การจัดอันดับศักยภาพทางการตลาด Emerging Market ของ MSU-CIBER
ศูนย์การศึกษาและวิจัยธุรกิจระหว่างประเทศ (Center for International Business
Education and Research : CIBER) ของ Michigan State University (MSU) ได้ศึกษาวิจัยศักยภาพของประเทศต่างๆ
ที่ได้รับการขนานนามในฐานะที่เป็น Emerging Markets โดยได้รวบรวมข้อมูลสำคัญจาก
23 ประเทศทั่วโลก เพื่อจัดทำเป็นดัชนีทางธุรกิจสำหรับผู้ลงทุน และจัดอันดับความน่าลงทุนในประเทศต่างๆ
ไว้ตามศักยภาพ ของตลาดแต่ละแห่งด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
The Wind of Change (1)
ผมพยายามศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เศรษฐกิจไทย โดยเริ่มจากการอรรถาธิบาย
การเปลี่ยนโครงสร้างธนาคารไทยได้เข้าใจปรากฏการณ์ที่น่าเร้าใจหลายประการทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544)
บีโอไอ สรุปยอดตัวเลขปี 2543 โครงการลงทุนเพิ่ม 64%
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้สรุปตัวเลขการให้การส่งเสริมการลงทุนในรอบปี
2543 ที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น 1,116 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
64% วงเงินลงทุนรวม 279,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62% และมีการจ้างงานรวม 225,814
ตำแหน่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544)
2544-2545 เศรษฐกิจไทย เติบโตท่ามกลางความเสี่ยง
มุมมองต่อเศรษฐกิจไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่ยังมีความผันผวน
โดยเฉพาะความเสี่ยงของปัจจัยภายนอก ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น อัตราเงินเฟ้อ ที่ต่ำตลอดปี
2543-2545 นำมาสู่การทรงตัวของภาวะดอกเบี้ยต่ำ ซิตี้แบงก์ และซาโลมอน สมิธ
บาร์นีย์ ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยใหม่ รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544)
มุมมองเลขาฯ บีโอไอ "ภาวะการลงทุนของไทยเริ่มดีขึ้น"
ในฐานะข้าราชการประจำ ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย สถาพร กวิตานนท์ เลขาธิการบีโอไอ ยังคงมองภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ ในเชิงบวก
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543)
Regional Perspective
ความเข้าใจของผู้นำธุรกิจไทยที่ว่าด้วย ความสามารถในการแข่งขันระดับภูมิภาคนั้น
ยังไม่ตกผลึกกันเท่าที่ควร
ภาพสะท้อนของเรื่องนี้ มีภูมิหลังและปรัชญาที่มี "แรงเฉื่อย" มากทีเดียว
คงจะจำกันได้ว่า เราภูมิใจกันนักหนาในงานบีโอไอแฟร์ครั้งล่าสุด ที่สามารถจัดงานได้ใหญ่มาก
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังมืดแปด ด้าน โดยหวังว่างานนั้น จะทำให้คนไทยมีความหวังขึ้น
ซึ่งประเมินกันว่า ได้ผลมากทีเ ดียว
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
เครือข่ายธุรกิจยุคใหม่
จากนี้ไปความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ธุรกิจไทย จะปรากฏโฉมใหม่ๆ ทีละฉากๆ
จากความล่มสลายของอาณาจักรธุรกิจแบบเดิมของธุรกิจระบบครอบครัวไทย ก็จะค่อยๆ สถาปนาเครือข่ายธุรกิจแบบใหม่ ที่สร้างขึ้นจากผลประโยชน์ที่ร่วมกันทางธุรกิจโดยตรงมากขึ้น…
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
ยุคการเปลี่ยนตัวผู้บริหารบริษัทในตลาดหุ้น
หลังจากประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 โครงสร้างต่าง ๆ ในภาคธุรกิจ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เห็นชัดที่สุดคือบุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง มีการปรับเปลี่ยนมากที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
โฉมหน้าภาคตะวันออกหลัง 18 ปีอีสเทิร์นซีบอร์ด
SME ตะวันออก โตพร้อมอีสเทิร์นซีบอร์ด พร้อม ๆ กับการเติบโตของอุตสาหกรรมหนัก และกิจกรรมทางธุรกิจที่หลากหลายขึ้นในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด ผู้ประกอบการท้องถิ่นได้พัฒนาธุรกิจที่เป็นตัวของตัวเองขึ้นมา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
ระบบธุรกิจผูกขาดกำลังเสื่อมถอย
ความคิดว่าด้วย "ธุรกิจผูกขาด" มีอิทธิพลอย่างมาก ทั้งระดับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐและยุทธศาสตร์ของธุรกิจไทย
มายาวนานไม่น้อยกว่า 3 ทศวรรษ
จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แนวความคิดในการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งล่าสุด โดยยึดโมเดลจากตะวันตก
โดยเฉพาะสหรัฐฯ (ผ่านบริษัทที่ปรึกษา McKensey & Company) จากการปรับโครงสร้างธุรกิจสำคัญของไทย
2 แห่ง เครือซิเมนต์ไทย และซีพี ทำให้โครงสร้างความคิด "ผูกขาด"
ดั้งเดิม เสื่อมมนต์ขลังไปทันที …
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)