มิตรผลเท400ล. ผุดรง.น้ำเชื่อม-เพิ่มกำลังผลิต
นายคนอง ศักดิ์เพ็ชร กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจน้ำตาลมิตรผล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำตาลมิตรผล เปิดเผยว่า นโยบายของบริษัทต้องการก้าวสู่การเป็นผู้นำโซลูชั่น เซอร์วิสในธุรกิจน้ำตาล ล่าสุดได้ทุ่มงบลงทุน 200 ล้านบาท สร้างโรงงานที่ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เพื่อผลิตน้ำตาลในรูปแบบน้ำเชื่อมภายใต้แบรนด์"มิตรผล" เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ต้องนำน้ำตาลทรายไปละลายก่อนการใช้งาน ซึ่งเป็นการสร้างเซกเมนต์ใหม่ของตลาดน้ำตาล และนับว่าประเทศไทยเป็นแห่งแรกในอาเซียนที่สามารถผลิตน้ำเชื่อมดังกล่าวได้
(ผู้จัดการรายวัน 2 กรกฎาคม 2551)
STAแนวโน้มธุรกิจยางรุ่งดันกำไรโต
"ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" คาดกำไรปี51 พุ่งรับทิศทางราคายางพาราขาขึ้น ดันทั้งปีอาจเติบโตกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10 -15% ตามแนวโน้มธุรกิจที่ขยายตัว ด้านโบรกเกอร์แนะ "ซื้อเก็งกำไร" ที่ราคาเป้าหมาย 15.42 บาท
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤษภาคม 2551)
ไทยรุ่งเรืองเล็งปรับแผนรุกรับน้ำตาลขึ้นหวั่นกระทบตลาด
กลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรืองเล็งปรับแผนดำเนินงานใหม่ หลังน้ำตาลขึ้นราคารวดเดียว 5 บาท เหตุส่งผลกระทบแน่นอนด้านกำไร เผยไตรมาสแรกยอดขายทรงตัว คาดไตรมาสสองปริมาณบริโภคน้ำตาลอาจลดลง กลางเดือนนี้เตรียมเผยโฉมสินค้า “ ลิน” ใหม่ กระตุ้นยอด
(ผู้จัดการรายวัน 6 พฤษภาคม 2551)
ปีทองหุ้นกลุ่มเกษตร ราคา"PRG"พุ่ง120%
ปีทองกลุ่มธุรกิจการเกษตร ตั้งแต่ต้นปีดัชนีกลุ่มบวกแล้ว 3.51% นำโด่งโดย "ปทุมไรซมิลฯ" ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วเกือบ 120% ทิ้งห่างอันดับสอง "จีเอฟพีที" เพิ่มขึ้นแค่ 49% ขณะที่ CPF ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 4.35% ปิดที่ 4.80 บาท ด้านโบรกเกอร์ ชี้ได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แนะ PRG มีโอกาสทำกำไรอีกแค่ 10%
(ผู้จัดการรายวัน 17 เมษายน 2551)
มิตรผลปรับโครงสร้างใหญ่ รับธุรกิจพลังงานทดแทนบูม
มิตรผล ลุยปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ รองรับการขยายตัวธุรกิจพลังงาน ไฟฟ้าชีวมวล เอทานอล หลังสบช่องเทรนด์ทั่วโลกเริ่มใช้พลังงานทดแทน และหวังโกยราคาน้ำตาลทรายขาวโลกพุ่ง 450 เหรียญต่อตัน ทุ่มเม็ดเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท เร่งขยายพื้นที่ปลูกอ้อยในอาเซียน จ่อคิวผุดโรงงานเอทานอลแห่งที่ 3 ในไทย สิ้นปีกวาดรายได้ 30,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 10 เมษายน 2551)
