โรงแรมเจ๊งระนาว-อสังหาฯจี้รัฐลดภาษี50%
สศค.เชื่อส่งออกเดือน มี.ค.หดตัวต่อเนื่อง กดดันเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ทรุดหนัก ต้องดูแลค่าเงินบาทให้แข่งขันได้ ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติเผยโรงแรม-รีสอร์ท เจ๊งระนาว ร้องรัฐสุดทนพิษการเมือง นักวิชาการแนะทางการลดภาษีท่องเที่ยว-อสังหาฯ 50% กู้วิกฤตด่วน
(ผู้จัดการรายวัน 2 เมษายน 2552)
ADB ห่วงจีดีพีไทยลบ4%จี้รัฐแก้การเมือง-อัดงบ
เอดีบีชี้เศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัว 2% คนตกงาน 2 ล้านคน หากเม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้า ปัจจัยภายนอกเม็ดเงินภาครัฐล่าช้า-การเมืองในประเทศไม่คลี่คลาย อาจมีโอกาสได้เห็นติดลบ 4-5% ระบุรัฐบาลไทยชุดนี้มีมาตรการต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เอดีบีพร้อมร่วมมือปล่อยกู้ เผยรัฐบาลไทยมีโครงการลงทุนจ่อคิวเพียบจนถึงปีหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 1 เมษายน 2552)
ธปท.ลุ้นศก.ไทยผงกหัว ใช้จ่ายภาครัฐกระเตื้อง-เมินทุบบาท
แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยสัญญาณเริ่มดีขึ้น แม้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว แต่การผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น และต้นทุนที่ต่ำมีแรงส่งให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับสู่ความสมดุลมากขึ้น แนะปัจจัยการเมืองเหมือนก้อนหินก้อนใหญ่ที่ทำให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เริ่มเห็นแวบๆ จึงไม่ควรให้ความสำคัญมากนัก และพยายามใช้ชีวิตปกติทั่วไป ปัดใช้นโยบายบาทอ่อน
(ผู้จัดการรายวัน 1 เมษายน 2552)
คลังลุ้นเช็คดันจีดีพี1.4% รายได้ปีนี้วูบ2.4แสนล.
กระทรวงการคลังยอมรับรายได้รัฐปีนี้อาจลดลง 2.4 แสนล้านบาท จากประมาณการเดิมที่ตั้งไว้เพียง 1.8 แสนล้านเท่านั้น ชี้ปรับโครงสร้างภาษีใหม่เมษายนนี้อาจช่วยต่อลมหายใจได้ ยังหวังเช็คช่วยชาติกระตุ้นจีพีดีโต 1.4 % ขณะที่ สศค.แนะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแทนนโยบายการเงินการคลังหวังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อสู้กับประเทศในภูมิภาคได้
(ผู้จัดการรายวัน 31 มีนาคม 2552)
ธปท.หวั่นสหรัฐฉุดศก.ไทยขาดดุลเดินสะพัด-NPLพุ่ง
บิ๊กแบงก์ชาติแจงเหตุผลเตรียมปรับลดประมาณการ์เศรษฐกิจปี 52 เหตุปัญหาเศรษฐกิจโลกรุมเร้าส่อเค้ารุนแรงสุดในรอบ 70 ปี ชี้ปัญหาซับซ้อนในภาคการเงิน-ภาคเศรษฐกิจ ภาวนาขออย่ายืดเยื้อจนกระทบขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการก่อตัวของหนี้เสียรอบใหม่ ชี้ขึ้นกับฝีมือรัฐบาล ขณะที่ผู้บริหารทีมนโยบายการค้าและเงินทุนของ ธปท.เชื่อเศรษฐกิจไทยยังมีหวังฟื้นตัวได้ในปีหน้า ห่วงแค่บริษัทขนาดกลาง-เล็ก ระบุปีนี้เป็นปีแห่งการประคองตัวเองให้ผ่านพ้นปัญหาไปให้ได้
(ผู้จัดการรายวัน 25 มีนาคม 2552)
