บิ๊กสหพัฒน์ฯสอนมวยมาร์คแก้ไขวิกฤติศก.
“บุณยสิทธิ์” บิ๊กบอสเครือสหพัฒน์ สอนมวยรัฐบาลมาร์ค แก้วิกฤติเศรษฐกิจ ชี้ 5 เดือน ประเทศไทยถังแตก ภาครัฐกู้เงิน4 แสนล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจเกาไม่ถูกที่คัน หวั่นบริหารไม่ดี เก็บภาษีไม่ได้ ประเทศกลับจนลง ชงโมเดลจีนต้นแบบค่าเงินหยวนอ่อน แนะแบงก์ชาติแทรกแซงค่าเงินบาทอ่อนตัว 40 บาทต่อดอลล่าร์ ขึ้นไป เพื่อดันภาคส่งออกฟื้น ลั่นปีนี้ชูนโยบาย ไมนัส มาร์เก็ตติง สิ้นปีหวังรายได้สหกรุ๊ป ติดลบ 5% “บุญเกียรติ” ยันเดินหน้าธุรกิจต่อเนื่อง แม้สถานการณ์เศรษฐกิจยังน่าห่วง ส่วนภาพรวมรายได้ ทำใจเท่าปีก่อนก็เยี่ยมแล้ว
(ASTVผู้จัดการรายวัน 27 พฤษภาคม 2552)
สภาพัฒน์เผยจีดีพีQ1ลบ7%-แบงก์ชาติรับเลวร้ายสุด
สภาพัฒน์แถลงเศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัว 7.1% ระบุรุนแรงกว่าที่คาดหลังเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรง คาดจีดีพีทั้งปีติดลบ 3.5 ถึงติดลบ 2.5% ผู้บริหารแบงก์ชาติยอมรับตัวเลขลบ 7.1% เป็นไปตามประมาณการขั้นเลวร้ายสุด เผยยังไม่เห็นแววมีการลงทุนภาคเอกชนภายในปีนี้ ตามคาดโยนภาระให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจดันความเชื่อมั่น
(ASTVผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2552)
วิกฤตการเมืองฉุดศก.ดิ่งเหวยาวชูธงทวงคืนปตท.นำกำไรสู่สังคม
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองฟันธงวิกฤตการเมือง-เศรษฐกิจยังมืดมิดไปอีกนาน ชี้ปัญหาเชิงโครงสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้น เหลื่อมล้ำทางรายได้ ก่อเกิดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง ทุนนิยมสามานย์ เสนอทางออกปฏิรูปการเมือง ปฏิเสธการซื้อเสียงต้นตอวิบัติ ประณามความร่ำรวยจากคอร์รัปชั่น ปลุกพลังสังคมขับเคลื่อนแสวงหาหนทางรอดร่วมกัน ชูธง “ปิดล้อม ปตท.” ขับไล่คณะผู้บริหาร ปรับโครงสร้าง “ปตท.เพื่อสังคมไทย” เป็นเป้าหมายหลักที่ควรปฏิบัติการอันดับแรก
(ASTVผู้จัดการรายวัน 15 พฤษภาคม 2552)
ดัชนีความเชื่อมั่นต่ำสุดรอบ87เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ต่ำสุดในรอบ 87 เดือน หลังเจอปัญหาการเมืองวุ่น ม๊อบเสื้อแดงป่วน ค่าครองชีพสูง น้ำมันแพง คาดแนวโน้มชะลอตัวจนถึงไตรมาส 3 และเริ่มฟื้นตัวไตรมาส 4 ภายใต้เงื่อนไขการเมืองนิ่ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผล ส่วนกำลังซื้อบ้าน รถยนต์ ติดลบหนักสุดรอบ 50 เดือนและ 30 เดือนตามลำดับ
(ASTVผู้จัดการรายวัน 15 พฤษภาคม 2552)
“โอฬาร”อัดรัฐนโยบายสินเชื่อแบงก์แย่ ให้คะแนน 3เดือนครม.มาร์กแค่เกรดC
“โอฬาร” คาดไตรมาสแรกจีดีพีไทยติดลบอย่างน้อย 6-7% ไม่ใช่ ลบ 4-5% อย่างที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ เหตุนโยบายสินเชื่อภาคธนาคารพาณิชย์ล้มเหลว เผย ผลคะแนนของรัฐบาล 3 เดือนแรกแค่เกรดซี แนะรัฐเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง-แทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนประมาณ 35-36บาท/เหรียญ ด้าน “ทนง” เตือนรมว.คลังแบ่งงบรอบสองให้ดีไม่งั้นพรรคร่วมพาร่วง ขณะที่ “ชัยอนันต์” ชี้หากแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ทุกอย่างไม่จบอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