ซี.พี.สบช่องราคาพืชเกษตรพุ่งรุกปลูกปาล์มทำไบโอฯ-ขายข้าว
ซี.พี.อินเตอร์เทรดหวั่นไทยส่งออกข้าวพลาดเป้า 8.7 ล้านตัน หลังสต็อกข้าวมีไม่เพียงพอ แต่มูลค่าการส่งออกปีนี้พุ่งพรวด หลังราคาข้าวดีดขึ้นกว่า 30%จากปีที่แล้ว ฟุ้งปีนี้บริษัทฯโกยรายได้ขายข้าวสูงสุดแตะ 1 หมื่นล้านบาท ด้านกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรของซี.พี. ชี้เป็นปีทองของเกษตรกรที่จะเลือกเพาะปลูกพืชที่ทำรายได้ดี โดยเฉพาะพืชพลังงานที่ใช้ทดแทนน้ำมัน ประกาศทุ่ม 800 ล้านบาทใน 3ปีรุกโครงการปาล์มน้ำมันและยางพาราในไทย พร้อมดูลู่ทางขยายไปประเทศเพื่อนบ้าน
(ผู้จัดการรายวัน 12 มีนาคม 2551)
น้ำมันปาล์มราคาพุ่งพรวด 4 บาท
ประชาชนยุคพลังแม้วอ่วม น้ำมันปาล์มขวดละ 47.50 บาท ทุบสถิติสูงสุด ราคาพุ่งนำน้ำมันถั่วเหลืองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แฉ “พาณิชย์” มุบมิบให้ขึ้นราคา 4 บาท/ขวด ไปตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. ด้านน้ำมันถั่วเหลืองยื่นเรื่องขอขึ้นบ้าง อ้างต้นทุนวัตถุดิบยังพุ่งไม่หยุด “ยรรยง” เล่นมุขตลกฝืด ทำเป็นงง ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นคนเซ็นอนุมัติให้ขึ้นราคา
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2551)
เผยส่งออกข้าวไทยปี50ทะลุ9.5ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทยในปี 2550 ทะลุ 9.5 ล้านตัน มูลค่า 1.23 แสนล้านบาท มูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนปีนี้ ตั้งเป้าส่งออกได้แค่ 8.7 ล้านตัน หลังปริมาณข้าวในประเทศมีไม่มาก นครหลวงค้าข้าว คว้าโควตาข้าวขาวส่งออกอียูสูงสุดกว่า 3 พันตัน ขณะที่ข้าวหัก เจียเม้งได้มากสุดถึง 1.6 หมื่นตัน ส่วนเพรซิเดนท์ชวด ทั้งที่เคยได้โควตาสูงสุด
(ผู้จัดการรายวัน 7 มกราคม 2551)
ซี.พี.โอดครวญรายได้ทรุด-เบนลงทุนตปท.
ซี.พี.ทำใจเศรษฐกิจปีนี้ถดถอย คาดทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์รายได้เติบโตแค่ 5-10 % จากยอดขายรวม 1.4 หมื่นล้านเหรียญฯ เทียบกับปี 49 เติบโตกว่า 10% พร้อมปรับกลยุทธ์เบนเข็มลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น กดดันเบรกลงทุนในไทย ย้ำฐานที่มั่นใจในจีนจะมีการขยายลงทุนอย่างต่อเนื่อง เล็งนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อดัง "เชอรี่"จากจีนเข้ามาตีตลาดในไทย ด้านธุรกิจอสังหาฯ เตรียมดึงที่ดินในเครือฯทั้งหมด ให้ซี.พี.แลนด์ฯบริหารและพัฒนา เดินหน้างัดที่ดินสะสมทั้งในและต่างจังหวัดผุดโปรเจกต์ใหม่มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท คุยฟุ้งอีก 2 ปีดันเข้าตลาดหุ้น ซีพีเอฟลั่น สิ้นปีโกยแชร์ตลาดอาหารแช่แข็งและสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน นั่งแท่นผู้นำไม่ต่ำกว่า 25% แทนพรานทะเล
(ผู้จัดการรายวัน 13 มิถุนายน 2550)