MSกู้3.5พันล.ผุดโรงถลุงเหล็ก
มิลเลนเนียม สตีล กู้เงินอีกประมาณ 3,500 ล้านบาท เพื่อใช้สร้างโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ำกำลังการผลิต 5 แสนตันต่อปี หวังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพเหล็ก คาดเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ไตรมาส 3 ปี 51 และโครงการนี้ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ( IRR ) สูงกว่า 15% ขณะที่ผลงานปีนี้คาดกำไรดี ผลจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ทาทา สตีล (ประเทศไทย) และใช้ชื่อเทรด TSTH หลังทาทา สตีลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 67%
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2549)
MSรื้อโครงสร้างรับผู้ถือหุ้นใหม่พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น"ทาทา สตีลฯ"
มิลเลนเนียม สตีล ปรับใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ อิงรูปแบบต่างประเทศ ดีเดย์ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ พร้อมทั้งเพิ่มทุนบริษัทย่อย "เหล็กสยาม" เพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงฐานะบริษัทต่างด้าว หลัง Tata Steel เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนจะประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ทาทา สตีล ประเทศไทย" หรือ TSTH
(ผู้จัดการรายวัน 26 ตุลาคม 2549)
ยักษ์ใหญ่เหล็กอินเดียฮุบMS ปูนฯขายเกลี้ยงโกย3พันล้าน
ปูนใหญ่ขายทิ้งเกลี้ยง "มิลเลนเนียม สตีล" 40% ให้ Tata Steel ยักษ์ใหญ่เหล็กของอินเดีย โกยเงินกระเป๋าตุง 3 พันล้าน Tata Steel เตรียมทำคำเสนอซื้อ MS หุ้นละ 1.15 บาท หลังตั้งเงื่อนไขซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ MS อีก 24.99% ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 51% "สวัสดิ์" ชี้เป็นดีลที่โปร่งใสและแฟร์ต่อทุกฝ่าย แต่จะไม่ขายหุ้น MS ที่ถืออยู่ 1% มั่นใจอนาคตMS สดใส ปูนใหญ่แทงกั๊กแผนขายหุ้น "ปตท.เคมิคอล" ให้ปตท.
(ผู้จัดการรายวัน 16 ธันวาคม 2548)
MSรอแนวโน้มตลาดฯเอื้อเลื่อนขายหุ้นเพิ่มทุนให้PP
มิลเลนเนียม สตีล ฟุ้งการเดินทางโรดโชว์ให้ข้อมูลนักลงทุน สถาบันต่างชาติประสบความสำเร็จ
รอจังหวะตลาดหุ้นหยุดผันผวน จึงจะทำบุ๊ก บิลด์เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กองทุนฯทั้งในและต่างประเทศ
ยันราคาเสนอขายต้องไม่ต่ำกว่า 2.30 บาท ซึ่งเงินที่ได้จะนำมาชำระคืนหนี้ 1.1 หมื่นล้านบาท
หลังจากนั้นจะทำการรีไฟแนนซ์หนี้ที่เหลือ เพื่อลดภาระดอกเบี้ย มั่นใจปีนี้มียอดขาย
1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 50% เนื่องจากปริมาณและราคาเหล็กเส้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2547)
NSMแจงกำไรปี46กระฉูด2,432% บันทึกรับเงินก้อนโตจากปรับหนี้
NSM งวดปี46กำไรพุ่งกว่า 2 หมื่นล้านบาท ผลจากกำไรการตัดจำหน่ายบัญชีหนี้สินในบัญชีสำหรับเจ้าหนี้กลุ่มที่
1 ถึง 3 สูงถึง 22,475.78 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เพราะบริษัทเริ่มกลับมาผลิตหลังหยุดผลิตมานาน
โดยเริ่มทดลองผลิตเฟสที่ 1 เพื่อทดสอบเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตเหล็ก และเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ
(ผู้จัดการรายวัน 4 มีนาคม 2547)
2กลุ่มทุนยักษ์"สหวิริยา-สวัสดิ์"ชิงผุดโรงงานเหล็กขั้นต้น3แสนล.
ผู้ผลิตเหล็กค่ายยักษ์ "สหวิริยา" และ "เอ็น.ที.เอส." กลุ่มสวัสดิ์
หอรุ่งเรือง ชิงลงทุนตั้งโรงถลุงเหล็กมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท หลังนโยบายพินิจ
จารุสมบัติ ประกาศให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น ขณะที่ ทักษิณ เน้นปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเองรัฐดูห่างๆ
มอบสศช.ศึกษาอีกทาง "สหวิริยา" ยอมรับกำลังศึกษาและจีบ JFE คอร์ปอเรชั่นจากญี่ปุ่นอยู่
(ผู้จัดการรายวัน 20 มกราคม 2547)