หวั่นสหรัฐฯสบู่แตกศก.โลกอืด
"ศุภวุฒิ" เชื่อเศรษฐกิจไทย-โลก ชะลอถึงปีหน้าชี้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำอีกครั้งหลังสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน คาดอัตราดอกเบี้ยปี 49 อยู่ที่ 4% เงินเฟ้อระดับ 3-4% ย้ำจับตาเศรษฐกิจสหรัฐฯและการขึ้นดอกเบี้ยในภาวะ ขาดดุลงบประมาณ ระวังส่งผลภาวะ ฟองสบู่แตก ขณะที่ไทยต้องเร่งการลงทุนภาคเอกชน ระบุดอกเบี้ย อาร์พีปีนี้อยู่ที่ 3.75% และ 4-4.5% ในปีหน้า ด้าน "ก้องเกียรติ" เชื่อจะมีการย้ายเงินลงทุนเพื่อลดความ เสี่ยงจากความขัดแย้งจากประเทศ ผู้นำชี้ต้องเร่งเพิ่มมูลค่าส่งออก
(ผู้จัดการรายวัน 7 ตุลาคม 2548)
เงินเฟ้อก.ย.พุ่งพรวด6%ทำสถิติสูงสุดรอบ83ด.
เงินเฟ้อ ก.ย.พุ่งกระฉูด 6% สูงสุดในรอบ 83 เดือน "พาณิชย์" แจงเหตุน้ำมันตัวเดียวที่มีผลทำให้เงินเฟ้อพุ่ง ส่วนในรอบ 9 เดือนเงินเฟ้อแตะระดับ 4% แล้ว "การุณ" เลิกทำนายเงินเฟ้อทั้งปี เหตุน้ำมันไร้ทิศทาง แต่ยังเชื่อไม่น่าเกิน 4.2% เผยเงินเฟ้อระดับนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะเคยสูงมาก กว่านี้ในช่วงวิกฤต เล็งกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม สกัดพ่อค้าโขกผู้บริโภค ส่วนสินค้าใดอยากขึ้นราคาต้องแจงต้นทุน ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท. คาดเงินเฟ้อไตรมาส 4 แตะ 6 % เหตุน้ำมันกดดัน เชื่อปีหน้าลดแน่
(ผู้จัดการรายวัน 4 ตุลาคม 2548)
"เซียน"ยาหอมไทยยังแกร่ง ผู้บริโภคเร่งออมเงินหวั่นภาวะทรุด
"เซียน" ธุรกิจชี้เศรษฐกิจโลกปีจอชะลอตัว หลังพบค่าเฉลี่ยความมั่นใจทั่วโลกหด ส่วนอนาคตไทยอีก 12 เดือนส่อแววสดใส โชว์มีปัจจัยบวกหนุน นำร่องเมกะโปรเจกต์ 1.7 ล้านล้านบาท พ่วงต่างประเทศตบเท้าลงทุนโดยตรง 1.74 แสนล้านบาท หนุนเศรษฐกิจไทยโต 5.2% ปี 49 ยานยนต์-ท่องเที่ยว ส่งออกรุ่ง "เอซีนีลเส็น" ชี้ คนไทยกังวลภาวะเศรษฐกิจ เร่งออมเงินติดอันดับ 9 ในเอเชีย พร้อมซบอกซื้อสินค้าเฮาส์แบรนด์ติดอันดับ 7 เพราะมองว่าคุ้มค่าเงิน
(ผู้จัดการรายวัน 4 ตุลาคม 2548)
เตือนธุรกิจติดบ่วงปันจีดีพี
นักเศรษฐศาสตร์ฉงนรัฐรวมศูนย์ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจ หวั่นลากเอกชนเข้าไปติดบ่วงมายาภาพของรัฐบาลที่พยายามปั้นตัวเลขจีดีพีให้ขยายตัวในระดับสูง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ส่งผลให้เอกชนเร่งขยายกำลังการผลิต การลงทุน ชี้ภาคเอกชนจำเป็นต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบที่หลากหลายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนปัญหาตัวเลขคาดการณ์ที่แตกต่างกันระหว่าง "ธปท.-สภาพัฒน์-สศค." ภาคเอกชนรับได้ เนื่องจากมีฐานการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน
(ผู้จัดการรายวัน 3 ตุลาคม 2548)
จี้รัฐรื้อนโยบายรับมือค้าเสรี ไม่ปรับตัวอีก2ปีก้าวสู่วิกฤต
