นิวยอร์คไลฟ์ฯยอดกรมธรรม์กระฉูด ปั๊มยอดขายผ่านแบงก์"ไทยพาณิชย์"
ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ปฏิเสธเป็นตัวการบีบให้พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ต้องฆ่าตัวตาย เพราะรับแรงกดดันจากธนาคารไทยพาณิชย์ ในการทำเป้ายอดขายกรมธรรม์ไม่ไหว ผู้บริหารชี้แบงก์อื่นที่เดินหน้าการเป็นแบงก์ที่ให้บริการการเงินอย่างครบวงจรก็ทำเช่นเดียวกัน คาดปีนี้มียอดขายผ่านแบงก์ไทยพาณิชย์ประมาณ 4.1 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 24 สิงหาคม 2548)
พนักงานธนาคารเครียดถูกบีบขายบริการแบงก์
ธนาคารพาณิชย์ไทยรุกปรับตัว ก้าวเป็น "ยูนิเวอร์แซลแบงกิ้ง" แสวงหาช่องทางดำเนินธุรกิจ เพิ่มผลิตภัณฑ์สนองความต้องการลูกค้า แต่กลับตกม้าตายจากปัญหาภายใน ล่าสุดพนักงาน แบงก์ไทยพาณิชย์เครียดถึงขั้นเสียชีวิตแล้ว 3 ราย ประธานสหภาพแรงงาน ยืนยันพนักงานส่วนใหญ่เกิด ความคับข้องใจ เพราะแบงก์ตั้งเป้าหมายสูง และใช้มาตรฐานต่างชาติวัดผลงานและประเมินเงินเดือน ขณะที่แบงก์อื่นยังเดินหน้าเป็นแบงก์ให้บริการครบวงจร มั่นใจไม่เกิดปัญหาซ้ำรอย
(ผู้จัดการรายวัน 22 สิงหาคม 2548)
ธ.ไทยยกทัพรุกธุรกิจการเงินจีน
แบงก์พาณิชย์ไทย ฉวยจังหวะจีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รุกธุรกรรมด้านการเงิน นำร่องโดย 3 แบงก์ใหญ่ "ไทยพาณิชย์" ประกาศจับมือ "China Exim Bank" หวังต่อยอดธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศ ขณะที่แบงก์กรุงเทพ เปิดสาขาปักกิ่งเพิ่ม ตั้งเป้าขยายสินเชื่อ 4 พันล้านบาท ส่วน "กสิกรไทย" เตรียมเจรจาธนาคารท้องถิ่นลุยปล่อยกู้ธุรกิจเอสเอ็มอี
(ผู้จัดการรายวัน 5 กรกฎาคม 2548)
"SCB"เล็งทบทวนธุรกิจครึ่งปีหลัง
สำนักทรัพย์สินฯถือหุ้นใหญ่ในแบงก์ไทยพาณิชย์ สัดส่วน 24.1 % หลังแลกหุ้นกับกระทรวงคลังเดือนมกราคม ยันพอใจสัดส่วนถือหุ้นไม่คิดซื้อเพิ่มเติม เหตุถือเกิน 25 % ต้องทำ Tenderoffer ตามเกณฑ์ ก.ล.ต. เตรียมออกหุ้นกู้สกุลดอลล่าร์ จัดสรรเงินสอดคล้องกับธุกรรมลูกค้า ย้ำเงินกองทุนแกร่ง บีไอเอสกว่า 16 % เตรียมทบทวนเป้าหมายและประเมินสถานการณ์ครึ่งปีหลัง หลังราคาน้ำมันพุ่ง-ปัญหาภาคใต้รุนแรง ระบุมีนโยบายจ่ายปันผล 30-40 %ของกำไรสุทธิได้ทุกปี
(ผู้จัดการรายวัน 7 เมษายน 2548)
วิชิตโชว์วิชั่นนายแบงก์ดันSCBแซงกสิกรไทย
"วิชิต สุรพงษ์ชัย" ประกาศพาไทยพาณิชย์เป็นผู้นำแบงก์เอกชน ใช้จุดแข็งเงินกองทุนฯ 15.4% ผลักดันสินเชื่อปี 48 โตกว่า 8% พร้อมดันราคาหุ้นเพื่อสะท้อนฐานะที่แท้จริง เผยปัจจุบันครองแชมป์ผลประกอบการ เงินปันผลและบัตรเครดิตสูงสุด ยอมรับการสื่อสารข้อมูลไม่ดีพอ จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ตราใบโพธิ์และสัญญลักษณ์ SCB ให้ชาวบ้านและนักลงทุนต่างชาติรับรู้มากขึ้น กระฉูดไอเดียแบรนด์สีม่วงติดป้ายโฆษณาผลิตภัณฑ์บนสาขา 200 แห่งทั่วกทม.
