บาทอ่อนยวบรอบ 2 ปี-การเมืองวุ่น-ดบ.ขาลง
ค่าเงินบาทอ่อนแตะ 35.75 นับเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 2 ปี นักค้าเงินระบุรับแรงกดดันจากหลายปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่ยืดเยื้อและอาจมีเหตุรุนแรง ชี้มีความเป็นไปได้ที่เงินบาทจะอ่อนค่าต่อเนื่องถึงระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สั่งจับตาการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมือง การลดดอกเบี้ยทั้งไทยและเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 2 ธันวาคม 2551)
ตรึงดอกเบี้ยรับมือวิกฤตกนง.จับตา6มาตรการรัฐ
กนง.ชุดใหม่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.75% รับมือสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอ ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย หากความเสี่ยงเงินเฟ้อและอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ชี้หากรัฐบาลไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 94% ตามเป้าที่ตั้งไว้ อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค หวั่นการส่งออกมีโอกาสหดตัวตามเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จับตา 6 มาตรการ 6 เดือน ที่จะหมดอายุในเดือน ก.พ.ปีหน้าจส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างไร
(ผู้จัดการรายวัน 9 ตุลาคม 2551)
ธปท.ขึ้นดอกเบี้ย0.25%แก้เงินเฟ้อ
กนง.ทิ้งทวนปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 3.75% ต่อปี หวังลดเงินเฟ้ออนาคต ระบุการขึ้นดอกเบี้ยไม่ซ้ำเติมการบริโภคและการลงทุน ระบุการประท้วงของพันธมิตรฯ ไม่กระทบเศรษฐกิจ บิ๊กกสิกรไทยเผยปรับดอกเบี้ยหรือไม่ต้องดูคู่แข่ง ส.อ.ท.ผิดหวัง ครวญซ้ำเติมต้นทุน ห่วงเอสเอ็มอี ภาคอสังหาฯ ชี้กระทบคนซื้อบ้านช่วงสั้น
(ผู้จัดการรายวัน 28 สิงหาคม 2551)
แนะแบงก์ปรับตัวรับพรบ.ประกัน คาดแข่งชิงเงินฝากสเปรดลด2%
"ประสาร"ชี้ประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากยังไม่กระทบผู้ฝากเงินทันทีที่ประกาศใช้ แต่หลังจากมีการลดวงเงินค้ำประกันลงจะทำให้มีเงินไหลออกจากแบงก์ขนาดเล็กมากขึ้น และทำให้มีการแข่งขันกันระดมเงินฝากมากขึ้น ด้านสศค.คาดหากมีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น อาจะทำให้สเปรดของแบงก์ลดเหลือ 2%จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 4%
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2551)
ไทยพาณิชย์คาดกนง.ขึ้นดบ.ทั้งปีอีก75สต.
"เศรษฐพุฒ สุทธิวาทนฤพุฒิ" คาด กนง.จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้ 3 ครั้ง หลังจากได้รับความกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโตประมาณ 5% ชี้ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากจะช่วยหนุนธุรกิจกองทุนรวม และส่งผลดีต่อประชาชนในระยะยาว พร้อมก้าวเข้ารับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการคนใหม่ บลจ.ไทยพาณิชย์ เตรียมสานต่องานให้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจกองทุนรวม พร้อมประเดิมลุยต่อท่อช่องทางขายระหว่าง บลจ.กับทุกสาขาของแบงก์แม่ และเน้นพัฒนาศักยภาพของพนักงานขายในเฟสต่อไป
(ผู้จัดการรายวัน 8 กรกฎาคม 2551)
แบงก์ขึ้นดอกเบี้ยซ้ำเติมลูกค้า บิ๊กสศค.ฉะ"แก้ปัญหาไม่ถูกจุด"
ในภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จนส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อลามไปทั่วโลก รวมถึงประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้และประเทศไทยด้วย ซึ่งนอกจากปัญหาดังกล่าวที่ถือว่าเป็นเรื่องหนักหน่วงสำหรับเศรษฐกิจไทยแล้ว ขณะนี้ยังมีความขัดแย้งในทิศทางการดำเนินนโยบายระหว่าง 2 หน่วยงานหลักที่กุมบังเหียนเศรษฐกิจ โดยในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ที่ได้ออกมาส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ขณะที่กระทรวงการคลังมองต่างมุมเห็นควรให้ตรึงดอกเบี้ยเพื่อพยุงไม่ให้เศรษฐกิจถดถอย
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2551)
ปล่อยธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ย คลังขอคุมสเปรดแบงก์รัฐฯ
ผู้บริหารกระทรวงการคลังจำนน ปล่อยแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยตามต้องการ ขอสั่งเฉพาะแบงก์รัฐ-แบงก์เฉพาะกิจที่ยังแข็งแกร่งช่วยลดส่วนต่างดอกเบี้ยให้แคบลงก็พอ “หมอเลี้ยบ” ยันนโยบายการคลังเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อมากกว่านโยบายการเงิน เพราะสามารถตัดสินใจได้เองโดยทันที ระบุไม่เร่งการเติบโตของเศรษฐกิจมากนักหวั่นเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อ
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2551)
นายแบงก์คาดเฟดคงดอกเบี้ยจับตาเงินเฟ้อพุ่ง-ศก.ถดถอย
แบงก์ฟันธงเฟดคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ในการประชุมวันที่ 24-25 มิถุนายนนี้ ระบุรอดูแนวโน้มเงินเฟ้อที่อาจชะลอลงตามราคาน้ำมันในช่วงถัดไป แต่ยีงมีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ในไตรมาสที่ 4 หากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังถดถอยลงอีก ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยไทยยังต้องชั่งน้ำหนักระหว่างปัจจัยภายในประเทศที่กดดันเศรษฐกิจ กับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง
(ผู้จัดการรายวัน 23 มิถุนายน 2551)
ไม่ฟันธงกนง.ขึ้นดอกเบี้ย เหตุอาจจำใจสนองรัฐบาล
ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ เเนะเข้าลงทุนพันธบัตรระยะสั้น พร้อมเสริมสภาพคล่องด้วยการลงทุนผ่านกอง Money Market เพื่อเป็นมาตรการรับมือหากกนง.เตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยสะกัดเงินเฟ้อ แต่ยังไม่ฟันธงมติประชุมกนง.ครั้งนี้ ว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เหตุอาจจำใจสนองนโยบายรัฐบาล กดนิ่งอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อทำฝัน "ครม.หมัก"เห็นตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจขยายตัว
(ผู้จัดการรายวัน 18 มิถุนายน 2551)
"ออมสิน"ขยับขึ้นดอกเบี้ยฝาก-กู้สุดอั้นแข่งขันสูงดันต้นทุนการเงินพุ่ง
แบงก์ออมสินสุดอั้นประกาศขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากเงินกู้ 0.50 – 1.25% ตามแบงก์พาณิชย์หลังส่งผลกระทบฐานเงินฝาก ยอมรับดอกเบี้ยขาขึ้นกดดันต้นทุนส่งผลให้อุตสาหกรรมแข่งหนักทั้งเงินฝากรูปแบบพิเศษและกองทุนรวม “วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี” เผยน้ำมันแพงส่งสัญญาณกระทบลูกค้ารายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อเคหะ สั่งจับตาเป็นพิเศษหากพบความผิดปกติให้รีบช่วยเหลือลูกค้าทันที งัดทั้งมาตรการลดเงินงวดพักดอกเบี้ยเพื่อความอยู่รอดทั้งสองฝ่าย
(ผู้จัดการรายวัน 12 มิถุนายน 2551)