ราเกซ สักเสนา
ต้องขออภัยจริง ๆ กับท่านผู้อ่านที่ดิฉันหายไปจากคอลัมน์นี้เดือนที่แล้ว เพราะติดภารกิจสำคัญต้องบินไปสัมภาษณ์ ราเกซ สักเสนา ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีบีบีซี ที่แวนคูเวอร์อย่างฉุกละหุกเอาการ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
"บทเรียนของพ่อมดการเงิน"
การต่อสู้ของพ่อมดการเงินในระบบเศรษฐกิจไทยในปี 2539 ทำท่าว่าจะเพลี่ยงพล้ำต่อธุรกิจที่บากบั่นพยายามสร้างผลผลิต "พ่อมดการเงิน" เหล่านี้เพียรพยายามนำจุดขายของศาสตร์ Financial Engineering ที่เคยเฟื่องฟูในสหรัฐเมื่อหลายทศวรรษก่อนมาใช้กับประเทศไทย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าบทลงท้ายกลับมีตัวอย่างของความล้มเหลวให้เห็นกรณีแล้วกรณีเล่า
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539)
"เมย์เดย์..เมย์เดย์..เมย์เดย์!"
เมื่อตอนต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสโทรศัพท์คุยกับเอกชัย อธิคมนันทะ อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี) ก็ให้แปลกใจเป็นกำลัง เพราะลำพังการปฏิเสธที่จะพูดคุยด้วยนั้นพอเข้าใจอยู่เนื่องจากข่าวคราวของธนาคารแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน แต่ที่ไม่เข้าใจจนต้องมาบ่นสนทนากับเพื่อนร่วมงานก็คือ เหตุใดน้ำเสียงที่พูดจึงละล่ำละลักเหมือนปลาสำลักน้ำ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539)
"เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อวสาน "อินทรฑูต"
พฤษภาคม 2529 เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ เดินออกจากรั้ววังบางขุนพรหม มาดูแลธนาคารกรุงเทพฯ
พาณิชย์การของครอบครัว ด้วยความคาดหวังเต็มเปี่ยมของคนรอบข้าง ทั้งผู้ใหญ่ในแบงก์ชาติและครอบครัวของเขาว่าจะกอบกู้ธนาคารแห่งนี้ให้ฟื้นแข็งแรง
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539)
"การต่อสู้ของอินทรฑูต"
เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ไม่ใช่คนแรกที่เขียนตำนานอันเร้าใจบทนี้ บีบีซี เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2487 แถว ๆ ทรงวาดในยุคนั้น บีบีซีก็เหมือนธนาคารยุคแรก ๆ ที่ควบคุมโดยพ่อค้าเชื้อสายจีน เช่นธนาคารทั่วไปโดยมีหัวเรือใหญ่คือ
ตัน จิน เกง พ่อค้าจีนผู้มีชื่อเสียง ประสบการณ์ธุรกิจครบเครื่องเจ้าของกิจการเดินเรือใหญ่ บริษัทโหงวฮก ได้ชักชวน ตัน ซิ่ว เม้ง หวั่งหลี บุลสุข สหัท มหาคุณลงขันตั้งธนาคารขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539)
"เมื่อหม่อมคึกฤทธิ์อสัญกรรม "ตันติพัฒน์พงศ์" จะฮุบแบงก์ ?"
มูลค่าซื้อขายหุ้นแบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การ ที่การติดอันดับสูงสุดสามวันต่อเนื่องกัน ภายหลังการอสัญกรรมของ พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงขบวนการสร้างราคาที่อาศัยความอ่อนไหวจากกระแสข่าว เฉกเช่นเคยเป็นมาในอดีต เช่น ราคาหุ้นพุ่งชนซิลลิ่งเพื่อขานรับข่าวศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเสี่ยสองในข้อหาปั่นหุ้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
ลมหายใจของเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
ข่าวความขัดแย้งในแบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การ (BBC) แบงก์พาณิชย์อันดับ 9 ของไทยผุดขึ้นอีกครั้ง
คราวนี้เป็นการปะทะกันระหว่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหารของธนาคาร กับ ราเกซ สักเสนา ที่ปรึกษาธนาคารสัญชาติอินเดีย ทั้งคู่ตกอยู่ในประแสข่าวว่ากำลังจะถูกอีกฝ่ายขับไล่ออกจากแบงก์สุดท้ายเลยไม่รู้ว่าใครไล่ใครกันแน่
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
สืบสาย "อินทรทูต" ใน 48 ปีแบงก์บีบีซี"
ต้นตระกูล "อินทรทูต" คือ พลตำรวจเอกพระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต)
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลสมัยนั้นซึ่งมีเชื้อสายชาวจีนแต่มีอำนาจวาสนายิ่งใหญ่
ที่บรรดาพ่อค้าคหบดีชาวจีนยุคเก่าให้ความสำคัญ ถึงกับเชื้อเชิญพระพินิจชนคดีเป็นกรรมการธนาคารกรุงเทพฯ
พาณิชย์การ ในสมัยก่อตั้งเมื่อ 48 ปีที่แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536)
แบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การ VS เอื้อวิทยาฯ ชาวนากับงูเห่า?!?
ค่าเสียหายจำนวน 501,190 ล้านบาทที่เอื้อวิทยาฯเป็นโจทก์ฟ้องเรียกร้องจากธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การผู้เป็นจำเลย
ทำให้คดีนี้ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์คดีหนึ่งในประวัติการฟ้องร้องตามขั้นตอนศาลของไทย
ทั้งนี้เมื่อคำนวนดูสินทรัพย์ของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การซึ่งจำเลยส่วนมากต่างเป็นผู้บริหารในธนาคารแห่งนี้นั้น
มีเพียงกระผีกของวงเงินค่าเสียหายกว่าห้าแสนล้านบาทที่โจทก์เรียกร้อง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533)
การฟื้นฟูฐานะ "เอื้อวิทยา"
แบงก์กรุงเทพฯพาณิชย์การตัดสินใจเข้าไปฟื้นฟูกิจการบริษัทเอื้อวิทยาฯที่มีหนี้สินอยู่
500 ล้านบาทโดยถือหุ้นใหญ่ 75% และควบคุมการบริหารทั้งหมดการฟื้นฟูได้เริ่มอย่างจริงจังเมื่อเดือนมีนาคม
2531
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)