สถานีทีวีปะชันฝีมือผลิตเองงดเช่าเวลา-ผู้จัดเคว้งรับพรบ.ฯ
ฟรีทีวีปรับทิศรับกม.โทรทัศน์ แห่เดินหน้าผลิตรายการเอง รวมทั้งร่วมผลิตกับผู้จัดมากขึ้น ชี้ผู้จัดรายการเดินเข้าตาจน ด้านช่อง 9 เปิด 4 รูปแบบ ลุยเอง ส่วนช่อง 5 ประกาศลั่นปีหน้ายกเลิกการเช่าเวลา หันมาผลิตเองเต็มสูบ ขณะที่ช่อง 3 และ ช่อง 7 ก็เดินหน้าใช้บริษัทในเครือผลิตให้ปูทางไว้แล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 8 กรกฎาคม 2551)
ศึกจอตู้อังคาร4ทุ่มเดือดขาใหญ่ส่งวาไรตี้ลงปะชันศึก
เปิดศึก ทีวีวันอังคาร ช่วง 4 ทุ่ม ทุกช่องชิงคนดู-เรตติ้ง จากรายการวาไรตี้ 4 ค่ายใหญ่ ทั้ง “วิทวัส-เจเอสแอล-ไตรภพ-ดีด็อก” ช่วงเวลาเดียวกัน ศึกครั้งนี้ใครดีใครอยู่ คนวงการจับตา “คลับเซเว่น” ต้องออกแรงหากจะเบียด “ตีสิบ” ได้หรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 19 มิถุนายน 2551)
บีลิงค์บุกสื่อฟรีทีวีลดความเสี่ยงปรับยูชาแนลดึงงบโฆษณาลูกค้า
บีลิงค์ลดความเสี่ยง ปรับหางเสือ พุ่งจับรายการฟรีทีวี เปิดแหล่งขุมทรัพย์ใหม่ หวังมัดใจฐานลูกค้าเพิ่ม ตั้งเป้าผุด 3 รายการ ป้อนช่อง 9 ภายในสิ้นปีนี้ ตอกย้ำผู้นำรายการรอบรั้วมหาวิทยาลัย ล่าสุดประเดิมรายการ "มหาวิทยาลัย พลาซ่า" กว่า 2 เดือน เชื่อลูกค้าหันซื้อโฆษณามากขึ้น เหตุได้ 2 ทางทั้งยูชาแนลและฟรีทีวี สิ้นปีรายได้โตแน่ 10-15%
(ผู้จัดการรายวัน 2 มิถุนายน 2551)
ช่อง5 ปลื้ม ไตรมาสแรกโต 10%เรตติ้งขยับ ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม
ช่อง 58 เป็นปลื้ม เหตุผลการดำเนินงานรอบ 4 เดือนแรก มีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10% ผลจากการปรับปรุงค่าเช่าเวลา และปลอดหนี้สูญ ปี 2550 ขณะที่ยอดการบริการสังคมเพิ่มขึ้น รวมกว่า 160 ล้านบาท รองรับนโยบายทีวีบริการสาธารณะ ส่วนเรตติ้งและจำนวนผู้ชมยังคงเพิ่มอีก 10 %
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤษภาคม 2551)
โอสถสภาบุกเคเบิลทีวีไลฟ์เปิดทางร่วมทุนเล็งลุยมีเดียเต็มสูบ
โอสถสภารุกสื่อเคเบิลทีวี เอื้อการโปรโมทสินค้า ร่วมทุนไลฟ์ อิน ผุดบริษัท เอฟแอลทีวี ดูแลช่องวาไรตี้วัน เผยไลฟ์ อิงค์ เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 230 ล้านบาท เตรียมรองรับการขยายธุรกิจใหม่ 3 ทาง ทั้งมีเดีย โฆษณา และสิ่งพิมพ์ มั่นใจสิ้นปียังเติบโตตามเป้า 15-20% จาก 400ล้านบาทในปีก่อน
(ผู้จัดการรายวัน 16 พฤษภาคม 2551)
ITV ไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนลด
