ยักษ์ค้าปลีกแข็งข้อพาณิชย์ไม่ยอมMOU
นายปรีชา เลาหพงษ์ชนะ รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภายในวันพุธที่ 20 ก.ย. 2549 หากผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวน 15 ราย ยังไม่มาลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) เรื่องการขยายสาขา ทางกระทรวงพาณิชย์จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกกฎกระทรวงมาดูแลการขยายสาขาของค้าปลีกขนาดใหญ่แทน โดยเบื้องต้นจะใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องของกระทรวงมหาดไทยเข้ามาบังคับใช้ก่อน
(ผู้จัดการรายวัน 14 กันยายน 2549)
เอสเอฟทุ่ม 2 พันล.บุกค้าปลีก
สยามฟิวเจอร์ฯ (เอสเอฟ) รุกหนักพัฒนาค้าปลีกไม่ยั้งมือ ปีหน้าเตรียมทุ่มอีก 2,000 ล้านบาท ผุดสาขาเพิ่ม พร้อมเล็งบุกตลาดภูธรเพิ่มขึ้นด้วยตามหัวเมืองใหญ่ โดยนำรูปแบบเนเบอร์ฮูดเป็นเรือธง ลั่นปลายปีนี้เปิดบริการดิเอสพละนาดได้ในส่วนแรก คาดปีนี้รายได้เติบโต 100% เท่ากับปริมาณพื้นที่รวมสู่ 180,000 ตารางเมตร
(ผู้จัดการรายวัน 4 กันยายน 2549)
ท็อปปรับทัพคุมเข้มฟู้ดส์
ท็อป ปรับทัพใหญ่เกาะเทรดอาหารสดปีนี้แรง ชูความมีมาตรฐานสูงเรียกลูกค้า ระบุโอกาสสั่งเพิ่มและถอดซัปพลายเออร์มีสูงหากสินค้าต่ำกว่ามาตรฐานหรือทับซ้อนกัน พร้อมเดินเครื่องขยายสาขา คาดสิ้นปีดันยอดทั้งกลุ่มยังโต 15% กวาดหมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 30 สิงหาคม 2549)
โรบินสันควักอีโมชันฯสู้เศรษฐกิจหด
โรบินสันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ปักธงรบค้าปลีกเต็มสูบ ชูกลยุทธ์อีโมชั่น เน้นสร้างรอยัลตี้ขยายฐานลูกค้าช้อปยีนส์ เนรมิต "ยีนส์ สตูดิโอ คลับ" ต่อยอดผู้นำกระแส ล่าสุดชูแคมเปญ "ไอ โก ยีนส์" ดันแผนกยีนส์กระทุ้งยอดสิ้นปีโต 20%
(ผู้จัดการรายวัน 25 สิงหาคม 2549)
เซเว่นอีเลฟเว่นปรับกลยุทธ์ในจีนเล็งปิดสาขาที่ยอดขายไม่คุ้มทุน
ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ปรับแผนลดเปิดสาขาโลตัสในจีนจากเดิม 10-15 บริษัท เป็น 5-10 บริษัท พร้อมปิดสาขาที่มียอดขายไม่คุ้มทุนในอนาคต ขณะที่เตรียมทุ่มงบลงทุนในประเทศ 3 พันล้านบาท ขยายสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นเพิ่ม 400-450 สาขา หวังปรับปรุงคุณภาพสาขา 400 สาขาทั่วประเทศ ยอมรับปัญหาการเมือง-ราคาน้ำมันกระทบธุรกิจครึ่งปีแรก
(ผู้จัดการรายวัน 18 สิงหาคม 2549)
นายใหม่วัตสันบุกหนักทุ่ม300ล.สู้เศรษฐกิจซบ
นายโทบี้ แอนเดอร์สัน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เซ็นทรัล วัตสัน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกสุขภาพและความงามวัตสัน(เอเชีย) ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งใหม่ เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจในประเทศเกิดการชะลอตัวลงเป็นอย่างมาก กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงไปด้วย
(ผู้จัดการรายวัน 18 กรกฎาคม 2549)
ค้าปลีก-สินค้างัดแคมเปญถล่ม แย่งชิงกำลังซื้อซบรับเปิดเทอม
พอใกล้ช่วงเปิดเทอมทีไร บรรดาสินค้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย รองเท้า ชุดนักเรียน ถุงเท้า เครื่องเขียน รวมไปถึงค้าปลีกต่างๆก็ออกมาแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงผู้บริโภคในการจับจ่ายสินค้าที่ห้างตัวเองและแบรนด์ของแต่ละคน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และค่าครองชีพของผู้บริโภคก็สูงขึ้น การแย่งชิงกำลังซื้อจึงเข้มข้นเต็มที่
(ผู้จัดการรายวัน 1 พฤษภาคม 2549)