อาร์สยามปิดช่องโหว่แผ่นผี
อาร์สยาม ปิดช่องโหว่แผ่นผี ส่งนักร้องวัยรุ่นลูกทุ่งร่วมสมัย ยึดพื้นที่หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่อายุ 14-25ปี หวังผลสร้างรายได้ดิจิตอลดาวน์โหลดตามรอย อาร์เอส คาดในอีก 3 ปี รายได้ดิจิตอล 80% ฟิสิกซ์คอล 20% มั่นใจรายได้ปีนี้แตะ 640 ล้านบาท เติบโต 20% หลังปีก่อนโต 45% มากสุดตั้งแต่เปิดค่าย
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 23 มีนาคม 2554)
ยามาฮ่ารุกโมเดิร์นเทรด โฟกัสเครื่องเสียงดันยอดโตสูงกว่า30%
ใบสั่งบริษัทแม่ ยามาฮ่าไทยมุ่งเพิ่มช่องทางการขาย เข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น ล่าสุด ส่ง เครื่องเสียงออดิโอ ซีรีส์สไตล์เรโท ยึดพื้นที่ในโมเดิร์นเทรด หลังพบยอดขายกระฉุดโตกว่า 30% ในปีนี้ ยิ้มตลาดเครื่องดนตรีติดลมบน สิ้นปีรายได้รวมโต 22% แตะ 1,056 ล้านบาท เกินเป้าที่วางไว้
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2553)
โซนี่มิวสิครุกเพลงวัยทวีนส์คว้าโซเชียลมีเดียช่วยหนุน
โซเชียลมีเดียมาแรง “โซนี่มิวสิค” สบช่อง นำเป็นเครื่องมือสร้างศิลปินง่ายขึ้น เปิดศึกชิงตลาดวัยทวีนส์ ตั้งชมพู -ฟรุ้ตตี้ รับผิดชอบ เปิดตัวศิลปินเบอร์แรก “ซูการ์ อายส์” มั่นใจสิ้นปีรายได้โตไม่ต่ำกว่า 30%
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 25 กันยายน 2553)
RSขายเพลงผ่านเว็ปไซต์ชดเชยรายได้เทป-ซีดีหด
อาร์เอสเกาะกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์ก บุกขายเพลงออนไลน์ ล่าสุดเปิดเว็บไซต์ เพลง ดอทคอมรวมเพลงทุกแนว นำร่อง ก่อนปล่อยเว็บไซต์ ซีซ่า เจาะวัยทีนตามหลัง หวังทำเงินชดเชยรายได้จากการขายเทปและซีดีที่ลดลงไม่หยุด ฝันปีแรกมีรายได้ 107 ล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 17 กุมภาพันธ์ 2553)
“อาร์เอส”จัดทัพเพลงครั้งใหญ่ชูกลยุทธ์ “Lean Music Strategy”
“ อาร์เอส ” เดินหน้าปรับแผนธุรกิจเพลงซึ่งเป็นธุรกิจหลัก (Core Business) ของบริษัท ฯ ครั้งใหญ่ ชูกลยุทธ์ “ Lean Music Strategy ” ตัดสิ่งที่ไม่ทำรายได้และเลือกบริหารเฉพาะ เซกเม้นท์ที่มีมูลค่าเชิงธุรกิจที่แข็งแรงอย่างกลุ่ม “ทีน” และ “พรีทีน” รวมถึง กลุ่ม “ ร็อควัยโจ๋” เพื่อยืนหยัดสู้ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ มั่นใจธุรกิจเพลงทำรายได้รวมกว่า 1 พันล้านบาทในปี 2552
(ผู้จัดการรายวัน 24 มีนาคม 2552)
อาร์เอสส่ง 6 ค่ายเพลงกรำศึก หลังรายได้ปีนี้ ติดลบขาดทุน
อาร์เอส พบจุดบอดค่ายเพลง ปรับทัพวางหมากถล่มงานดนตรีปีหน้า 6 ค่าย หวังกู้ยอดด้วยดิจิตอลโปรดักส์ หลังปีนี้ซีดีและวีซีดี ขายยากขึ้น ส่งผลทำรายได้เพียง 800 ล้านบาท โต 5% จากเดิมที่คาดจะโต 15% ติดลบขาดทุนเล็กน้อย
(ผู้จัดการรายวัน 4 ธันวาคม 2551)
“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” เปิดตลาดเพลงไทยในเอเชีย
“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” เปิดตลาดเพลงไทยในเอเชีย ลุยขายเพลงแนวป๊อป ส่ง “เป๊ก-ออฟ-ไอซ์ / บี้ / ชิน / เจมส์ / กอล์ฟ-ไมค์” เจาะคนท้องถิ่นที่ชื่นชอบเมืองไทย และขายเพลงลูกทุ่ง ส่ง “เสก โลโซ / พี สะเดิด / ต่าย อรทัย / ตั๊กแตน ชลดา” เจาะคนไทยทำงานต่างแดนแล้วคิดถึงบ้าน ชี้ญี่ปุ่นเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและโอกาสเติบโตสูงสุดในเอเชีย เผยเป้าหมายต้องการเป็นผู้ให้บริการเพลงแบบครบวงจร ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนทั่วเอเชีย คาดสิ้นปีนี้ “หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์ฯ” โกยรายได้ 40 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 28 ตุลาคม 2551)
แกรมมี่ปรับธุรกิจเพลง6แนวมั่นใจเสริมรายได้เพิ่มอีก500ล.
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ชูการวางธุรกิจเพลงใหม่เป็น 6 แนว สนองกลุ่มเป้าหมายชัดเจน พร้อมปรับทัพการทำงานใหม่ให้เข้าแต่ละแนวเพลง มั่นใจเสริมให้รายได้ปีนี้เพิ่มอีก 500 ล้านบาท จาก 3,500 ล้านบาทในปีก่อน
(ผู้จัดการรายวัน 19 มีนาคม 2551)
ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค มุ่งดิจิตอล รับตลาดวัยโจ๋ชอบดาวน์โหลด
ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค เผยแผนธุรกิจปีหน้า ทุ่มเดเงิน 10% ของรายได้ มุ่งเน้นช่องทางขายดิจิตอล หลังพบพฤติกรรมวัยรุ่นเปลี่ยนไป พร้อมเรียกเก็บค่าลิขสิทธ์การเปิดเพลงในที่สาธารณะอย่างเข้มข้นมากขึ้น หลังปล่อยปะละเลยมานาน ย้ำเพลงสากลเป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์ที่ยังมีการเติบโตที่ดี แม้จะผันผวนตามเศรษฐกิจบ้าง
(ผู้จัดการรายวัน 29 ตุลาคม 2550)
แกรมมี่งัดเกมทำเป้า 6.5 พันล.
จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เร่งจูนเครื่อง หวังกลับสู่ยุครุ่งเรือง ปี 2546 หลังจากทยอยปรับระบบองค์กร รวมทั้งยุทธศาสตร์ใหม่ ปีนี้หวังโกยรายได้มากกว่า 6,500 ล้านบาท เผยกลุ่มเพลงยังเป็นพระเอกหลักสัดส่วนกว่า 50% เดินเกมรับยุคดิจิตอล ชูกลยุทธ์หลัก Customer Centric เปิดช่องทางใหม่ทำเงินอีกเพียบ
(ผู้จัดการรายวัน 1 กุมภาพันธ์ 2550)