ITV ไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนลดเกือบ 96% เหตุไม่ต้องรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามสัญญา หลังจากวันที่สำนักปลัดนายกฯ บอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงาน ขณะที่ไตรมาสแรกปีนี้มีขาดทุนจากการสำรองเผื่อดอกเบี้ยของค่าสัมปทานส่วนต่าง 108 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 8 ล้านบาทเป็นรายจ่ายเพียงเท่าที่จำเป็นตามสภาพการณ์ของธุรกิจ และผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
(ผู้จัดการรายวัน 15 พฤษภาคม 2551)
อสมทเดินหน้าเพิ่มรายได้งัดทีวีมือถือรับพรบ.ฯคลอด
อสมท จับมือ 3 พันธมิตร สยามพิวรรธน์ แมคพายฯและเอสเค เทเลคอม เดินหน้าทดลองดิจิตอลทีวีบนมือถือ หรือ DVB-H ดีเดย์ 12 พ.ค.นี้ หวังเพิ่มรายได้เข้ากระเป๋า ผ่านการใช้บริการเป็นค่าสมัครสมาชิก, ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายต่อเมื่อมีการใช้บริการ (Pay per view) หลังพรบ.จัดสรรคลื่นความถี่คลอด
(ผู้จัดการรายวัน 13 พฤษภาคม 2551)
นอนไพร์มไทม์ช่อง3ดูดงบชี้Q2โฆษณาสื่อทีวีเริ่มทะลัก
ช่อง 3 ฟุ้ง ไตรมาสแรกคาดโต 7-14% สวนภาพรวมทีวีดิ่งติดลบ 7-9% เหตุม.ค.คนไทยร่วมไว้อาลัยในการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ เชื่ออุตสาหกรรมทีวีปีนี้ต้องดีขึ้นอย่างน้อย 4-5% มั่นใจแรงอั้นการใช้สื่อโฆษณาทีวีมีสูง เตรียมใช้สื่อแน่หลังจากนี้ ส่งผลปลายปีช่อง 3 น่าจะเติบโตตามแผนที่วางไว้ไม่ต่ำกว่า 10%
(ผู้ดการรายวัน 9 เมษายน 2551)
ทรูวิชั่นส์ ยูบีซี ปลื้มผลงานปี 2550
ทรูวิชั่นส์ ยูบีซี ประกาศผลประกอบการปี 2550 ด้วยยอดลูกค้าใหม่เพิ่มสูงขึ้นตลอดทั้งปี 325,000 ราย (ลูกค้าใหม่ ตลอดปี 2549 เพิ่มขึ้น 140,000 ราย) ส่งผลให้มียอดสมาชิกของทรูวิชั่นส์ (รวมสมาชิกแพกเกจทรูไลฟ์ฟรีวิว) เพิ่มขึ้น 52% เป็น 949,000 ราย ในขณะที่รายได้จากการบริการ ณ สิ้นปี 2550 คิดเป็นมูลค่า 8,866 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2549 เดินหน้าสานต่อกลยุทธ์ Convergence Lifestyles ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
(ผู้จัดการรายวัน 25 มีนาคม 2551)
“ทรูวิชั่นส์-อสมท”ใกล้เคาะไตรมาสสองเตรียมขายโฆษณา
ทรูวิชั่นส์ เดินหน้าเจรจาแก้สัญญากับทางอสมท ขอมีโฆษณาได้ คาดไม่เกินไตรมาส1รู้เรื่อง พร้อมทดลองตลาดขายโฆษณาในไตรมาส2 เผยไม่คิดปรับราคาแพ็กเกจ แต่จะเน้นเพิ่มช่องและคอนเท้นต์รายการแทน เชื่อผู้บริโภคมองว่าคุ้มมากกว่า ส่วนรายได้โฆษณาคาดว่าจะมีสัดส่วนที่ 10% ของรายได้ทั้งหมด มั่นใจปีหน้าเริ่มเห็นรายได้ดังกล่าว
(ผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2551)