ปรับแผนซื้อคืนรถไฟฟ้าตั้งหลักรอหลังต่อขยาย
"สุริยะ" ปรับแผนซื้อคืนหุ้นรถไฟฟ้า ประเมินสถานการณ์หลังมีกระแสข่าวคน ในรัฐบาลไม่เห็นด้วย เพิ่มทางเลือก ตัดสินใจซื้อ 100% ซื้อบางส่วน หรือไม่ซื้อเลย 14 ธ.ค.หารือเรื่องเงินกับคลังก่อนให้คำตอบ คาดสรุปไม่ได้อาจต้องชะลอการซื้อหุ้นออก ไปจนกว่าจะสร้างรถไฟฟ้า 294 กม.เสร็จ
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2547)
STECคว้าแอร์พอร์ตลิงก์เสนอต่ำสุดรอผล20ธ.ค.นี้
ชิโน-ไทยฯ-ซีเมนส์-บีกริม คว้างานรถไฟสนามบิน หรือแอร์พอร์ตลิงก์ เสนอค่าก่อสร้าง 25,917 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 60,209 บาท หรือ .0002% ทิ้งกลุ่มของอิตาเลียน-ไทยที่จับมือกับจีน 3,532 ล้านบาท ส่วนกลุ่มช.การช่าง ถอดใจเสนอราคาสูงลิ่ว 43,535.29 ล้านบาท สูงกว่าราคากลางกว่า 17,618 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2547)
BECLซื้อหุ้นรถไฟฟ้ากรุงเทพเพิ่มพร้อมจ่ายปันผลหุ้นละ 1 บาท เดือนนี้
บอร์ด BECL อนุมัติให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน รถไฟฟ้ากรุงเทพ นอกจากนี้ยังลงทุนสร้างสะพานลอยข้ามถนนประชาชื่น โดยให้ ช.การช่าง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างวงเงินมูลค่า 98 ล้านบาท พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอัตราหุ้นละ 1 บาท กำหนดจ่าย 29 กันยายนนี้
(ผู้จัดการรายวัน 1 กันยายน 2547)
"คีรี" ยืนกรานไม่ขายหุ้นบีทีเอส
บอร์ดบีทีเอสมีมติเห็นชอบแผนปรับโครงสร้างหนี้ 3.8 หมื่นล้านบาท เตรียมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นรับแผนกลางก.ย.นี้ "คีรี"ลั่นไม่ยอมขายหุ้นให้รัฐแน่นอน แต่รัฐควรนำเงินที่จะซื้อหนี้และซื้อหุ้นบีทีเอสไปลงทุนส่วนต่อขยายเพิ่มเติม เชื่อว่าประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่า
(ผู้จัดการรายวัน 29 กรกฎาคม 2547)
"สุริยะ"ไม่สน"คีรี"ขวางยันซื้อBTS3.4หมื่นล้าน
"สุริยะ" ไม่สนท่าที "คีรี" อ้างปรับโครงสร้างหนี้ล่าช้า เผยเดินหน้าเจรจาซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสกับผู้ถือหุ้นรายอื่นต่อ หลังเจ้าหนี้ยอมลดหนี้ให้ 45% คาดใช้เงินซื้อทั้งโครงการประมาณ 34,000 ล้านบาท มั่นใจภายในสิ้นปีซื้อคืนเรียบร้อย เผยตัวเลขบัญชี บีทีเอส ขาดทุนแถมไออาร์อาร์ต่ำ ส่งผลราคาหุ้นซื้อคืนหุ้นละ 5 บาท
(ผู้จัดการรายวัน 15 กรกฎาคม 2547)
คีรีเผยไต๋ไม่ขายบีทีเอสโอดรัฐเอาเจ้าหนี้มาบีบ
