‘โตโยต้า’ติดกับดักส่งออกเผย 3 กลยุทธ์สู้ค่าเงินบาท
ยักษ์ใหญ่ “โตโยต้า” ติดกับดักส่งออก ครั้งแรกตัวเลขพุ่งเกินครึ่งของยอดผลิตในไทย แต่เจอพิษค่าเงินบาทแข็งส่งผลกระทบ จนส่อแววกำไรลดวูบ ขณะที่ภาครัฐปลอบต้องทำใจ ไม่มีมาตรการทำให้คงที่ได้ เลยต้องดิ้นช่วยเหลือตัวเอง เผย 3 กลยุทธ์ลดต้นทุนรักษากำไร ให้คงอยู่ได้ในอัตราค่าเงิน 33 บาทต่อดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 3 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 24 เมษายน 2551)
ลีนุตพงษ์แบ่งกงสียนตรกิจ"วิทิต"หอบโฟล์กฯลุยเดี่ยว
พี่น้องตระกูล “ลีนุตพงษ์” แบ่งสมบัติกงสีในกลุ่ม “ยนตรกิจ”ลงตัว “เสี่ยวิทิต” ฉายเดี่ยวได้รถยนต์โฟล์คสวาเกน และตึกที่รองเมืองไป “พงษ์เทพ” ไม่ขอยุ่ง ขณะที่รายอื่นๆ ยังจับมือกันในนามกลุ่มยนตรกิจ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ “สรวิศ” เดินหน้าขาย ออดี้, ซีตรอง, เปอโยต์, เกีย และสโกด้า โดยมีฐานบัญชาการอยู่ที่ตึกสุรวงศ์ แม้โครงสร้างบริหารใหม่จะยังไม่เปิดเผย แต่น่าสังเกตงานยนตรกิจ ออโต้ โชว์ ไร้เงาโฟล์คฯ เข้าร่วม
(ผู้จัดการรายวัน 22 กุมภาพันธ์ 2551)
ทาทาชูไทยฮับอาเซียน
ค่ายรถยักษ์จากอินเดีย “ทาทา” จับมือ “ธนบุรีประกอบรถยนต์” เปิดตัวลุยตลาดไทย และชูเป็นฐานการผลิตสำหรับอาเซียน ประเดิมรุกตลาดปิกอัพมีนาคมปีหน้า ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.3 พันล้านบาท เผยตั้งเป้า 5 ปี ครองส่วนแบ่ง 5% ประกาศพร้อมรุกทุกเซกเม้นท์ ล่าสุดยืนความจำนงขอร่วมโครงการอีโคคาร์แล้ว ขณะที่งานมอเตอร์เอ็กซ์โป ผ่านไป 8 วัน ยอดจองรถในงานเทียบกับปีที่แล้วพุ่ง 11.6%
(ผู้จัดการรายวัน 7 ธันวาคม 2550)
SECCนำเข้ารถเย้ยศก.ซบแพงสุดในไทยคันละ165ล.
ยักษ์ใหญ่เกรย์มาร์เก็ตกลุ่มเอส.อี.ซี. หรือ SECC ไม่หวั่นสภาวะเศรษฐกิจซบ ทุ่มกว่า 500 ล้านบาท เดินหน้ากระตุ้นต่อมเศรษฐีไทย ขนรถซูเปอร์คาร์ระดับแนวหน้าของโลกหลากรุ่น ราคาไม่ต่ำกว่า 24 ล้านบาท มาขายในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2007 โดยพระเอกของงาน "บูกัตติ เวย์รอน" แพงสุดถึง 165 ล้านบาทต่อคัน มั่นใจฟันยอดขายในงานกว่า 600 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 22 พฤศจิกายน 2550)
นิสสันลั่นลุยอีโคคาร์-อี20
นิสสัน ประกาศเดินหน้าลุย อี20 เร่งปรับเครื่องยนต์ทั้ง ทีด้าและ เทียน่า หวังอัตราภาษีพิเศษส่งผลราคาลดลงชนคู่แข่งที่เปิดตัวเรียกยอดขายไปล่วงหน้า ส่วน “อีโคคาร์”ทำแน่คาดเดือนธันวาคมนี้สรุปได้ ขณะที่ ฟรอนเทียร์ นาวารา ส่งออกฉลุยตั้งเป้าอีก 3 ปี ยอดทะลุ 4.5 หมื่นคัน ด้านตลาดในประเทศเปิดตัวอีกสองรุ่น XE กับรุ่นพิเศษ “Black Star Limited” งานนี้มีเพียง 250 คันเท่านั้น
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤศจิกายน 2550)
ซี.พี.-ลีนุตพงษ์ร่วมทุนจีนดันรถเชอรี่ลุยตลาดไทย