(ASTVผู้จัดการรายวัน 11 พฤษภาคม 2552)
ธปท.คาดเลวร้ายสุดจีดีพี-5% ปัจจัยการเมืองศก.โลกรุนแรง
กนง.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจใหม่ คาดจีดีพีปีนี้ติดลบ 1.5-3.5% จากปัญหาการเมืองยืดเยื้อกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยว ส่วนมูลค่าการส่งออกติดลบ 24-5-27.5% เหตุเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเดี้ยง อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ -1 ถึง 1% แต่หากการเมืองเกิดเหตุรุนแรงและเศรษฐกิจโลกยังทรุดหนัก จีดีพีไทยอาจติดลบ 4-5% แนวโน้มภาคครัวเรือนตกงาน-หนี้เสียเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 23 เมษายน 2552)
เวิลด์แบงก์หนุนรัฐอัดฉีดเงินกู้ศก.
เวิลด์แบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ -2.7% และอาจดิ่งลงถึง -4.9%ได้หากเศรษฐกิจทรุดต่อ-การเมืองรุนแรง ยาหอมรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจถูกทาง ทันการณ์ และปริมาณหนี้สาธารณะยังรับได้กับมาตรการเพิ่มได้อีก แต่เตือนต้องคุมการขาดดุลงบประมาณในปีต่อๆไปไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก หวั่นถล้ำลึก หนี้สาธารณะท่วม
(ผู้จัดการรายวัน 8 เมษายน 2552)
ธุรกิจไทยขาดสภาพคล่อง
โพลล์ชี้ธุรกิจไทยขาดสภาพคล่องหนัก หลังส่งออกวูบ ยอดขายหด แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ คาดประคองธุรกิจให้เดินหน้าได้อีกแค่ 8 เดือน หากไม่ได้รับการเยียวยา มีโอกาสปลดคนงานเพิ่มขึ้น หอการค้าไทยร้องรัฐซ้ำอีกรอบ เร่งแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องด่วน
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2552)
คลังขอกู้เต็มเพดาน9.4หมื่นล้านเร่งผ่อนเกณฑ์เบิกจ่ายงบฯ-จ่ายผู้รับเหมา15%
คลังโหมใช้จ่ายภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ "ประดิษฐ์" เผยอังคารหน้าคลังเสนอ ครม.ขอกู้อีก 9.4 หมื่นล้าน ชดเชยรายได้ที่จัดเก็บได้น้อยกว่ารายจ่าย ขณะที่ "พฤฒิชัย" ชง ครม. แพ็คเก็จเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 52 ผ่อนคลายระเบียบพัสดุ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างคล่องตัวขึ้น ผ่อนผันผู้รับเหมาเบิกจ่ายเงินล่วงหน้าได้ 15% เผยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา มียอดเบิกจ่าย 8.27 แสนล้าน สูงกว่าเป้าหมายแค่ 1.05% ขณะที่รายจ่ายเพื่อการลงทุนมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 3.83%
(ผู้จัดการรายวัน 2 เมษายน 2552)
เงินเฟ้อเดือนมี.ค.ติดลบ0.2% “พาณิชย์”ยันไม่มีสัญญาณเงินฝืด
“พาณิชย์”เผยเงินเฟ้อเดือนมี.ค.ลดลง 0.2% ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 3 แต่ยืนยันไม่เกิดภาวะเงินฝืด นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมี.ค.2552 อยู่ที่ระดับ 103.6 ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2551 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
(ผู้จัดการรายวัน 2 เมษายน 2552)