เล็งลดจีดีพีเหลือ 3.5 ธปท.โต้ 2.8% มั่วนิ่ม
แบงก์ชาติเล็งปรับลดประมาณการจีดีพีจาก 4.5-5.5% เหลือ 3.5-4.5% แต่ยังมั่นใจเศรษฐกิจไทยไม่ซ้ำรอยวิกฤต ปี 40 เหตุมีเงินลงทุนจากต่างประเทศในระยะยาว บวกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะกลับมาเฟื่องอีก เผย 5 เดือนแรกแม้ไทยขาดดุล การค้า 6.6 พันล้านเหรียญเพราะยังไม่ลอยตัวน้ำมันทำให้ประชาชน ไม่ประหยัดเท่าที่ควร "สุรนันทน์" โต้ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นที่ตกต่ำของ ม.หอการค้าฯสวนทางความจริง ชี้เป็นผลสำรวจก่อนรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 18 กรกฎาคม 2548)
ดอกเบี้ยแพง-เงินเฟ้อพุ่ง แผนเร่งศก.มีผลทางอ้อม
"ศุภวุฒิ สายเชื้อ" คาดช่วงไตรมาส 3 นี้ ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากพิษลอยตัวน้ำมันดีเซลเต็มรัก หวั่นมาตรการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ-ราคาสินค้าแข่งกันปรับราคา ดันเงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด มีผลดึงดอกเบี้ยขึ้นสูงเหมือนอดีต ขณะที่ "หม่อมอุ๋ย" เชื่อนโยบายดอกเบี้ยสูงสกัดเงินเฟ้อเริ่มทำงาน ย้ำถึงเวลาดอกเบี้ยขาขึ้น-บรรเทาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งติดลบ ด้านแบงก์พาณิชย์ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ "โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" ระบุ บัวหลวงยังไม่ปรับเหตุสภาพคล่องยังมีสูง
(ผู้จัดการรายวัน 15 กรกฎาคม 2548)
บบส.ผวาเอ็นพีแอลรอบ 2 สั่งฝ่ายประนอมหนี้เช็กฐานะธุรกิจหวั่นกระทบทั้งระบบ
ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยลบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ทยอยขยับขึ้น โดยเฉพาะทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูง ทำให้ต้องออกมาตรการดูดสภาพคล่องผ่านการออกพันธบัตรหลายแสนล้านบาท จะยิ่งเป็นแรงกดดันต่อสถาบันการเงินในการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพื่อสกัดมิให้สินเชื่อเหล่านี้กลายเป็นหนี้ไหลย้อนกลับ (เอ็นพีแอล) รอบสอง
(ผู้จัดการรายวัน 12 กรกฎาคม 2548)
เศรษฐกิจ "ตกท้องช้าง" ยาว แบงก์ผวา NPL-ชะลอปล่อยกู้
เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังตกภาวะท้องช้างนาน เหตุแนวโน้มดอกเบี้ยปรับขึ้น-ราคาน้ำมันสูงกำลังกดดันให้หนี้เสียเพิ่มขึ้นจากความสามารถลูกค้าในการชำระหนี้สถาบันการเงินที่ลดลง เผยแบงก์รัดเข็มขัดไม่ปล่อยกู้ ธุรกิจขาดสภาพคล่อง จับตาอสังหาฯ กระทบหนัก เผยยอดสินเชื่อก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการรีไฟแนนซ์หนี้เดิม แฉตัวเลขเศรษฐกิจ 5 เดือนแรก ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 4,672 ล้านเหรียญ
(ผู้จัดการรายวัน 11 กรกฎาคม 2548)
ดัชนีภาคอุตฯต่ำสุดรอบ32เดือน น้ำมันขึ้นไม่หยุดกำลังซื้อหดตัว
พิษน้ำมันฉุดดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมต่ำสุดเป็นประวัติการณ์หรือในรอบ 32 เดือน นับตั้งแต่จัดทำดัชนี วิตกดีเซลปรับขึ้น ฟันธงดัชนีเชื่อมั่นตลอดครึ่งปีหลังจะต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเหตุน้ำมันยังไม่มีวี่แววลดลง ผวาแรงซื้อครึ่งปีหลังต่ำหนัก คนไทยเริ่มบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโตผิดปกติชี้สัญญาณแรงซื้อเริ่มหดตัว ชี้ศก.ไทยขึ้น 3 ปัจจัย 1. ราคาน้ำมัน 2. การท่องเที่ยว 3.แรงซื้อในประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 29 มิถุนายน 2548)
กูรูระดับโลกสอนมวยรัฐ
นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อก้อง "ดร.เอ็ดวาร์ด เพรสคอทท์" แนะรัฐบาลไม่ควรใช้นโยบายการเงิน-การคลัง ลด-แลก-แจก-แถม ด้านภาษี ทุ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจให้โต ควรหันมาเน้นความสำคัญการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต พัฒนาเทคโนโลยีแทน ระบุนโยบายคลังควรทำเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
(ผู้จัดการรายวัน 17 มิถุนายน 2548)
"อีลิท"เล็งร่วมทุนโปรเจกต์สมาชิกเศรษฐีอินเดียทุ่ม 600 ล้านผุดร.ร.
