กังวลความเชื่อมั่นนักลงทุน ธปท.ปรับจีดีพีใหม่แค่4.75%
แบงก์ชาติปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี 49 จาก 4.5-6.0 มาอยู่ที่ 4.75-5.75% ยกเหตุ "ส่งออกขยายตัว-ลงทุนภาคเอกชนเพิ่ม"ช่วยขับเคลื่อน ออกตัวว่าอาจจะได้แค่กรอบขั้นต่ำ 4.75% ด้านปัจจัยเสี่ยงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้นกว่าที่คาด ส่วนอัตราเงินเฟ้อลดอยู่ที่ 3.5-5.0% เหตุเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวจากราคาน้ำมัน และเงินบาทแข็งค่า
(ผู้จัดการรายวัน 31 มกราคม 2549)
คลังตีปี๊บจีดีพีปีจอขยายตัวเกิน5% เหตุส่งออกเพิ่ม-ราคาน้ำมันชะลอ
กระทรวงการคลังยันจีดีพีปี 49 โตอย่างต่ำ 5% ระบุราคา น้ำมันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 8% เทียบ กับปี 48 ที่เพิ่มจากปี 47 เกือบ 50% ขณะที่สินค้าทุนประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า ธ.ค. ปี 48 ขยายตัวถึง 89% เชื่อดันส่งออก ปีนี้เติบโตดีกว่าปีก่อนแน่ ส่วน ภาวะเศรษฐกิจปี 48 ยังขยายตัวดีทั้งด้านอุปสงค์-อุปทาน คาดทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 4.3% แน่นอน
(ผู้จัดการรายวัน 31 มกราคม 2549)
ธปท.เล็งปรับจีดีพีเพิ่มเงินตปท.ทะลักเกินเป้า
แบงก์ชาติเล็งปรับเป้าจีดีพีปี 49 เพิ่มเป็น 5-6% จากเดิมประเมินไว้ 4.5-6% หลังเงินเฟ้อลดแรงกดดัน ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่อง ดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยดีกว่าประเมินไว้ เตรียมจับตาสถานการณ์ภัยแล้งรอบใหม่อย่างใกล้ชิด คาดปีนี้จะมีเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดเงินของไทยทะลุเป้า ย้ำจะติดตามดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสม
(ผู้จัดการรายวัน 30 มกราคม 2549)
จับตา"ตระกูลชินวัตร"ลุยธุรกิจรพ. หวังเข้าเสียบแทนที่ธุรกิจโรงแรม
จับตาตระกูล ชินวัตรรุกธุรกิจโรงพยาบาล หลังปิดดีลชินคอร์ปกับเทมาเส็กเพื่อเข้ามาแทนที่ธุรกิจโรงแรม คนวงการเชื่อแค่ดอกเบี้ยจากการขายหุ้น 7 หมื่นล้านบาท ที่ตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท และเป็นเม็ดเงินที่สามารถทำธุรกิจโรงพยาบาลได้ เพราะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ
(ผู้จัดการรายวัน 24 มกราคม 2549)
หม่อมอุ๋ยโล่งดีลชินคอร์ปจบ เชื่อบาทหยุดแข็งค่า-ชี้แนวต้าน38.85
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติยันค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพดี หลังการซื้อ ขายหุ้นชินคอร์ปจบ ปัจจัยกดดันไม่มีอีก ด้านผู้เชี่ยวชาญหวั่นสัปดาห์นี้ยัง มีสิทธิเห็นค่าเงิน 38.85 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนแบงก์ชาติจะเข้าแทรกแซง ขณะที่ค่าเงินวานนี้ แข็งสุดแตะ 39 บาทต่อดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 24 มกราคม 2549)
ขุนคลังลั่นปีหมาจีดีพี5.5 สวัสดิ์เตือนระวังน้ำมัน
"ทนง" ชี้เศรษฐกิจปีจอโต 5-5.5% แต่มีข้อแม้เอกชนร่วมมือกับรัฐและราคาน้ำมันโลกไม่เกิน 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชี้ปี 49 เป็นปีหมาไทย ต้องมีจ่าฝูง มั่นใจแก้ไขความยากจนเป็นระบบ "โฆสิต" แนะภาคธุรกิจเอกชนเหนื่อยขึ้น พื้นฐานต้องแกร่ง "สวัสดิ์" จี้รัฐเร่งพัฒนาระบบลอจิสติกส์ลดต้นทุนขนส่ง พร้อมสวนขุนคลัง ราคาน้ำมันมีสิทธิ์แตะ 80 ดอลลาร์ หากยูเอ็นคว่ำบาตรอิหร่าน ขณะที่ราคา น้ำมันโลกวานนี้พุ่งเกือบถึง 67 ดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 19 มกราคม 2549)
"อุ๋ย"ส่งสัญญาณขึ้นอาร์พี กังวลน้ำมันปัจจัยเสี่ยงศก.
