แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจก.ค.ชะลอตัว เกินดุลบัญชีเดินสะพัด169ล้านดอลลาร์
แบงก์ชาติเผยตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.ค. ชะลอตัวลง เหตุหลายปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า แต่เสถียรภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการปรับตัวดีขึ้นทั้งดุลการค้าและดุลบริการ คาดเศรษฐกิจครึ่งปี หลังขยายตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรกจาก การส่งออกและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมเผยขอเวลาอีก 1-2 เดือน ก่อนจะพิจารณาทบทวนตัวเลข จีดีพีใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 1 กันยายน 2548)
คลังลดเป้าจีดีพีเหลือ4.1% ผวาขาดดุลบัญชี5พันล.$
คลังปรับลดจีดีพีอีกรอบ ทั้งปีหดเหลือ 4.1-4.6% จากเดิมประมาณการไว้ที่ระดับ 4.6-5.1% ปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมันยังพุ่งสูงต่อเนื่อง และจีดีพีไตรมาสแรกชะลอตัว เกิดจากหลายปัจจัยที่เป็นซัปพลายช็อก ขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอาจสูงถึง 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.8% ของจีดีพี ด้านแบงก์ชาติ หนุนกระทรวงการคลังปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่ เพื่อสอดคล้องกับความเป็นจริง
(ผู้จัดการรายวัน 31 สิงหาคม 2548)
คลังโชว์เศรษฐกิจก.ค.กระเตื้อง นำเข้าลดเหลือ20%ทำดุลการค้าดีขึ้น
คลัง เผยดัชนีเศรษฐกิจเดือนก.ค. กระเตื้อง ตัวเลขการส่งออกขยายตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้าลดลงเหลือแค่ 20% ส่งผลให้ขาดดุลการค้าลดฮวบ ส่วนทุนสำรองฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 4.84 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แม้เงินเฟ้อเดือน ก.ค.พุ่งกระฉูดถึง 5.3% หลังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 31 สิงหาคม 2548)
เล็งรีดภาษีสุราตามดีกรีเหล้านอกเฮ-ไทยอ่วม!
"ทักษิณ" เตรียมปรับโครงสร้างภาษีสุราในประเทศ ส่อเก็บตามความแรงของดีกรแอลกอฮอล์ เหล้าไทยอ่วมภาษีคงเดิม ขณะที่สุรา ต่างประเทศภาษีลดฮวบ "ทนง" ยันไม่อุ้มกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง-รัฐไม่สูญรายได้ อ้างอยากให้ผู้บริโภคได้เหล้าที่มีคุณภาพ สั่งทีมเศรษฐกิจเตรียมประชุมกับนายกฯอีกครั้ง 2 ก.ย. เน้นการแก้หนี้ภาคประชาชน ยืนเสียงแข็งคงวงเงิน เมกะโปรเจกต์ 1.7 ล้านล้าน พร้อมลุยกู้ต่างประเทศ เล็งเสนอ ครม.อนุมัติยกเลิกภาษีนำเข้าเอ็นจีวี 3 ปี ขณะที่วางกรอบปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เน้นพลังงานน้ำ เมกะโปรเจกต์ ก่อนเสนอ ครม.สัญจรที่พังงา
(ผู้จัดการรายวัน 30 สิงหาคม 2548)
BBLเชื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงสุดปลายปีนี้ คาดดุลบัญชีทั้งปีติดลบ4-6พันล้านเหรียญ
ศูนย์วิเคราะห์ เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ ประเมินภาวะราคาน้ำมันดิบที่ยังพุ่งสูงเฉียด 70 เหรียญต่อบาร์เรล มาจากดีมานด์ในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น เชื่อแตะระดับสูงสุดปลายปีนี้ พร้อมคาดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครึ่งปี หลังของไทยขาดดุลลดลง ทั้งปีจะติดลบ 4,000-6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีดีพีโตระดับ 3.5-4%
