โคมัตสุทุ่ม1.2พันล.ยกไทยศูนย์ส่งออกมั่นใจปีหน้ายอดเพิ่ม
นายพรเทพ พรประภา ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางกอกมอเตอร์เวอคส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนัก และสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้แบรนด์ "โคมัตสุ" ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มสยามกลการ เปิดเผยว่า แม้ตลาดรถขุดในประเทศจะมีการชะลอตัวลง แต่ภาพรวมธุรกิจกลุ่มเครื่องจักรกลหนัก และสินค้าอุตสาหกรรมของกลุ่มโคมัตสุในไทย ซึ่งมีทั้งหมด 5 บริษัท มีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากการปรับธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 15 พฤศจิกายน 2549)
สยามกลการแตกไลน์ลดความเสี่ยงรายได้รถวูบ
กลุ่มสยามกลการมั่นใจสิ้นปีโต 15% ตามคาด โดยเฉพาะธุรกิจด้านอะไหล่และชิ้นส่วนถือเป็นพระเอกเหตุสร้างกำไรต่อเนื่อง พร้อมเผยแผนขยายและลงทุนธุรกิจใหม่อีกเพียบไม่ว่าจะเป็น ลิสซิ่ง, โรงแรม, สนามกอล์ฟ หวังเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ล่าสุดทุ่ม 30 ล้านบาท เนรมิตโชว์รูมย่านบางนา-ตราด และเตรียมจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “ฮอนด้า” เสริมทัพให้กลุ่มเนื่องจากยอดขายรถยี่ห้อ “นิสสัน” ติดลบ “พรเทพ”คาดหวัง ปิกอัพ โมเดล ใหม่ จะเป็นอัศวินม้าขาวช่วยกู้ยอดขาย
(ผู้จัดการรายวัน 6 ตุลาคม 2549)
คลังเฉือนพันล้านลดภาษีรถติดNGVกำหนด2ปีครึ่งลดนำเข้าน้ำมัน760ล.
ครม.เห็นชอบปรับลดภาษีรถยนต์ติดเอ็นจีวีจาก 30% เหลือ 22% แต่ไม่เกินคันละ 5 หมื่นล้าน เผยเป็นมาตรการชั่วคราว กำหนดระยะเวลา 2 ปี 6 เดือนเพื่อให้เอกชนปรับตัว คาดจะมีรถยนต์ติดตั้งเอ็นจีวีเพิ่มปีละ 18,000 คัน ลดการนำเข้าน้ำมันปีละ 760 ล้าน และเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีปีละ 1,000 ล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 17 พฤษภาคม 2549)
เอมมอเตอร์สปอร์ตรับต่ำเป้า ทุ่มอีก40ล้านสร้างอาคารเพิ่ม
เอมมอเตอร์สปอร์ต ไม่หวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว เดินหน้าลุยจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี หวังขยายฐานลูกค้ากระจายทั่วทุกกลุ่ม หลังปีที่แล้วยอดขายพลาดเป้า แย้มปีนี้อาจทุ่มทุนเพิ่มอีก 40 ล้าน แจ้งเกิดมอเตอร์สปอร์ตแลนด์
(ผู้จัดการรายวัน 20 เมษายน 2549)
ยอดผลิต-ส่งออกยานยนต์สดใส
จากรายงานยอดการผลิตและการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2548 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปรากฏว่ามีทั้งสิ้น 1,026,297 คัน มากกว่าปี 2547 ระยะเวลาเดียวกัน 185,720 คัน หรือเพิ่มขึ้น 22.09% (ดูตารางประกอบ)
(ผู้จัดการรายวัน 2 มกราคม 2549)
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยั่งยืน 2ล้านคัน.....ยังไม่ใช่คำตอบ!
ท่ามกลางภาพอันสวยสดงดงามของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทั้งเรื่องของการผลิตรถได้ครบ 1 ล้านคันต่อปีก่อนกำหนด เช่นเดียวกับมูลค่าส่งออกอุตฯ ชิ้นส่วนยานยนต์ทะลุ 2 แสนล้านบาทต่อปี หรือการปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตเป็น 2 ล้านคันต่อปี ภายในปี 2553 ตามแผนยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทย อาจจะทำให้เส้นทางสู่การเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียของไทยอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่นั่นหาใช่คำตอบของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ยั่งยืนไม่!!
(ผู้จัดการรายวัน 2 มกราคม 2549)
โตโยต้ามาแรงคว้า"TAQA"5รางวัล
สถาบันเพิ่มผลผลิตฯร่วม 3 องค์กรเอกชน มอบรางวัลธุรกิจยานยนต์ยอดนิยมแห่งปี TAQA ครั้งที่ 3 หวังยกระดับมาตรฐานการผลิต และบริการหลังการขายสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค ด้วยการตัดสินจากการสำรวจความคิดเห็นคนใช้รถโดยตรง งานนี้เจ้าตลาด "โตโยต้า" กวาดรางวัลไปมากสุด 5 รายการ ขณะที่อีซูซุคว้า 2 รางวัล เซอร์ไพรส์ "ฟอร์ด" มาแรงด้านการขาย-บริการ ยอดเยี่ยม
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤศจิกายน 2548)
เศรษฐีมือเติบAASร่อนรถหรูราคา8-23ล้าน
เผยเศรษฐีไทยตัวจริง ไม่หวั่นพิษน้ำมันแพง เศรษฐกิจวูบ ยังมือเติบถอยรถหรูกันสนุก ล่าสุดกลุ่มเอเอเอสฯ เปิดตัว เบนท์ลี่ย์ คอนติเนนตัล ฟลายอิ้ง สเปอร์ ราคากว่า 23 ล้านบาท แย่งจองเต็มโควตาทันที ปลายปีเตรียมส่งอีก 2 ยี่ห้อ จากัวร์ เอ็กซ์เจ เวอร์ชั่นฐานล้อยาว และปอร์เช่ เคย์แมน ราคา 8-11 ล้านบาท ฟันยอดอีกระลอก
(ผู้จัดการรายวัน 9 กันยายน 2548)
ญี่ปุ่นบี้ไทยยกเลิกภาษีรถเพิ่ม
ญี่ปุ่นเร่งส่งคณะผู้แทนระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าพบ "ทักษิณ" วันนี้ อ้างหากจะให้จบทันปลายเดือนนี้ ไทยต้องลดภาษี CBU และชิ้นส่วนยานยนต์ให้เพิ่ม เน้นขอยกเลิกภาษีรถยนต์ขนาดสูงกว่า 3000 ซีซี หวังกินรวบค่ายรถยุโรป ขณะที่ฝ่ายเจรจาและเอกชนค้านสุดฤทธิ์ เผยข้อเสนอญี่ปุ่นจะส่งผลให้ค่ายรถญี่ปุ่นถ่ายโอนรายได้รัฐเข้ากระเป๋าเต็มที่
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2548)