กลุ่ม “ซี.พี.” เตรียมรุกตลาดรถยนต์ไทย ประกาศจับมือ “วิทิต ลีนุตพงษ์” ร่วมทุนบริษัทรถยักษ์ใหญ่ของจีน “เชอรี่ ออโตโมทีฟ” ขายและประกอบรถยี่ห้อ “เชอรี่” ในไทย คาดต้นปีหน้าเริ่มนำเข้ารถทดลองตลาด ก่อนจะขึ้นไลน์ประกอบ เผยจีนสนใจใช้ไทยเป็นฐานผลิตปิกอัพส่งออกด้วย ขณะที่ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีนขยายลงทุนต่อเนื่อง เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าซูเปอร์แบรนด์มอลล์ คาดจะถึงจุดคุ้มทุนภายในปีหน้า และภายใน 3 ปี เข้าตลาดหลักทรัพย์ระดมทุน เดินหน้าสร้างศูนย์การค้าและเมืองใหม่ เล็งผุดในมณฑลภาคกลางของจีน
(ผู้จัดการรายวัน 14 พฤศจิกายน 2550)
เศรษฐกิจพ่นพิษธุรกิจรถเช่าวูบขยายนักเที่ยวคนไทยแทนตปท.
นายพัลลภ ไทยอารี กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอวิส เรนท์ อะ คาร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจรถเช่า เพื่อการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองของประเทศไทย ที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดจำนวนลงนั้น ได้มีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทเช่นกัน โดย 6 เดือนแรกที่ผ่านมา(ม.ค.-มิ.ย.) รายได้ลดลงประมาณ 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดที่ลดมากคือนักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งถือเป็นลูกค้าหลักของบริษัท โดยสัดส่วนลูกค้าต่างชาติ 60% มาจากตลาดยุโรป ,15% จากออสเตรเลีย และ 12% มาจากอเมริกา ส่วนตลาดเอเชียมีสัดส่วนที่ 12%
(ผู้จัดการรายวัน 20 สิงหาคม 2550)
โตโยต้าฟันธงตลาดรถวูบ4.7%
นายมิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการตลาดใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ลูกค้าชะลอการซื้อรถออกไป ทำให้สถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทย ในช่วงครึ่งปีแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงกว่า 12% แต่หากพิจารณาดูแนวโน้มถือว่าเริ่มดีขึ้น จากไตรมาสแรกลดลงกว่า 18% และมาช่วงไตรมาสสองลดลงเพียง 6.4% ส่งผลให้ตลาดรถรวมครึ่งปีแรกตกลง 12%
(ผู้จัดการรายวัน 15 สิงหาคม 2550)
มิตซูฯเร่งปรับกลยุทธ์หวังขยับขึ้นเบอร์3
ค่าย "มิตซูบิชิ" ไม่ยอมตกขบวน "อีโคคาร์" ประกาศยื่นลงทุนภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้แน่นอน แต่มีติงเงื่อนไขเงินลงทุน และจำนวนการผลิต อ้างปิกอัพไม่กำหนดยังเป็นฐานผลิต และส่งออกทั่วโลกได้ ขณะที่สถานการณ์ตลาดในประเทศ นายใหม่ "มิจิโร่ อิมาอิ" เร่งแก้ความสัมพันธ์ลูกค้า และตัวโปรดักซ์ หวังขยับขึ้นเป็นเบอร์ 3 ตลาดรถไทย
(ผู้จัดการรายวัน 6 สิงหาคม 2550)
GMชู3ยุทธศาสตร์ยึดอาเซียน
นายใหญ่คนใหม่ "จีเอ็ม" ในไทยและอาเซียน ประกาศสร้างความยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมรถภูมิภาคอาเซียน เผยยกระดับไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็น 3 ยุทธศาสตร์สำคัญในอาเซียน จากทั้งหมด 11 ประเทศทั่วโลก ที่มุ่งเจาะจงขยายธุรกิจ หวังชิงเค้กก้อนใหญ่มากกว่า 3 ล้านคัน ในอีก 10 ปีข้างหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 3 สิงหาคม 2550)