หม่อมอุ๋ยส่งสัญญาณขึ้นอาร์/พีอีก 0.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน 18 ม.ค.นี้ เชื่อเศรษฐกิจปี 49 ขยายตัวได้ถึง 5% การส่งออกเป็นตัวนำแนะรัฐบาลวางยุทธศาสตร์ ประหยัดพลังงาน-ลดการนำเข้า เหตุน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจปีนี้
(ผู้จัดการรายวัน 17 มกราคม 2549)
SCBเตือนปัจจัยเสี่ยง49 ดบ.ขึ้น-บาทผันผวน-ศก.สหรัฐฯขาดดุล
ธนาคารไทยพาณิชย์เตรียมปรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้อีก 0.25% เผยครึ่งปีแรกดอกเบี้ยทยอยปรับต่อเนื่องถึง 1% ส่วนเงินบาทผันผวน คาดภายใน 3 เดือนแข็งค่าถึง 38.75 บาทต่อดอลลาร์ แนะลูกค้าวางแผนรับมือดอกเบี้ยด้วยการบริหารต้นทุน ระบุโครงการเมกะโปรเจกต์ทำไม่ทันตามกำหนด เผยปัจจัยเสี่ยงปี 2549 ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯขาดดุล ราคาน้ำมันแพง ดอกเบี้ยขาขึ้นและเงินเฟ้อยังไม่ลดลง ย้ำเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯกระทบระบบแบงก์และอัตราแลกเปลี่ยน
(ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2549)
คลังเน้นลงทุน-ปรับโครงสร้างศก. กระตุ้นจีดีพีโต 6% ตามเป้ารัฐบาล
กระทรวงการคลังเสนอนโยบายการคลังปี49 ให้นายกฯ เน้นกระตุ้นลงทุน-ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพ พร้อมออก มาตรการเสริมสนองนายกฯในวันที่ 11 ม.ค.นี้ หนุนจีดีพีโตตามเป้า 6% "ทนง" เชื่อปีนี้ เป็นปีทองของอุตฯชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-รถยนต์ หลังปรับโครงสร้าง ภาษีพร้อมการันตีเศรษฐกิจโตได้ 5-6% เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4% ได้
(ผู้จัดการรายวัน 6 มกราคม 2549)
น้ำมัน-ดอกเบี้ย-การเมือง ปัจจัยศก.2549ฟื้นไม่ฟื้น...
หากจะกล่าวถึงเศรษฐกิจปี 2548 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะนึกถึงภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากปัจจัยลบต่างๆ ที่รุมเร้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ทั้งมหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ที่สร้างความเสียหายให้กับหลายธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาจนถึงวิกฤตราคาน้ำมันแพงจากผลของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปี 2547 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อเนื่องให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก รวมถึงปัญหาภัยแล้ง ที่รุนแรง และยาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ ปัญหาความไม่สงบบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศที่ยืดเยื้อก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาไข้หวัดนกที่กลับมาแพร่ระบาดรอบ 2 ซ้ำร้ายยังส่งผลต่อการส่งออกไก่สด แช่แข็งของไทยด้วย เมื่อประกอบกับการอุตสาหกรรมส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เกิดปัญหาชะลอตัว เพราะเข้าสู่วัฏจักรช่วงขาลงอิเล็กทรอนิกส์โลก จึงทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยในครึ่งแรกของปีไม่สวยหรู
(ผู้จัดการรายวัน 3 มกราคม 2549)