ตปท.รุมบาทบอนด์5หมื่นล้าน คลังตีปี๊บความเชื่อมั่น-ศก.ฟื้น
เผยสถาบันการเงินต่างชาติ 10 รายทั้งเวิลด์แบงก์ เอดีบีและธนาคารจากยุโรป ขอออกพันธบัตรสกุลเงินบาทหรือบาทบอนด์วงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท อายุ 3 ปีขึ้นไป หวังกระจายความเสี่ยงและแหล่งระดมทุนจากยุโรป-อเมริกามายังประเทศแถบเอเชีย แจงนำเงินที่ระดมทุนได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทจากชาติเดียวกันที่ทำธุรกิจในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ คลังหวังบาทบอนด์มีอัตราอ้างอิงที่ดีและมีความเป็นสากลมากขึ้น อนุมัติหลักการแล้ว ผอ.สศค.ปลื้มความเชื่อมั่นคืนหนุนเศรษฐกิจไทยฟื้น
(ผู้จัดการรายวัน 11 ธันวาคม 2550)
แห่ซื้อบอนด์ออมทรัพย์ธปท.เผยวันแรก6หมื่นล.
ประชาชนรายย่อยแห่จองพันธบัตรออมทรัพย์กองทุนฟื้นฟูฯ คึกคัก วันแรกยอดจองทะลัก 6 หมื่นล้านบาท เหลืออีก 2 หมื่นล้านบาท จองผ่านแบงก์พาณิชย์ 5 แห่ง แบงก์ชาติยันพันธบัตรของกองทุนฯ ไม่ได้เป็นตัวเร่งให้ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 23 พฤศจิกายน 2550)
ธปท.ปลื้มรายย่อยซื้อบอนด์71%
ธปท.ยิ้มแก้มปริหลังประชาชาชนแห่จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์เกือบ 9 หมื่นบ้านบาท ระบุช่วยกระจายให้แก่ประชาชนรายย่อยที่มีเงินต่ำกว่า 1 ล้านบาทได้ถึง 71% เผยปีนี้ไม่มีแผนออกเพิ่ม รอดูสถานการณ์ปีหน้า ยอมรับแบงก์บางแห่งอาจได้รับผลกระทบต่อฐานเงินฝากและสภาพคล่องลดลง แต่ต้องมีการปรับตัว
(ผู้จัดการรายวัน 19 กันยายน 2550)
แบงก์ชาติแจงลดรุ่นออกบอร์ดยันช่วยหนุนตลาดตราสารหนี้
แบงก์ชาติชี้แจงลดจำนวนรุ่น-ความถี่ในการออกพันธบัตร หวังเอื้อให้การซื้อขายในตลาดรองคึกคักขึ้น เชื่อไม่กระทบสภาพคล่องในระบบ เหตุมีเครื่องมือทางการเงินหลายอย่างในการดูแล เผยตั้งแต่ไตรมาส 2 ลดการประมูลพันธบัตรอายุ 2 ปี เหลือไตรมาสละครั้ง ส่วนพันธบัตรอายุ 1 ปี เหลือเดือนละ 1 ครั้ง
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2550)
ยอดพันธบัตรธปท.เดือนเม.ย.วูบ ลดดูดสภาพคล่อง-เปิดทางดบ.ลง
แบงก์ชาติประกาศวงเงินออกพันธบัตรเดือนเมษายนเหลือเพียง 100,000 ล้านบาท จากยอดเดือนมีนาคมที่มียอดกว่า 380,000 ล้านบาท ถือเป็นผ่อนคลายการดูดซับสภาพคล่อง รองรับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายขาลง พร้อมยอดออกพันธบัตร ณ สิ้นเดือนมีนาคมจำนวนรวม 1.42 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนธันวาคมปี 49 กว่า 5.3 แสนล้านบาท เพื่อดูดซับสภาพคล่อง
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2550)
ตราสารหนี้แพะรับบาปกฎ30%
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนอย่างมีเสถียรภาพ 2 กำลังในการขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ "ตลาดเงิน" ซึ่งมีผู้กำกับดูแลคือธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน ขณะที่อีกฟาก "ตลาดทุน" ซึ่งประกอบไปด้วย 4 หน่วยงาน คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ตลาดตราสารหนี้ (BEX) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET)
