ศูนย์กสิกรชี้เงินเฟ้อยังพุ่งต่อสูงสุดแตะสองหลักเดือนส.ค.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป จากแรงกดดันของต้นทุนผู้ผลิตที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชี้เงินเฟ้อเป็นตัวเลขสองหลักในเดือนสิงหาคมนี้ เป็นช่วงที่เงินเฟ้อขึ้นไปสูงสุด ส่วนทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4-8.0%
(ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2551)
สินเชื่อแบงก์พ.ค.เพิ่ม8หมื่นล.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งสินเชื่อ-เงินฝากแบงก์เดือนพ.ค. มียอดเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 1.51% และเพิ่มขึ้น 10.56%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อธนาคารขนาดใหญ่-เล็กยังปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ธนาคารขนาดกลาง 2 แห่ง "ทหารไทย-นครหลวงไทย"ยังมียอดสินเชื่อลดลง และหากเทียบสิ้นปี 50 มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 3 แสนล้าน หรือเพิ่มขึ้น 5.88%
(ผู้จัดการรายวัน 24 มิถุนายน 2551)
ศูนย์วิจัยกสิกรฯแนะช่องทางค้าในจีน9 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบ 9 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่จีน ช่องทาง-โอกาสการค้านักธุรกิจไทย พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนใหม่ มุ่งจัดซื้อสินค้าจีนพัฒนาสินค้าตัวเอง-พัฒนาแบรนด์ไทย และเน้นจ้างจีนผลิต หรือ ใช้จีนเป็นแหล่ง “เอาท์ซอรส์”ลดต้นทุนสินค้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 มีนาคม 2551)
แบงก์จับตาทิศทางดอกเบี้ย หลังธปท.ยกเลิกสำรอง30%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% อาจทำให้แบงก์ชาติบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและดำเนินนโยบายการเงินลำบากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่ต้องรักษาสมดุลส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่ลดลง สวนทางกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ขยับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและการเร่งอัดฉีดการใช้จ่ายของภาครัฐ แต่โดยภาพรวมแล้วการยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อตลาดทุนและการลงทุนในประเทศ ด้านฝ่ายวิจัยแบงก์กรุงเทพคาดแบงก์ชาติยังตรึงดอกเบี้ยในครึ่งปีแรกเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่มีทิศทางขยับลงในครึ่งปีหลัง
(ผู้จัดการรายวัน 5 มีนาคม 2551)
สินเชื่อบัตรเครดิตปรับกระบวนยุทธ์เปิดศึกแข่งขันเดือด
แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตปี 2551 ปรับหลากหลายกระบวนยุทธ์ กระตุ้นธุรกิจบัตรเครดิต ส่งผลให้เป็นปีของผู้ประกอบการเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น พร้อมเดินหน้าทำการตลาดขยายฐานบัตรเครดิต เร่งการใช้จ่ายผ่านบัตร ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 18 กุมภาพันธ์ 2551)
เผยสินเชื่อ-เงินฝากแบงก์ปี50 ธนาคารขนาดกลางอ่วมยอดลดฮวบ
เผยยอดสินเชื่อแบงก์ปี 50 โต 5.23% แบงก์ขนาดใหญ่-เล็กยอดสินเชื่อเพิ่มถ้วน นำโดย"ไทยพาณิชย์-กสิกรไทย"เพิ่มถึง 17.79% และ 14.11% ตามลำดับ สวนทางกับแบงก์ขนาดกลางมียอดสินเชื่อหดกว่าแสนล้านจากการลดลงของสินเชื่อธนาคารทหารไทยและกรุงศรีฯ ด้านเงินฝากมียอดลดลงโดยเฉพาะจากลุ่มแบงก์ขนาดกลางที่มียอดลดลงถึง 185,334 ล้านบาทหรือคิดเป็น 12.48% โดย"ทหารไทย"เงินไหลออกมากสุด 103,046.57 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 22 มกราคม 2551)
ซับไพรม์กดดอลลาร์อ่อน เตือนรัฐรับตลาดเงินป่วน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยห่วงเสถียรภาพค่าเงินบาท หลังประเมินแนวโน้มเงินดอลลาร์ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง จากปัญหาซับไพรม์ที่ลามไปสู่สินเชื่ออื่นจนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวในที่สุด เตือนภาครัฐรับมือการโยกย้ายเงินลงทุนจากสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ไปสู่สินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานสูงต่อเนื่องและกระทบเศรษฐกิจไทยในที่สุด
(ผู้จัดการรายวัน 22 พฤศจิกายน 2550)
จับตายอดใช้บัตรพุ่งสวนน้ำมันแพงแข่งแคมเปญล่อใจ-เตือนรูดเพลินจ่ายดอกอ่วม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไตรมาส 4 กระเตื้อง เหตุผู้ประกอบแห่ขนแคมเปญล่อใจช่วงโค้งสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการจ่ายจับสินค้า คาดมียอดรวมทั้งไตรมาส 194,410 ล้านบาท โต 12.38%เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีก่อน เตือนผู้ใช้อย่ารูดเพลินระวังหนี้สินพอกพูนอาจเกิดปัญหาการชำระหนี้ในอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤศจิกายน 2550)
ธุรกิจเกาะกระแสกินเจ ชิงเค้ก 6,000 ล้าน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดกาลตลาดในช่วงเทศกาลกินเจจะมีการเติบโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าตลาดเจในปีนี้จะสูงถึง 6,000 ล้านบาท ซึ่งตลาดกรุงเทพฯจะสูงถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดเจทั่วประเทศ สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีผู้ให้ความสนใจในการกินเจมากขึ้น เพราะมีการเชื่อมโยงไปสู่ปีมหามงคลในการทำความดีเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,797 คน พบว่า 2 ใน 3 ตั้งใจที่จะกินเจในปีนี้ แต่ทั้งนี้รวมถึงคนที่กินเจบางวัน บางมื้อ ตามแต่โอกาสจะอำนวยด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 ตุลาคม 2550)
ทิศทางอสังหาฯครึ่งหลังปี 50 ยังต้องระวังปัญหาอุปทานล้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพอสังหาริมทรัพย์ครึ่งหลังปี 50 ยังชะลอตัว เตือนยังคงต้องจับตาปัญหาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะในส่วนของคอนโดฯและที่พักอาศัยสำหรับตลาดระดับล่างและกลางที่ผู้ประกอบการหันมาจับตลาดเดียวกัน ขณะที่ปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง ยังคงต้องรอผลการลงมติในร่างรัฐธรรมนูญ
(ผู้จัดการรายวัน 1 สิงหาคม 2550)