คลังอุ้มการบินไทย8พันล.รีไฟแนนซ์หนี้-ซื้อเครื่องบิน
กระทรวงการคลังรายงาน ครม.กู้เงิน ECP ประจำปี 50 เพื่อชำระหนี้เงินกู้รัฐวิสาหกิจตามกรอบที่ได้รับอนุมัติ 2 พันล้านดอลลาร์ เผยรีไฟแนนซ์หนี้และจ่ายค่าเครื่องบินโบอิ้งของการบินไทย 4 ลำ เป็นเงิน 484 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 9,000 ล้านเยน และ 100 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 8,365 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 12 ธันวาคม 2550)
สหภาพบินไทยค้านใช้ดอนเมืองหวั่นไทยแอร์เอเชียฮุบเป็นฐาน
สหภาพฯการบินไทย ร้อง"นายกฯ"ค้านเปิดใช้ดอนเมืองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ เสนอรอรัฐบาลหน้าชี้ขาดพร้อมผลศึกษา ICAO ฉบับสมบูรณ์ หวั่นไทยแอร์เอเชียฮุบใช้เป็นฐานเหมือนในประเทศมาเลเซีย “ธีระ”ยันไม่เร่งรัด การตัดสินใจต้องมีรายละเอียดและเหตุผลพร้อมที่สุด ”ปลัดคมนาคม”ยอมรับการบินไทยไม่พร้อมลงทุนเพิ่มที่ดอนเมือง
(ผู้จัดการรายวัน 28 พฤศจิกายน 2550)
ซีพีทุ่ม500ล.ซื้อเครื่องบินเจ็ทรุกตลาดเช่าเหมาลำกลุ่มวีไอพี
สยามแลนด์ สยายปีกธุรกิจเครื่องบินเช่าเหมาลำ ฟาดเงินลงทุนเกือบ 500 ล้านบาท ถอยเครื่องบินเจ็ทรุ่นใหม่ รับลูกค้าระดับวีไอพี ทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ตั้งเป้าปีหน้าดันรายได้โตกว่า 80% หรือมีรายได้รวม กว่า 230 ล้านบาท ตอกย้ำไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินในอาเซียนเบียดแซงสิงคโปร์
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤศจิกายน 2550)
สายการบินกับการร่วมกลุ่มเป็นพันธมิตร
ปัจจุบันแนวโน้มสำคัญที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวระหว่างประเทศ คือ การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตร โดยมีวัตถุประสงค์ทั้งเพื่อเสริมสร้างแบรนด์ ขยายเครือข่าย ลดต้นทุนการดำเนินการ และเพิ่มคุณภาพบริการ
(ผู้จัดการรายวัน 13 พฤศจิกายน 2550)
คาเธ่ย์เน้นเปิดเส้นทางบินใหม่แนะเร่งเพิ่มศักยภาพสุวรรณภูมิ
คาเธ่ย์ เดินหน้าปั้นดราก้อนแอร์ สยายปีกคลุมภูมิภาคอินโดจีน ผจก.คนใหม่เผย ปลายปีนี้ เปิดเส้นทางจากฮ่องกง มาที่ เสียบเรียบ และ ย่างกุ้งตามลำดับ ระบุยังพร้อมดันไทยเป็นฮับในภูมิภาคอาเซียน แต่รัฐบาลต้องมีความชัดเจนเรื่องสนามบินย้ำไม่ควรเปิดใช้ 2 สนามบิน แต่ควรเร่งเพิ่มศักยภาพให้สุวรรณภูมิ
(ผู้จัดการรายวัน 3 สิงหาคม 2550)
สายการบินหนีตายโลว์ซีซั่นไทยปีนี้ กระหน่ำแคมเปญลดค่าตั๋วกว่า 50%กระตุ้นกำลังซื้อสุดฤทธิ์
ธุรกิจสายการบินชักแถวอัดโปรโมชั่นลดราคาตั๋วโดยสาร 40-50% ชูกลยุทธราคานำทางการแข่งขันในยุคเศรษฐซบจากพิษการเมืองและค่าเงินบาท กดโลว์ซีซั่นเมืองไทยปีนี้แย่กว่าปีก่อนๆถึง 20% คาเธ่ย์เผยปีนี้ ผู้โดยสารขาออกจากประเทศไทยถดถอยหนักเพียงประเทศเดียวในภูมิภาค เหตุคนชะลอจับจ่าย วอนทุกสายการบิน และ หน่วยงานรัฐเร่งจัดแคมเปญกระตุ้นท่องเที่ยวให้คึกคัก ขณะที่น้องใหม่ เจ็ทแอร์เวย์จากอินเดียเผยคนในวงการยอมรับโลวซีซั่นปีนี้แย่ที่สุดในรอบ 5 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 16 กรกฎาคม 2550)
บินไทยสูญ400ล.ต่อเดือนดิ้นสู้บาทแข็งหวั่นหลุดเป้า
ค่าบาทแข็ง กระทบรายได้การบินไทยถึงสิ้นปีไม่เข้าเป้าหมาย 1.68 แสนล้านบาท ฝ่ายการพาณิชย์เผย ตั้งแต่ต้นปี รายได้ลด 300-400 ล้านบาทต่อเดือน ระบุผู้โดยสารเพิ่มแต่รายได้ลด ล่าสุดดิ้นสู้หารายได้เพิ่ม จัดแคมเปญ “บินทวงฝันกับการบินไทย” จับลูกค้าวัยเกษียณ ส่วนปัญหานกแอร์ “วัลลภ”ท้า “พาที” ให้มาซื้อหุ้นคืนกลับไป
(ผู้จัดการรายวัน 5 กรกฎาคม 2550)
บรรณวิทย์สั่งบินไทยฮุบหุ้นนกแอร์51%
บรรณวิทย์สั่งการบินไทย หารือนกแอร์ เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 51% หวังสร้างความแกร่งด้านการแข่งขันในธุรกิจสายการบินในทุกเซกเมนท์ ทั้ง โลว์คอสต์ และ สายการบินพาณิชย์ ระบุ ที่ผ่านมา เกิดการทำงานทับซ้อน แข่งขันกันเอง ส่งผลธุรกิจไม่โต ขณะที่ปลายเดือนนี้ จับมือ สตาร์ อัลไลน์แอนซ์ จัดประชุม Asia Forum 2007 ชูศักยภาพประเทศไทยขึ้นฮับทางการบิน
(ผู้จัดการรายวัน 19 มิถุนายน 2550)
ธุรกิจการบินกับสงครามแย่งผู้โดยสารระดับบน
ปัจจุบันธุรกิจสายการบินมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจากเครื่องบินส่วนตัวที่แย่งผู้โดยสารระดับบน และสายการบินต้นทุนต่ำที่แย่งผู้โดยสารระดับล่าง สายการบินต่างๆ จึงต้องพยายามปรับการดำเนินงานเพื่อหารายได้เพิ่ม โดยเฉพาะการแย่งผู้โดยสารศักยภาพสูง ซึ่งโดยสารในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 11 มิถุนายน 2550)