ขุดข้อมูลTLMชงบอร์ดททท.23นี้
ทีแอลเอ็มดิ้นหาทางรอดลดต้นทุน จีบอีลิท ขอรวมกิจการ “รพี” ทำเป็นเสียงแข็งไม่สน แต่แอบแย้ม มีความเป็นไปได้ หากจับมือเป็นพันธมิตรให้บริการในบางเรื่อง หวังลดต้นทุนการบริหารจัดการ ส่วนรวมกิจการขอเวลาศึกษารายละเอียด ด้านทีมคณะกรรมการติดตามประเมินผลทีแอลเอ็มรุดหน้า 21 ก.ค.นี้บุกขอฟังข้อมูลบริษัทก่อนเสนอบอร์ดททท.
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2551)
TRAFคาดสรุปแนวทางลดเพิ่มทุนเดือนนี้ เตรียมขายทิ้งทันหุ้นชี้ไม่ชำนาญสิ่งพิมพ์
TRAF คาดได้ข้อสรุปแนวทางลดและเพิ่มทุนภายในตุลาคมนี้ คาดปี 50 พลิกจากขาดทุนเป็นกำไร พร้อมปรับสัดส่วนรายได้จะมาจากธุรกิจโทรทัศน์และวิทยุ 50% และ 25% มาจากเอ็นเตอร์เทนเมนต์และอื่นๆ ส่วนที่เหลือ 25% มาจากธุรกิจใหม่ เผยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาจะประกาศขาย "ทันหุ้น" เพราะบริษัทไม่มีความชำนาญด้านธุรกิจสิ่งพิมพ์ โดยเงินที่ได้จะนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียน
(ผู้จัดการรายวัน 27 ตุลาคม 2549)
ขวาง "รวมนคร" ฮุบ TLM
“จุฑามาศ” เปิดศึกชน “รวมนคร” ขวางทางฮุบทีแอลเอ็ม พร้อมเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นของ ททท.ในทีแอลเอ็มเป็น 45% จากเดิม 30% แจงสี่เบี้ย ททท.จ่ายค่าหุ้นมากถึง 75% ขณะที่รายอื่นจ่ายแค่ 25% เผยที่ต้องลุกขึ้นมาสู้ เพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ให้ประเทศ เพราะทีแอลเอ็มกำลังจะมีรายได้จากการขายสมาชิก ประเดิมชาติแรกจากประเทศเกาหลี เปรย ถ้าทีแอลเอ็มต้องการให้เข้าไปช่วยบริหารก็ไม่ปฏิเสธ
(ผู้จัดการรายวัน 9 ตุลาคม 2549)
ชี้ปมบิ๊ก TRAF ถูกขาใหญ่กดดันผู้บริหารอาร์เอ็นทีปฏิเสธแบ็กดอร์
เผยเหตุ "สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย" ขายหุ้นทราฟฟิก คอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ ถูกกดดันจากกลุ่มจุฬางกูร ผู้ถือหุ้นใหญ่ พร้อมกระแสข่าวอาร์.เอ็น.ที.เทเลวิชั่น เล็งแบ็คดอลิสติ้งขณะที่ "พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย" ปฏิเสธลั่นยังไม่มีแผนที่จะทำแบ็ดดอลิสติ้ง ชี้การเข้าไปถือหุ้นเป็นการลงทุนส่วนตัว
(ผู้จัดการรายวัน 31 กรกฎาคม 2549)
ทีแอลเอ็ม“ลักไก่”ลุยฐานคนไทย ตั้งบลิสเทลขายบัตร-ลดเป้าต่างชาติ
ทีแอลเอ็มปรับแผนลดความเสี่ยง เปิดรับสมาชิกคนไทยกลุ่มผู้สูงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป อ้างทนเสียงเรียกร้องไม่ไหว พร้อมแต่งตั้ง บลิสเทลชอป เป็นผู้ทำตลาดและจัดจำหน่ายในประเทศ ตั้งเป้าเฉพาะยอดคนไทย 1 แสนใบในปีแรก ล่าสุดกำหนด 1 สิงหาคม 49 ดีเดย์เริ่มจำหน่ายบัตรสมาชิกไทยจัดการลองสเตย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้า 1 แสนรายในสิ้นปี
(ผู้จัดการรายวัน 13 กรกฎาคม 2549)
อาร์.เอ็น.ที.ฯดิ้นซบเรดิโออาร์มแก้เกมลุยวิทยุรถเมล์หลังเลิกจีเอ็มเอ็ม
สถานการณ์เศรษฐกิจส่งธุรกิจวิทยุย่ำแย่ ถูกกระทบหนัก สินค้าเมินลงโฆษณา ฟันธงสิ้นปีกลุ่มผู้ทำธุรกิจคลื่นวิทยุชักแถวคืนสัมปทาน ขณะที่ อาร์.เอ็น.ที หันซบ เรดิโออาร์ม เดินหน้าโครงการคลื่นวิทยุในรถขนส่งมวลชน หลังข้อตกลงกับ จีเอ็มเอ็มเหลว จนเป็นเหตุให้จีเอ็มเอ็มต้องคืนคลื่นกลับให้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ ระบุพันธมิตรใหม่ คิดอัตราค่าโฆษณาแค่ 2,500 บาท ต่อ สปอต 30 วินาที ขณะที่ จีเอ็มเอ็ม ประกาศโขกค่าโฆษณาถึง 18,000 บาทต่อสปอต
(ผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2549)
อาร์.เอ็น.ที.รุกทีวีดาวเทียม5ภาษา
"วิษณุ" อยากรู้ใครอนุมัติให้ช่อง 11 มีโฆษณา "อภิสิทธิ์" ชี้รัฐบาลต้องเคารพเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
ด้านอาร์.เอ็น.ที.โต้กลับ สัญญาเปิดช่องกรมประชาสัมพันธ์มีผู้ร่วมผลิตรายการได้ไม่ผิด
ยื่นเรื่อง ผลิตรายการ 5 ภาษากับช่อง 5 ผ่านไทยแลนด์ โกลเบิล เน็ตเวิร์ก
(ผู้จัดการรายวัน 17 มิถุนายน 2547)