ผ่าทางตันอุตสาหกรรมไทยนโยบายรัฐต้องปรับเปลี่ยน รับมือให้ทันกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะ FTA หวั่น ขาดดุลฯเพิ่มมากขึ้นเหตุไทยไม่ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ นโยบายพัฒนาเครื่องจักรและโลหการที่เป็นต้นทุนอุตฯทั้งระบบในอดีตพลาดทำให้ต้องนับหนึ่งใหม่ เอกชนจี้ใช้จังหวะนี้เร่งปรับตัวหวั่น 2 ปีจะลำบาก ชี้แนวโน้ม ดบ.น้ำมัน ค่าแรง เงินเฟ้อขยับเพิ่มทุกด้าน เตือนส่งเสริมอุตฯโตเร็วต้องระวังเรื่องย้ายฐานผลิต
(ผู้จัดการรายวัน 30 กันยายน 2548)
น้ำมันแพง - ดอกเบี้ยขาขึ้น ทำเศรษฐกิจใต้ซบเซาต่อเนื่อง
แบงก์ชาติ สำนักงานภาคใต้ ชี้เศรษฐกิจใต้ยังซบเซาต่อเนื่อง เผยปริมาณนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังไม่กระเตื้อง ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ลดการบริโภค และภาคเอกชนชะลอลงทุน เหตุจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลกระทบต่อเนื่องจาก เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ รวมถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงและดอกเบี้ยขาขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 19 กันยายน 2548)
เงินบาทอยู่ที่40.90-41.35 บาท/ดอลล์
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานภาวะตลาดเงินในรอบในสัปดาห์นี้ (19-23 กันยายน 2548) ว่า ตลาดเงินคงจะจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯในวันที่ 20 กันยายน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า เฟดคงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ 3.75% ด้วยความเป็นไปได้มากกว่า 80% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้คาดว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นคงจะไม่เปลี่ยนแปลงมากจากกรอบความเคลื่อนไหว ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ผู้จัดการรายวัน 19 กันยายน 2548)
ปชช.อ่วมแบงก์รัฐจ่อขึ้นดบ.
แบงก์เฉพาะกิจของรัฐซ้ำเติมประชาชน พร้อมใจปรับอัตราดอกเบี้ยตามธนาคารพาณิชย์ หลังแบงก์ชาติปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.5% กรุงไทยเล็งขยับดอกเบี้ยทั้งสองขาเท่า 5 แบงก์ใหญ่ ขณะที่ออมสินคาดปรับ 0.25-0.5% ส่วน ธ.ก.ส.ชี้ อาจตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ได้ถึง ต.ค.นี้ ด้านค่าเงินบาทแข็งค่าตามเงินญี่ปุ่นทะลุ 40.90 บาทต่อดอลลาร์ หลังพรรครัฐบาลของนายจุนอิชิโร โคอิซูมิ ชนะการเลือกตั้ง
(ผู้จัดการรายวัน 13 กันยายน 2548)
ทหารไทยคาดจีดีพีไตรมาส2โต3.4% น้ำมันพุ่งหนุนขาดดุลฯ4.7พันล.ดอลล์
ธนาคารทหารไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ขยายตัว 3.4% เหตุได้รับปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนเกือบ 44% กดดันขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพุ่ง 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภาพรวมทั้งปีคงเป้าจีดีพีไว้ที่ระดับ 3.4%
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2548)