โชคศิริ ฟุ้งสมาชิกอีลิทแห่สนใจลงทุนธุรกิจในประเทศไทย ล่าสุดสมาชิกชาวอินเดีย เล็งเทเงินกว่า 600 ล้านบาท ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และโรงเรียนนานาชาติ แย้มไต๋ ถ้าธุรกิจใดน่าสนใจจะขอร่วมลงทุนด้วย ขณะเดียวกันลุยทำตลาดสร้างภาพไม่หยุด จับมือเอไอเอสทุ่ม 25 ล้าน จัดสัมมนา "Asia Leadership Forum" ดึงนักธุรกิจชั้นนำระดับโลก เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิด คาดเงินสะพัด 100 ล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 7 มิถุนายน 2548)
ครุกแมนเตือนภัยศก. ฟองสบู่มะกันแตกฉุดมูลค่าสินทรัพย์เอเชีย
พอล ครุกแมน ระบุเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจเอเชีย เพราะจะส่งผลให้ค่าเงินลด ทำให้ชาติเอเชียที่สะสมทรัพย์สินเป็นดอลลาร์ สูญเสียความความมั่งคั่ง เตือนหนี้ครัวเรือนและบัตรเครดิตไทยน่าห่วงกว่าหนี้สาธารณะ
(ผู้จัดการรายวัน 18 พฤษภาคม 2548)
ธปท.เล็งปรับเป้าศก.ส่งซิกรัฐเร่งกระตุ้น
ผู้ว่าแบงก์ชาติส่งสัญญาณปรับนโยบายการเงิน เหตุน้ำมันแพงและภัยแล้ง ชี้ต้องประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยใหม่ ยอมรับแทรกแซงบาท ตั้งใจให้บาทอ่อนเพื่อสนันสนุนการส่งออกให้ขยายตัวได้ 20% ตามเป้าของรัฐ หวังการลงทุนภาคเอกชนป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ชี้หากยังขยายตัวไม่ดี ธปท.จะเร่งให้รัฐบาลลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 19 เมษายน 2548)
ผ่าตัดใหญ่รัฐวิสาหกิจ การเมืองคุมเบ็ดเสร็จ
ผ่าตัดใหญ่รัฐวิสาหกิจได้ข้อสรุปตั้ง "ซูเปอร์โฮลดิ้ง" เป็นเจ้าภาพกลาง คลังถือหุ้น 100% เต็ม มีนายกฯนั่งเป็นประธานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแห่งชาติคุมระดับบน เน้นกำกับด้านการเงิน-ลงทุนสนับสนุนเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล พร้อมจัดรัฐวิสาหกิจเป็นคลัสเตอร์ มีซับโฮลดิ้งคอยกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน เชื่อสามารถดัน 2 รัฐวิสาหกิจ "กสท-ทศท" เข้าตลาด Q3 ปีนี้
(ผู้จัดการรายวัน 17 กุมภาพันธ์ 2548)