พฤติกรรมคนกรุงฯเปลี่ยนไม่มั่นใจอนาคตลดบันเทิง26%
ผลวิจัย”ThaiView 4” ชี้การเมืองพ่นพิษความเชื่อมั่นเศรษฐกิจคนกรุงลดฮวบ กระทบทัศนคติ-ไลฟ์สไตล์คนกรุงเปลี่ยนไป รับภาวะค่าครองชีพ-สาธารณูปโภคพุ่ง โหมงานหนักหวั่นหน้าที่การงานไม่มั่นคง งดกิจกรรมค่าใช้จ่ายสูงเมินชอปปิ้ง-ท่องเที่ยว-ดูหนัง ลุกฮือสนใจการเมืองหลังตระหนักเป็นผลพวงลูกโซ่เชื่อมโยงเศรษฐกิจแย่ ระบุต้องการนายกฯคนใหม่ซื่อสัตย์ โปร่งใส เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
(ผู้จัดการรายวัน 25 เมษายน 2549)
คลังโอ่ค่าบาทแข็งไม่กระทบ ขึ้น 1 บาทฉุดจีดีพีแค่0.29%
สศค.มิงโลกในแง่ดี มองค่าเงินบาทยังอยู่ในกรอบที่ปนะเมินไว้ 38.8-40.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่กระทบส่งออก เตรียมลุยศึกษาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรายตัว เผยผลศึกษากรณีค่าเงินแข็งค่าหลุดกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าแข็งเกินกรอบ 1 บาท ฉุดจีดีพีลด 0.29% ส่งออกฮวบ0.2% ดันนำเข้าพุ่ง0.38%แต่เงินเฟ้อลดลง0.5% ครึ่งปีหลังคาดอัตราเฟ้อลดลง
(ผู้จัดการรายวัน 20 เมษายน 2549)
BOT แทรกดันบาทเด้งบาท คลังถกหม่อมอุ๋ยสัปดาห์หน้า
"ทนง พิทยะ" เตรียมเรียกหม่อมอุ๋ยถกค่าบาท หลังสงกรานต์เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ค่าเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสม นักค้าเงินเชื่อแบงก์ชาติเข้าแทรกแซง หลังบาทแตะ 37.93 บาทต่อดอลลาร์ ระบุเป็นผล จากการแข็งค่าตามเงินในภูมิภาค ก่อนเด้งขึ้นปิดในระดับใกล้เคียง
(ผู้จัดการรายวัน 12 เมษายน 2549)
ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% บาทแข็งรอบ 7 ปี - ส่งออกเจ๊ง
แบงก์ชาติปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% นับเป็นครั้งที่ 12 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นต่อ จนกว่าเงินเฟ้อลดและดอกเบี้ยแท้จริงเป็นบวก ด้าน"ไทยพาณิชย์" ปรับตามทันควัน ขณะที่เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง วานนี้แตะ 37.98 บาท/ดอลลาร์ หรือแข็งสุดในรอบ 7 ปี นักค้าเงินคาดมีโอกาสถึง 37 บาทต่อดอลลาร์ ธปท.ประกาศดูแลค่าบาทไม่ให้กระทบการส่งออก ด้านผู้ส่งออกครวญค่าบาทแข็งทำขาดทุนยับ ทั้งสินค้าเครื่องนุ่งห่ม อาหารทะเล ข้าว ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 11 เมษายน 2549)
ขุนคลังฟุ้งปีนี้จีดีพีโต5-6%อุ๋ยพร้อมรับการเมืองป่วน
"ทนง พิทยะ" ยอมรับปัญหาการเมืองกระทบเศรษฐกิจ แต่ยังมั่นใจจีดีพี 5-6% เหตุพื้นฐานแข็งแกร่ง อ้างนักลงทุนต่างชาติลงตลาดหุ้น 2 เดือน 9 หมื่นล้าน ครวญจำเป็นต้องเลื่อนลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ด้านผู้ว่าฯ แบงก์ชาติเผยทำใจรับสภาพการเมืองยืดเยื้อหลังเลือกตั้งโดยเน้นรักษาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2549)
คลังเร่งอุดช่องโหว่ถังแตกกยศ.ผวาระบบเบิกเงินป่วน
กระทรวงการคลังเร่งแก้ถังแตก กรมบัญชีกลางปรับระเบียบเบิกจ่าย กยศ. มั่นใจไม่กระทบนักศึกษากู้เรียน ด้านผอ.กยศ. ชี้ยังไม่รู้อนาคต หวั่นถ้าแก้ระเบียบแล้วจ่ายเงินให้ไม่ทันวุ่นวายแน่ ขณะที่การยุบกองทุนเงินนอกงบประมาณยังไม่พบมีการเคลื่อนไหว ลุ้นยอดจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสัปดาห์นี้
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2549)
คลังปลื้มดุลการค้าแนวโน้มดีขึ้น
คลังแจ้งตัวเลขส่งออก-นำเข้าสินค้าขยายตัว 22.9% และ 19.0% ตามลำดับ สูงกว่าประมาณการณ์ ระบุตัวเลขบ่งชี้ว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมั่นคงในระดับน่าพอใจ "นริศ" เผยผลสัมมนาผู้บริหารระดับสูงเอซีดีพบการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นเว้นญี่ปุ่นขยายตัวถึง 48% ของจีดีพี พร้อมเสนอลดควบคุมด้านบัญชีทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ขณะที่ภาคเอกชนแนะให้กระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 29 มีนาคม 2549)
ตีกันคลังออกตั๋วแก้ถังแตก
"พิเชษฐ" ชำแหละคลังถังแตกรอบใหม่ เกิดจากรัฐบาลทักษิณขาดวินัย ใช้เงินล่วงหน้าทำประชานิยม ล้วงงบแปรรูปรสก. จับตากรณี กฟผ. รัฐอาจถ่วงเวลาคืนเงินค่าหุ้นพนักงาน ขณะที่เลือกตั้งต้องใช้งบ 2-3 พันล้านยังลูกผีลูกคน ตีกันรัฐบาลไม่ควรออกตั๋วเงินคงคลังเพิ่มเพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ นักวิชาการแนะต้องเหลือเงินคงคลังเพื่อใช้ 3 เดือน ไม่ใช่ 14 วัน
(ผู้จัดการรายวัน 28 มีนาคม 2549)
การเมืองฉุดจีดีพีปีนี้เหลือ3.2%
นักวิชาการประเมินการเมืองยืดเยื้อ ฉุดจีดีพีประเทศปีนี้เหลือ 3.2% เหตุโครงการเมกะโปรเจกต์ การลงทุนและการท่องเที่ยวจะชะลอตัวหมด แนะ "ทักษิณ"เว้นวรรค ไปเคลียร์ตัวเองให้จบก่อน
(ผู้จัดการรายวัน 22 มีนาคม 2549)