คอลิน เวียร์คุมชะตาโฮปเวลล์ ไพ่ใบสุดท้ายหุ้นกำไรทำโครงการต่อ
บันทึกอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เมื่อวันที่
16 เมษายน 2541 คอลิน เวียร์ ผู้อำนวยการบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ซึ่งถูกกอร์ดอน วู ประธานใหญ่ของบริษัท วางตัวเป็นผู้ดำเนินโครงการทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพฯ
เปิดตัวแถลงการณ์ครั้งสำคัญ ถึงท่าทีของโฮปเวลล์ที่ต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2541)
"อีกครั้งของอนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ เจ็บหนักเพราะโฮปเวลล์ล้ม?"
การตัดสินใจของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับโครงการระบบขนส่งมวลชน
และทางยกระดับโฮปเวลล์ หากดูแล้วว่าจะเป็นการตัดสินใจที่เด็ดขาดหรือไม่นั้น
ต้องดูด้วยว่าระยะเวลาของโครงการมาอยู่ในช่วงที่ต้องเร่งตัดสินใจแล้วมากกว่า
หลังจากปล่อยทิ้งร้างมานาน เพราะมีความแน่นอนแล้วว่า ปี 2541 อย่างไรเสียโครงการโฮปเวลล์ก็คงเสร็จไม่ทันแน่นอน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"มังกรพลัดถิ่น กอร์ดอน วู ฤาจะพาโฮปเวลล์สิ้นหวังที่เมืองไทย"
พลันที่สุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแถลงผลงานในรอบ 6
เดือนที่ผ่านมาหลังการเข้ารับตำแหน่ง สิ่งที่ดูเหมือนเป็นความภูมิใจของรัฐมนตรีหนุ่มผู้นี้ก็ตรงที่
สามารถเร่งรัดโครงการระบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่จากโครงการที่หลายคนแทบจะสิ้นหวังอย่าง
"โฮปเวลล์" ได้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
โฮปเวลล์ ความฝันเพิ่งเริ่มต้น
และแล้วโครการทางรถไฟยกระดับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่บริษัทโฮปเวลล์จากฮ่องกงอาสาเข้ามาเป็นผู้ลงทุนให้
ก็เดินหน้าไปอีกก้าวหนึ่งเมื่อมีการเซ็นสัญญาสัมปทานระหวางโฮปเวลล์ ประเทศไทยกับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟ
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533)
โฮปเวลล์ หลอกกันเล่นหรือเปล่า?
บริษัท โฮปเวลล์ลัดฟ้าจากฮ่องกงนำโครงการสวยหรูมูลค่าแปดหมื่นล้านบาท มาเสนอ
ให้กับการรถไฟฯ โดยรัฐไม่ต้องควักกระเป๋าสักสตางค์เดียว แต่ขอสิทธิในการพัฒนาที่ดินของ
การรถไฟฯ เป็นข้อแลกเปลี่ยน เป็นโครงการที่เป็นความหวังใหม่อีกโครงการหนึ่งของคนเมืองหลวงที่ทุกข์ทนกับปัญหาการจราจรอันแสนสาหัสมานานปี
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533)
ทางรถไฟยกระดับ
ในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยใช้เวลาถึง
4 ปี ถึงจะลงเอย หากลุ่มผู้ลงทุนรับสัมปทานได้โครงการทางรถไฟยกระดับของการรถไฟแห่งประเทศไทยกลับเดินหน้าอย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียงหกเดือน
ก็ได้ตัวผู้ลงทุนคือ บริษัทโฮปเวลล์จากฮ่องกงเป็นผู้ก่อสร้าง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533)