นำเข้าหรือบวกพรีเมี่ยมแก้ปาล์มแพง หวั่นตลาดปั่นป่วนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
นักวิชาการแนะรัฐบาลแก้ไขปาล์มดิบไทยแพงกว่ามาเลเซียด้วยการนำเข้าหรือปรับสูตรราคาด้วยการบวกพรีเพิ่มให้มากกว่า 1 บาทต่อกก.เป็นการชั่วคราว ย้ำราคาสูงผิดปกติเกิดจากดีมานด์และซัพพลายสูตรราคาเหมาะสมแล้ว ปตท.โบ้ยเตือนพาณิชย์ไปแล้วตั้งแต่กลางปี ย้ำราคาน้ำมันรอตัดสินใจวันนี้ลดราคาหรือไม่ ชี้พาณิชย์หลงประเด็นแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม หวั่นตลาดปั่นป่วนตั้งแต่ผู้ผลิตยันผู้บริโภค
(ผู้จัดการรายวัน 16 มกราคม 2551)
น้ำมันพืชส่อขาดจริงผู้ผลิตรับลดผลิต40%
“พาณิชย์”ผงะเจอสต๊อกน้ำมันพืชบานเบอะ แต่ทำอะไรไม่ได้ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว อ้างขายไม่ออก เหตุผู้บริโภคหนีไปซื้อในห้างสรรพสินค้าแทน เตรียมเสนอ “เกริกไกร”วันนี้ อนุมัติน้ำเข้าปาล์มน้ำมันกึ่งบริสุทธิ์ไม่เกิน 3 หมื่นตัน แก้ไขปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน ขีดเส้นนำเข้าไม่เกิน 29 ก.พ.นี้ ผู้ผลิตยอมรับลดกำลังการผลิตลง 40% เหตุสู้ต้นทุนไม่ไหว ส่อแววน้ำมันพืชขาดแคลนของจริงเร็วๆ นี้ อ้อนรัฐปรับราคาเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด
(ผู้จัดการรายวัน 16 มกราคม 2551)
ซีพีงัดเกมกระตุ้นวัยรุ่นกินไข่ เปิดแผนบุกต่อยอดอาหารแปรรูป
ซีพี อัดฉีด 100 ล้านบาท รุกกลุ่มอาหารแปรรูปปีหนู ชูกลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม หมู ไก่ ไข่ จ่อคิวเปิดตัวสินค้าใหม่ตลอดทั้งปี หวังทุกแบรนด์โต 5-10% เจียด 20 ล้านบาท ปลุกตลาดไข่ไก่โตพรวด ส่งภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “The Magic of Egg” นำเสนอความง่ายปรุงเมนู พร้อมเปิดตัวแอมบาสเดอร์ แจ๊ค เอเอฟ 4 ลั่นไตรมาสสองคลอดเครื่องดื่มเมนูไข่ หวังขยายฐานคนรุ่นใหม่ กระตุ้นคนไทยกินไข่เพิ่ม 200 ฟองต่อคนต่อปี ยันตรึงราคาสินค้า
(ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2551)
น้ำมันพืชเบนเข็มโกยส่งออก ขายเมืองไทยไม่คุ้ม ขู่ในปท.ขาดแคลน
น้ำมันรำข้าวคิง ชี้ตลาดน้ำมันพืชปีหนู ผู้ประกอบการบ่ายหน้าส่งออกน้ำมันพืชโกยรายได้ทดแทน หลังตลาดภายในประเทศขายไม่ได้ราคา ลั่นน้ำมันพืชภายในประเทศอาจขาดแคลน ระบุหากราคาน้ำมันโลกทะลุ 130-140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล โอกาสราคาน้ำมันพืชปรับเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวด “น้ำมันพืชทิพ” รุกปั้นทิพไวส์ เจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต
(ผู้จัดการรายวัน 9 มกราคม 2551)
USCไตรมาส3ปีนี้ผลงานหด29% กำไรขั้นต้น-ค่าเงินลดต้นทุนเพิ่ม
USC ไตรมาส 3 ปีนี้กำไรหด 29% เหตุจากผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนรวมทั้งกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ลดลง รวมทั้งกำไรขึ้นต้นจากธุรกิจผลิตภัณฑ์การเกษตรลดลง สวนทางกับต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสียลดลง นอกจากนี้ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
(ผู้จัดการรายวัน 27 ธันวาคม 2550)
ซีพีฯชูแผนส่งออก โกยหมื่นล้านใน5ปี
ซี.พี.ฯประกาศแผน 5 ปี โกยรายได้ 1 หมื่นล้านบาท ชูโรงบุกตลาดต่างประเทศเรือธงหลัก รับอานิสงส์โลกร้อนยุโรป อเมริกา ธัญพืชขาดแคลน ทุ่ม 1,600 ล้านบาท ผุดโรงงาน 8แห่ง รองรับแผนโกอินเตอร์ ปักธงสร้างแบรนด์แทนรับจ้างผลิต จ่อคิวตั้งทีมการตลาดบูมสินค้าติดตลาด เร่งลดต้นทุน 10-20% รับต้นทุนแป้งสาลีพุ่ง 10% โยกการผลิตโรงงานรอบกรุงเทพผลิตป้อนส่งออกแทน โหนกระแสสุขภาพคลอดสินค้าเบเกอรี่คอนเซปต์สุขภาพปีหน้า ชูเบเกอรี่คาวขยายฐานลูกค้า โชว์ผลประกอบการปีนี้ โต 20% กวาด 4,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 19 ธันวาคม 2550)
ศึกชิงตลาดอาหารญี่ปุ่น6,000ล. “โออิชิ”ซื้อแฟรนไชส์เสริมทัพ
ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นแข่งเดือด ผลพวงเอฟทีเอ เปิดกว้างภาษีต่ำลง โออิชิ ปรับตัวรับศึกหนัก คู่แข่งดาหน้าตอดแชร์ตลาดรวม 6,000 ล้านบาท ทุ่ม 200 ล้านบาท ทำตลาดเชิงรุก เปิดอีก 20 สาขา พร้อมเจรจาซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ญี่ปุ่นเข้ามาเปิดอีกเพื่อเสริมพอร์ต
(ผู้จัดการรายวัน 31 ตุลาคม 2550)
S&Pชูกลยุทธ์ร่วมทุนลดเสี่ยงผนึกพีซีเอสบุกตลาดเคเธอริ่ง
เอส แอนด์ พี เน้นหาพันธมิตรร่วมทุนบุกต่างประเทศ ล่าสุดผนึกพีซีเอส ตั้งบริษัทใหม่ ลุยธุรกิจ เคเธอริ่งในไทย แยกตลาดชัดเจนจากเคเตอริ่งเดิมที่ทำอยู่ ด้านพีซีเอสปีหน้าทุ่ม 100 ล้านบาทเสริมความแกร่งองค์กร พร้อมขยายอีก 2 บริการ ครบวงจรกลุ่มดูแลอสังหาริมทรัพย์
(ผู้จัดการรายวัน 26 ตุลาคม 2550)