(ผู้จัดการรายวัน 29 สิงหาคม 2548)
ธุรกิจคาดศก.ปีนี้โตจิ๊บจ๊อย2.5-3.5%
ภาคธุรกิจ 64.7% คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โตแค่ 2.5-3.5% เหตุน้ำมันแพงและเจอปัญหา เศรษฐกิจในประเทศ ชี้เศรษฐกิจจะถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 และจะเริ่มดีขึ้นในไตรมาสที่ 4
(ผู้จัดการรายวัน 19 สิงหาคม 2548)
ชี้โปรโมชันยาวฆ่าแบรนด์ทางอ้อม เศรษฐกิจตกส่งผลลอยัลตี้ต่ำต้องลุยนอกกรอบ
"เอ็มดีเค" ชี้เศรษฐกิจชะลอ ตัวพ่นพิษ ผู้ผลิตแห่ทำโปรโมชัน โกยยอดขาย ให้เข้าเป้าแต่เมินการสร้างแบรนด์ กระทบความภักดีตราสินค้าสู่ยุคตกต่ำ ผู้บริโภคไทยใจง่าย ตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อผลประโยชน์ กรณีศึกษา "โออิชิ" โปรโมชันแรงแต่ทำร้ายแบรนด์ แนะยุทธศาสตร์การตลาดนอกกรอบ ฝ่าวิกฤตโตอย่างก้าวกระโดด
(ผู้จัดการรายวัน 19 สิงหาคม 2548)
ภัทรลดเป้าจีดีพีเหลือ3.4%แนะลงทุนตลาดหุ้น-เงินปันผลสูงกว่า44%
บล.ภัทร มองเศรษฐกิจไทยปีนี้โตแค่ 3.4% ต่ำกว่าคาดการณ์ของแบงก์ชาติที่ระดับ 3.5-4.5% พร้อมระบุอีก 3-5 ปีข้างหน้า จีดีพีมีโอกาสโตได้ 6% ภายใต้การส่งออก นำเข้าสมดุลกันที่ 15-16% ส่วนปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 3.6 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ด้านตลาดหุ้นไทยยังน่าลงทุน เหตุผลตอบแทนด้านเงินปันผลสูงถึง 44% แต่พี/อี เรโช ต่ำเพียง 7 เท่า โดยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง และพลังงาน
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2548)
แฉเหตุไทยเจ๊งFTA รัฐคิดเองทำเอง-เน้นสร้างภาพ
เวทีสัมมนา WTO Watch อัดรัฐบาลไร้มาตรการเตือนภัยผลดีผลเสียจากการทำเอฟทีเอ ส่งผลให้คนไทยได้ไม่คุ้มเสีย จวกใช้นโยบายการตลาดมากกว่านโยบายทางเศรษฐกิจ มุ่งกระแสแต่เมินคุณภาพของการผลิตและการแข่งขัน ส่งผลขาดดุลการค้าเพิ่ม เพราะเปิดรับสินค้าเข้า ไม่มีสินค้าออก แนะประชาสัมพันธ์บอกประชาชนมากขึ้น เผยแนวโน้มสหรัฐฯ ใช้เวทีเอฟทีเอเรียกร้องสิ่งที่ตนเองต้องการ ก่อนบีบสมาชิก WTO รับต่อไป "สมคิด" โต้พวกวิจารณ์ไม่รู้ข้อมูลจริง ยันไทยจะได้ประโยชน์ในระยะยาว พิลึกอ้างหากไม่นับนำเข้าทองคำ เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลียถือว่าได้ดุล
(ผู้จัดการรายวัน 9 สิงหาคม 2548)
ศก.ซบยอดคำสั่งซื้อลดฮวบ
พิษลอยตัวดีเซลกระทบภาคอุตสาหกรรมอย่างหนัก ดัชนีความเชื่อมั่นเดือน มิ.ย.ทำสถิติ ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เผยเจอภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำยอดสั่งซื้อสินค้าลดฮวบ ยอดขายอืด ธุรกิจชะลอลงทุน ขณะที่รัฐบาลไฟลนก้น นำเข้าพุ่งไม่หยุดส่อเค้า ทำขาดดุลการค้าอย่างหนัก "สมคิด" นัดหน่วยงาน กำกับดูแลเศรษฐกิจทั้งหมด ถกนำมาตรการคุมนำเข้าสินค้ารายตัวมาใช้วันนี้ เล็งออกมาตรการพิเศษเฉพาะ น้ำมัน
(ผู้จัดการรายวัน 28 กรกฎาคม 2548)