(ผู้จัดการรายวัน 13 มีนาคม 2550)
เอ็กซิมแบงก์ชะงักออกลาวบอนด์รอจังหวะดบ.ขาลงหนุนต้นทุนต่ำ
ลาวเอเชี่ยนบอนด์เจอโรคเลื่อนอีกรอบหลังกนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ระบุขอทบทวนแผนอีกครั้งหลังแนวโน้มผลตอบแทนลด คาดอาจเปิดขายได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เชื่อไม่กระทบแผนก่อสร้างเขื่อนน้ำงึม 2 เพราะรัฐบาลลาวใช้แหล่งเงินทุนจากหลายที่ พร้อมปรับแผนระดมทุนใหม่โดยออกพันธบัตรระยะสั้นมากขึ้นลดต้นทุนทางการเงิน
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2550)
ตลาดตราสารหนี้เตรียมเฮ ธปท.ยกเว้นกันสำรอง 30%
แบงก์ชาติเตรียมผ่อนมาตรการกันสำรอง 30%ให้ตลาดตราสารหนี้ "ธาริษา" ยกเหตุตาสว่างหลังออกจากถ้ำคุยภาคเอกชนพบว่าการผ่อนคลายการกู้เงินจากต่างประเทศทำให้ธุรกิจไทยโล่งอก แต่ในส่วนกองทุนอสังหาฯ ยังแห้ว อ้างมีความเสี่ยงในการนำเงินเข้า-ออกได้เร็ว นายแบงก์ชี้ท่าทีที่ยกเว้นทีละขยักเป็นสิ่งพิสูจน์ชัด มาตรการฯ ล้มเหลว จี้ผู้ว่าฯ ธปท.และรัฐมนตรีคลังรับผิดชอบ
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2550)
คลังออกบอนด์มูลค่ากว่า3แสนล.ระบุม.ค.50ได้ข้อสรุปสัดส่วนเงินกู้
สบน.ตั้งเป้าออกพันธบัตรปี 50 กว่า 3.16 แสนล้านบาท ชดเชยขาดดุลและแปลงตั๋วเงินคลังระยะสั้นเป็นพันธบัตร ระบุเดือนม.ค.ได้ข้อสรุปสัดส่วนเงินกู้รูปแบบพันธบัตรและกู้เงินแบงก์ คาดอาจใช้เงินกู้รูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นอยู่กับภาวะตลาด ขณะที่รัฐวิสาหกิจขอเพิ่มกรอบเงินกู้ในประเทศ 1.3 พันบ้านบาท ส่งผลวงเงินบริหารหนี้ปี 50 รวม 9.8 แสนล้านบาท ส่วนหนี้สกุลเงินต่างประเทศตั้งเป้าลดสัดส่วนให้เหลือ 8.5% ของพอร์ตหนี้ทั้งหมด
(ผู้จัดการรายวัน 26 ธันวาคม 2549)
บิ๊กBEXตอกย้ำเกณฑ์ธปท.พลาดฉุดมูลค่าตราสารหนี้วูบ3.2หมื่นล.
ผู้จัดการตลาดตลาดตราสารหนี้ โต้มาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินแบงก์ชาติ กระทบตลาดตราสารหนี้ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เตรียมรวบรวมข้อมูลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตัดสินใจว่าจะต้องเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อธปท.หรือไม่ภายในสัปดาห์นี้ ระบุยากที่หาคนรับผิดชอบ หวังเพียงการออกมาตรการจากภาครัฐให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายร่วมเสนอข้อมูล ด้าน ThaiBMA เผยมาตรการแก้ปัญหาไม่ถูกที่ ฉุดมูลค่าตราสารหนี้ ณ 19 ธ.ค.วูบ 3.2 หมื่นล้าน ขณะที่ผู้บริหาร "ตลาดอนุพันธ์" มั่นใจนักลงทุนต่างชาติไม่โยกเงินหนี หลังธปท.ผ่อนกฏเหล็ก
(ผู้จัดการรายวัน 21 ธันวาคม 2549)