วิบากกรรมไทยสกายทีวี
ไทยสกายทีวี เป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวีในยุคแรกๆ ที่เปิดให้บริการหลังจากไอบีซีเคเบิลทีวีนำร่องให้บริการไปได้ไม่นาน
ตลอด 5-6 ปีเต็มของการดำเนินธุรกิจ ไทยสกายทีวีต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อย
ไทยสกายทีวี ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับความรุ่งเรืองในยุคอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540)
3 ช่องศาสนา อาวุธใหม่ของไทยสกาย
"และแล้วศาสนาก็ได้เวทีเสียทีหลังจากที่รอมานาน" นั่นเป็นคำอนุโมทนาของพระพิศาลธรรมาพาที หรือพระพยอมกัลยาโณ กับการมีช่องศาสนาเกิดขึ้นในบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองไปด้วยสาสนาหลักของโลกทั้ง 3 ศาสนาอย่างประเทศไทย ไม่เพียงแต่พระพยอมเท่านั้นที่มาแสดงความยินดีกับ 3 ช่องศาสนาของไทยสกาย อีก 2 ศาสนาโดยเฉพาะศาสนาคริสต์ก็เรียกได้ว่ามากันอย่างคึกคักทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539)
มีเดียพลัส-ไทยสกายทีวี เกมนี้ยังเหนื่อยอีกนาน
มีเดียพลัสและไทยสกายเคเบิลทีวี คือ 2 สื่อที่เครือวัฏจักรกรุ๊ปเข้าไปซื้อกิจการเพื่อหวังขยับขยายบทบาทจากสื่อสิ่งพิมพ์ไปในสู่สื่อวิทยุและโทรทัศน์
ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่กระจายไปตามสื่อต่าง ๆ ให้ครบวงจร
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
"มิติใหม่ "ยูทีวี" ผ่านใยแก้วนำแสง ที่ยังไม่มีอะไรแตกต่าง"
"วันนี้ เราขอต้อนรับคนกรุงเทพฯ สู่สาระบันเทิง มาตรฐานโลกกับยูทีวีรวม
30 กว่าช่อง สด 24 ชั่วโมง กับข่าวซีเอ็นเอ็น เอชบีโอ แบบชัดใส เอ็มทีวี
สะใจวัยแบบนี้...เป็นบริการพิเศษหนึ่งเดียว จากยูทีวีที่คุณกดรีโมตคอนโทรลสั่งได้เลยค่ะ...."
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538)
"ไทยสกายทีวี ท่าดีทีเหลว"
ไทยสกายเริ่มต้นด้วยการสร้างภาพของความยิ่งใหญ่เพราะมี "คีรี กาญจนพาสน์"
เป็นผู้ปลุกปั้นเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว คีรีประสบความสำเร็จและมือขึ้นในด้านธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ธุรกิจเคเบิลทีวีจึงดูยิ่งใหญ่ตามแบบฉบับของเขา ทว่าหนึ่งปีผ่านไปแล้วก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ จนน่าเป็นห่วง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
"จุลจิตต์ บุณยเกตุ มืออาชีพโปร่งใสใน อสมท."
"ผมพร้อมที่จะลาออกจากการเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดนี้" จุลจิตต์
บุณยเกตุ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยออยล์กล่าวในการประชุมคณะกรรมการ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เพื่อแสดงจุดยืนว่า ตนไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับผลประโยชน์ใน
อสมท. ใด ๆ ทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"เสือนอนกิน นางงามจักรวาล"
ถึงแม้ว่าคีรี กาญจนพาสน์จะชนะคู่แข่งทัศนีย์ ศิริเยี่ยมในการต่อรองเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์สครั้งที่
41 โดยใช้เวลาในการล็อบบี้เพียง 3 เดือนเศษ ในขณะที่อีกฝ่ายในเวลาติดต่อนานเกือบ
2 ปี แต่ผู้รับผลประโยชน์สูงสุดหาใช่เป็นของผู้ชนะประมูล ทว่าเป็นบริษัทมิสยูนิเวิร์ส
อิงค์ ที่อยู่ในฐานะ "เสือนอนกิน" อย่างแท้จริง
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535)
ทีวีสตาร์วอร์
ศึกเคเบิลทีวีในช่วงเดือนที่ผ่านมาเริ่มดุเดือดเผ็ดมันเข้มงวดเข้ามาทุกที
แต่ละค่ายวิ่งหาสมาชิกกันอย่างหนัด อัดแคมเปญรายการส่งเสริมการขายยกใหญ่
คนในวงการบอกว่าศึกครั้งนี้มิใช่สู้กันแต่เฉพาะเคเบิลทีวีในเมืองไทยเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534)
ไทยสกายทีวี จุดเริ่มต้นอาณาจักรบันเทิง ของคีรี กาญจนพาสน์
หลังจากสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักกันในวงการเรียลเอสเตทและสามารถเข็นบริษัทธนายงเข้าไปปักหลักในตลาดหุ้นได้สำเร็จ
คีรี กาญจนพาสน์ กำลังจะเริ่มก้าวที่สองของการสร้างอาณาจักรธุรกิจในเมืองไทยด้วยธุรกิจเคเบิลทีวีในชื่อไทยสกายทีวี
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534)