เจรจานัดแรกซื้อคืนสัมปทานเดินรถระบบรางส่อเค้ารัฐบาลเจองานหนัก "คีรี กาญจนพาสน์" เผยไต๋ไม่ยอมขายสัมปทานบีทีเอส โอดรัฐไม่เห็นความยากลำบากของเอกชน ติงไม่ควรใช้วิธีซื้อหนี้มาบีบ เอาคืน ยันมีศักยภาพพอที่จะแก้หนี้-ขยายกิจการเองได้ ขณะที่รัฐบาลยันไม่ได้บีบหรือรังแก เผยเหตุต้อง รวบ "บีทีเอส-รถไฟฟ้าใต้ดิน" เพราะหวังจัดการแบบหนึ่งเดียวเพื่อกดราคาโดยสารให้ถูกลง
(ผู้จัดการรายวัน 14 กรกฎาคม 2547)
บีทีเอสอัดรัฐป่วนซื้อหนี้
บีทีเอสปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ เตรียมลงนามกับเจ้าหนี้ เกษม เผยเจ้าหนี้ยอมลดเงินต้นและดอกเบี้ยค้างจ่ายให้
8,000 ล้านบาท ฟุ้งปี 47 จะเหลือเงินพอจ่ายดอกเบี้ยที่เหลือและเริ่มมีกำไร พร้อมเตรียมเข้าตลาดปลายปีนี้
หลังแก้ปัญหาสัดส่วนหนี้สิน ต่อทุนเหลือ 1 ต่อ 1 แถมอัดรัฐวุ่นเลือกเจรจาเจ้าหนี้ซื้อหนี้แทนที่จะเจรจากับบีทีเอส
ชี้เป็นวิธี ที่เอกชนมักทำกันเพื่อเอาไว้บีบผู้ถือหุ้น
(ผู้จัดการรายวัน 8 เมษายน 2547)
ภัทรซื้อคืนหุ้นทอท.วันนี้ชี้ไม่กระทบราคาในตลาด
วันนี้ (8 เม.ย 47) บล.ภัทรจะใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Exercise Greenshoe Option)
ทอท. จำนวน 53.77 ล้านหุ้น ที่ราคาไอพีโอ 42 บาทต่อหุ้นส่งมอบคืนกระทรวงการคลัง
"ภัทร" เผยการซื้อคืนไม่มีผลกระทบกับการลงทุนและราคาหุ้นทอท.ในตลาดฯด้านนักวิเคราะห์ชี้นักลงทุน
อย่ากังวล
(ผู้จัดการรายวัน 8 เมษายน 2547)
ดันรถใต้ดินเข้าเทรดไตรมาส3ผู้ว่าฯชี้300บาทต่อหุ้นสุดเวอร์
บีเอ็มซีแอลเผยผู้ถือหุ้นไม่ขัดขายคืนสัมปทานรถใต้ดินให้รัฐ อ้อนขอความเป็นธรรม
ชี้ถกราคาขายเป็นเรื่องใหญ่ ด้านผู้ว่าฯรฟม.เผย 300 บ.ต่อหุ้นสุดแพง "สมบัติ"
ยันแผนเข้าตลาดฯไตรมาส 3 ระบุต้องการเงินอีก 5,000 ล้านบาทนำมาซื้อรถเพิ่ม และลด
กำหนด 13-18 เม.ย.เปิดอุโมงค์ให้ประชาชนสัมผัสรถใต้ดินสายแรก เตรียมแจกบัตร 300,000
ใบ ปัดข้อเสนอบริษัทมือถือและห้างฯ ขอแจม ใช้วิธีส่งจดหมายขอโดยตรง อ้างไม่ต้องการให้เป็นธุรกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 30 มีนาคม 2547)
ช.การช่างตั้งราคารถใต้ดินเสนอขาย300บาทต่อหุ้น
ช.การช่างพร้อมขายหุ้นรถไฟใต้ดินคืนรัฐ แต่ตั้งเงื่อนไขโขกราคาที่ 300 บาทต่อหุ้น
ยันสิทธิ์ขายราคาพาร์ในส่วนหุ้น 25% หมดลงแล้วเลยสัญญาระบุไว้ 12 เดือน ขณะที่รฟม.ย้ำต้องได้ราคาพาร์แน่นอน
ส่วน 75% ขึ้นอยู่กับการตกลง วันนี้เปิดแถลงข่าวความพร้อมให้ประชาชนทดสอบรถไฟ 13
เม.ย.
(ผู้จัดการรายวัน 29 มีนาคม 2547)