คลังประเมินใหม่จีดีพี-2.5%กรณ์เรียกหน่วยงานศก.ถกรายได้หลุดเป้า
คลังประกาศลดเป้าจีดีพีปี 52 ลงเหลือ -2.5% หลังประเมินเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักหดตัวเร็วและแรงเกินคาด แต่ยังมีข่าวดีเศรษฐกิจไตรมาส 1 ต่ำสุดแล้วพร้อมที่จะขยายตัวเป็นบวกในไตรมาสต่อๆ ไปหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มเห็นผล ขณะที่ รมว.คลังเรียกด่วนหน่วยงานเศรษฐกิจถกปัญหาหลังรายได้หลุดเป้า
(ผู้จัดการรายวัน 26 มีนาคม 2552)
อัดงบไม่อั้น1.56ล้านล.มาร์คกระตุ้นศก.รอบ2
ครม.เศรษฐกิจผ่านแผนกระตุ้นรอบ 2 ปีงบประมาณ 53-54 ใช้เม็ดเงิน 1.56 ล้านล้าน เพิ่มจากกรอบที่สภาพัฒน์เสนออีก 1.6 แสนล้าน หวังดันจีดีโตได้ปีละ 5% เกิดการจ้างงานใหม่ 1.6 ล้านคน ภายใน 3 ปี "มาร์ค" ปัดกู้เพิ่ม 400 ล้านดอลลาร์ จากจีน หวังอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจฉาบฉวยแต่จะนำไปสู่การพัฒนายั่งยืน ดึงสังคมมีส่วนรวมขับเคลื่อนนโยบาย
(ผู้จัดการรายวัน 26 มีนาคม 2552)
ธปท.หวั่นสหรัฐฉุดศก.ไทยขาดดุลเดินสะพัด-NPLพุ่ง
บิ๊กแบงก์ชาติแจงเหตุผลเตรียมปรับลดประมาณการ์เศรษฐกิจปี 52 เหตุปัญหาเศรษฐกิจโลกรุมเร้าส่อเค้ารุนแรงสุดในรอบ 70 ปี ชี้ปัญหาซับซ้อนในภาคการเงิน-ภาคเศรษฐกิจ ภาวนาขออย่ายืดเยื้อจนกระทบขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการก่อตัวของหนี้เสียรอบใหม่ ชี้ขึ้นกับฝีมือรัฐบาล ขณะที่ผู้บริหารทีมนโยบายการค้าและเงินทุนของ ธปท.เชื่อเศรษฐกิจไทยยังมีหวังฟื้นตัวได้ในปีหน้า ห่วงแค่บริษัทขนาดกลาง-เล็ก ระบุปีนี้เป็นปีแห่งการประคองตัวเองให้ผ่านพ้นปัญหาไปให้ได้
(ผู้จัดการรายวัน 25 มีนาคม 2552)
กรณ์พอใจจีดีพีติดลบ3% ลั่นหากอยู่เฉย-9% ธปท.รื้อตัวเลขใหม่
รมว.คลังรับสภาพจีดีพีปี 52 ยอมรับตัวเลขติดลบ 3% เป็นไปได้ รัฐบาลจำเป็นต้องทุ่มงบสู้ หากไม่ทำอะไรติดลบมากถึง 8-9% ทีดีอาร์ไอหนุนแนะรัฐบาลอย่ามัวแต่สนใจ GDP จนลืมรากหญ้า ชี้เช็คช่วยชาติเป็นการแก้ไขปัญหาตรงจุด ธปท.หนุนคลังก่อหนี้กระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้แม้การใช้นโยบายการคลังจะเพิ่มภาระหนี้ให้แก่ประเทศ แต่ในยามนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องกระตุ้นให้อุปสงค์ในประเทศขับเคลื่อนต่อไปได้ เผย กนง.เล็งปรับเป้าเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ ใหม่ในวันที่ 8 เม.ย.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 24 มีนาคม 2552)
ยอดขาดดุลงบฯพุ่งเฉียดแสนล้าน สนองรัฐเร่งอัดฉีดเงินกู้เศรษฐกิจ
คลังเผยฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์มียอดขาดดุลเฉียดแสนล้านบาท ระบุผลจากเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณกว่า 1.7 แสนล้านเข้าสู่ระบบ ตามนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปีมียอดขาดดุลรวม 3.24 แสนล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 17 มีนาคม 2552)