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2548)
แบงก์ใหญ่พาเหรดกำไรพุ่ง
ธนาคารพาณิชย์ไทย โชว์ผลงานปี 2547 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถ้วนหน้า ไทยพาณิชย์กำไรสุทธิกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคาร เพราะส่วนใหญ่มาจากการขายธุรกิจรองและการปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่แบงก์กรุงศรีอยุธยา กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 53% "กสิกรไทย" กำไรสุทธิปีนี้ 1.5 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่ถึง 4% ด้านราคาหุ้นในกระดานไม่ขานรับ ราคาปรับลดลงจากวันก่อนหน้าทั้ง 3 แบงก์
(ผู้จัดการรายวัน 20 มกราคม 2548)
แบงก์ไทยพาณิชย์ยึดนโยบายเดิมหลังสำนักงานทรัพย์สินฯแลกหุ้นคืน
บิ๊กแบงก์ไทยพาณิชย์ ยันไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย หลังสำนักงานทรัพย์สินฯ แลกหุ้นคืนจากกระทรวงการคลัง ทำให้ถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่าๆ กันประมาณ 25% โดยเน้นการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นเป็นหลัก พร้อมตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้โตต่อเนื่องอีก 7-8%
(ผู้จัดการรายวัน 13 มกราคม 2548)
โกลแมนซาคส์มาแล้วผนึกบล.ไทยพาณิชย์
"ไทยพาณิชย์" หันจับมือวาณิชธนกิจชื่อดัง "โกลแมนซาคส์" หลังเจรจามานาน หวังส่งบล.ไทยพาณิชย์ขึ้นผู้นำธุรกิจค้าหุ้น ตลอดจนสนับสนุนให้ธนาคารไทยพาณิชย์เดินหน้าสู่ "Universal Bank" เผยโกลแมนซาคส์ช่วยหนุนด้านวาณิชธนกิจที่จะมีจำนวนมาก และงานด้านวิจัยหุ้นให้กับลูกค้าต่างประเทศ ยันให้ความสำคัญกับลูกค้าในประเทศเหมือนเดิม
(ผู้จัดการรายวัน 12 มกราคม 2548)
ดบ.แบงก์เพิ่ม50สต.ปีหน้าธุรกิจโตอีก6%
เจ้าสัวชาตรี พอใจจีดีพีปี 2548 โต 5-6% เพราะยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมัน และเหตุการณ์ภาคใต้ ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ย อยู่ในช่วงขาขึ้น คาดระยะปานกลาง ธปท. อาจปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.50-1.00% เพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อ-เงินทุนไหลเข้า แต่ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์จะขึ้นไม่เกิน 0.50% เหตุสภาพคล่องยังสูง
(ผู้จัดการรายวัน 21 ธันวาคม 2547)
SCBจ้องปรับดบ.ฝากสิ้นปีนี้
แบงก์ไทยพาณิชย์สุดอั้น จ้องปรับดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว 2 ปีขึ้นอีก 0.25% ภายในสิ้นปีนี้ อ้างบริหารโครงสร้างเงินฝากให้สอดคล้องกับเงินกู้ ยันสภาพคล่องยังคงล้นระบบทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวยังทรงตัว พร้อมเดินหน้า "Universal Banking" เพิ่มฐานลูกค้าทุกกลุ่ม ดันรายได้ค่าธรรมเนียมขยับเป็น 40%
(ผู้จัดการรายวัน 5 พฤศจิกายน 2547)