักษณ์ พินัยนิติศาสตร์ ดร.หญิงคนแรกของไทยที่จบทางด้านดาวเทียม
ผู้หญิงคนนี้อายุเพียง 32 ปี แต่ความรู้ความสามารถบวกกับประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา
10 ปีทำให้เธอได้รับการทาบทามจากผู้บริหารของกลุ่มชินวัตร คอมพิวเตอร์ให้มารับผิดชอบงานในโครงการดาวเทียมซึ่งมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง
5,000 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534)
จุดขายเพจจิ้งอยู่ที่เครือข่ายบริการ
ตลาดเพจจิ้งมูลค่า 140,000 เครื่องต่อปีกำลังก้าวไปไกล 3 ค่ายผู้นำเข้าต่างฝ่ายต่างนำเทคโนโลยีที่ล้ำนำหน้าเขตฟาดฟันแข่งขันเป็นจุดขายที่มั่นคง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534)
เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ข้อต่อชินวัตรกับเอทีแอนด์ที
เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ เพิ่งจะมาร่วมงานกับกลุ่มชินวัตรเมื่อต้นปีนี้ ในตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่ม รับผิดชอบงานด้านการตลาดและการขายอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคม เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทเอที แอนด์ ที ไดเร็คทอรี่ส์ เจ้าของสัมปทานสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองซึ่งชินวัตรเพิ่งเข้าไปซื้อกิจการมาเมื่อเดือนที่แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534)
ดาวเทียมชินวัตร : ต้องเสียก่อนจึงจะได้
ในที่สุดความหวังที่ประเทศไทยจะมีดาวเทียมเป็นของตัวเองก็เป็นความจริงขึ้นมา
นับเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานโครงการแรกที่ลงทุนและดำเนินการโดยภาคเอกชน
และเป็นโครงการแรกอีกเช่นกันที่คลอดออกมาอย่างไม่ยากเย็นนักในยุค รสช.
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534)
AT & T ยกสมุดหน้าเหลืองให้ชินวัตรฯ พร้อมเงินสด 370 ล้าน
นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไปกิจการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์
(ไดเร็คทอรี่ส์) จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทในเครือบริษัทชินวันคอมพิวเตอร์
จำกัด ทั้งนี้เป็นผลจากการเจรจาระหว่าง ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประธานกลุ่มบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์กับทางบริษัท
เอที แอนด์ ที อินเตอร์เนชั่นแนลที่มีตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534)