KTCพลิกวิกฤติต้นทุนดอกเบี้ยพุ่งเร่งขยายบัตร-เพิ่มยอดใช้จ่าย
พลิกวิกฤติต้นทุนดอกเบี้ยพุ่งกว่า 100% เร่งเพิ่มสมาชิกบัตร ออกแคมเปญการตลาดกระตุ้นยอดใช้จ่าย เล็งโอกาสเศรษฐกิจชะลอ ลูกค้าต้องการสินเชื่อเพิ่ม มั่นใจกำไรสุทธิโตต่อเนื่อง คาดสมาชิกบัตรทั้งปีเพิ่มเป็น 2 เท่าจากปีก่อน
(ผู้จัดการรายวัน 16 สิงหาคม 2549)
ธปท.มั่นใจหนี้คงค้างบัตรเครดิตลด
ธปท.เผยตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิตล่าสุดไตรมาส 2 ของปี 49 พบว่าปริมาณและยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมกลับลดลงมาอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท จากในเดือนก่อนที่ 6.3 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 6.7%
(ผู้จัดการรายวัน 15 สิงหาคม 2549)
"หม่อมอุ๋ย" กั๊กขึ้นดบ.บัตรเครดิตอ้างรอดูต้นทุน-ห่วงหนี้ครัวเรือน
"หม่อมอุ๋ย" ยังกั๊กอนุมัติให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% ระบุต้องพิจารณาต้นทุนของผู้ประกอบการก่อน แต่ยืนยันไม่ผ่อนผันลดวงเงินชำระขั้นต่ำเหลือ 5% ยอมรับเป็นห่วงเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะ
(ผู้จัดการรายวัน 10 สิงหาคม 2549)
"แบงก์ชาติ"โยนลูกให้คลังชี้ขาดขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น20%
แบงก์ชาติชงคลังตัดสินข้อเสนอผู้ประกอบการบัตรเครดิตให้ปรับขึ้นเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% และกรณีขอลดวงเงินชำระขั้นต่ำเหลือ 5% ระบุต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ของผู้ประกอบการและภาระของประชาชน แต่ยอมรับผู้ประกอบการมีต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นจริงๆ
(ผู้จัดการรายวัน 9 สิงหาคม 2549)
3ค่ายบัตรเครดิตงัดกลยุทธ์สู้คู่แข่งจับตลาดลูกค้าระดับบน-เงินฝาก
3 ค่ายบัตรเครดิตรุกจับลูกค้าระดับบน อัดสิทธิประโยชน์เพิ่มหลังพบลูกค้ากลุ่มดังกล่าวมียอดใช้จ่ายพุ่ง เคทีซีมั่นใจสิ้นปีขยายยอดบัตร 1 แสนบัตร บัตรกรุงศรี 6 หมื่นบัตร ด้านเอชเอสบีซีงัดกลยุทธ์จับลูกค้าที่มีเงินฝาก3ล้านบาทขึ้นไป
(ผู้จัดการรายวัน 19 กรกฎาคม 2549)
ธปท.ตีกลับข้อเสนอชมรมบัตรเครดิตฝันค้างลดภาระลูกค้าผ่อนชำระขั้นต่ำ5%
แบงก์ชาติปัดขอเสนอผู้ประกอบการบัตรเครดิตขอลดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 10% เหลือ 50% ถามผู้ประกอบการกลับเป็นการช่วยลูกค้าหรือผู้ประกอบการกันแน่ แจงหากเห็นสัญญาณเอ็นพีแอลก็ให้เรียกลูกค้ามาปรับโครงสร้างหนี้ได้ ย้ำไม่สนับสนุนให้แก้หนี้เน่าโดยซุกหนี้ไว้ใต้พรม
(ผู้จัดการรายวัน 29 มิถุนายน 2549)
KTC เจอพิษดอกเบี้ยขาขึ้นมาร์จิ้นวูบ
KTC โอดมาร์จิ้นลดฮวบ ต้นทุนทางการเงินพุ่งจาก 2% เป็น 6% จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ถูกจำกัดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ 18% สั่งรัดเข็มขัดตัดงบการตลาดไปกว่า 100 ล้าน และลดคอมมิสชั่นเหลือ 500 บาทจาก 1,000 บาท แต่อัตราการเติบโตทางธุรกิจยังไปได้ และยังมุ่งขยายฐานลูกค้าอย่างระมัดระวังต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 21 มิถุนายน 2549)
KTCทำใจกำไรปี49ไม่รุ่งสั่งรัดเข็มขัดรับศก.ชะลอ
เคทีซีรับสภาพกำไรปีนี้ไม่เฟื่องเท่า 3 ปีก่อน เหตุผลดอกเบี้ยขาขึ้น-น้ำมันแพงทำยอดการใช้จ่ายหด โอดต้นทุนดอกเบี้ยขึ้น แต่ไม่สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้ พร้อมเพิ่มเจ้าหน้าที่วิเคราะห์อีก 35 คน เฟ้นคุณภาพลูกค้าก่อนอนุมัติบัตร และรัดเข็มขัดตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รับมือเศรษฐกิจชะลอ
(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2549)
เคทีซีระดมทุนต่างชาติ 5 พันล้าน
เคทีซี ผู้นำธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย ลงนามในสัญญาจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่กับธนาคารต่างประเทศ ในรูปแบบของซินดิเคท ออฟชอร์ โลน มูลค่า 15,000 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 5,160 ล้านบาท ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.3% ต่อปี เพื่อนำเงินมาไถ่ถอนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด 8 เมษายนนี้ พร้อมรองรับความต่อเนื่องในการใช้เงินทุนของบริษัทฯ ปูทางเพื่อโอกาสธุรกิจในอนาคต และเมื่อสัญญาครบกำหนด จะจ่ายคืนเงินกู้เป็นสกุลเงินบาท ทำให้ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2549)