ธปท.ยอมรับเงินเฟ้อหลุดเป้ารอตัวเลขพ.ค.ก่อนปรับแผน
หม่อมอุ๋ยยอมรับเงินเฟ้อกระทรวงพาณิชย์เดือน เม.ย. 6% สูงกว่าคาดการณ์ของแบงก์ชาติ ระบุต้องติดตามเดือนต่อๆ ไปอีกครั้งก่อนปรับนโยบายที่เหมาะสม ยันยังไม่น่าห่วง เพราะเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนประมาณการแบงก์ชาติครั้งล่าสุดภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันดิบดูไบ 61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4-5%
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2549)
ธปท.จับตาหนี้ครัวเรือนช่วงดบ.ขึ้นหวั่นกระทบความสามารถชำระ หนี้
แบงก์ชาติ จับตาหนี้ภาคครัวเรือน หลังดอกเบี้ยปรับตัวในช่วงขาขึ้น หวั่นกระทบความสามารถในการชำระหนี้ ชี้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลยังเพิ่มสูง ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลกระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มีแนวโน้มเติบโตต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 2 พฤษภาคม 2549)
สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค...ลดจับจ่ายรับวิกฤตน้ำมันแพง
ในภาวะที่ราคาน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงหลากหลายธุรกิจอันเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สำรวจ "พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนกรุงเทพฯ" ในระหว่างวันที่ 10-23 เมษายน 2549 จากกลุ่ม ตัวอย่าง 505 คน โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกเจาะจงเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่บ้านหรือผู้มีหน้าที่จับจ่ายสินค้าอุปโภค/บริโภคของแต่ละครัวเรือน กระจายกลุ่มตัวอย่างตามอายุและรายได้ของครัวเรือน ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้มีส่วนทำให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่แตกต่างกัน...
(ผู้จัดการรายวัน 1 พฤษภาคม 2549)
คลังรับสภาพศก.ปีนี้ไม่รุ่ง เตือนประชาชนรัดเข็มขัด
...ภาพความชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงต่อไป เริ่มมีความ ชัดเจนขึ้นภายหลังที่นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกมายอมรับว่าเศรษฐกิจปีนี้อาจจะโตไม่ถึง 5% และสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) ก็ออกมารับลูกในทันทีว่าจะมีการทบทวนเป้าหมายเศรษฐกิจปีนี้ในเดือนหน้า (พฤษภาคม) หลังจากที่ยืนกรานคงเป้าเศรษฐกิจเดิมที่ 4.5-5.5% มาตลอดไตรมาสแรกของปีนี้ ท่ามกลางเสียงคลางแคลงใจของสำนักวิจัยต่างๆ ว่าถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายนั้น...
(ผู้จัดการรายวัน 1 เมษายน 2549)
สศค.เล็งลดเป้าจีดีพี0.5%
สศค.เตรียมปรับลดเป้าจีดีพีหลังแบงก์ชาติได้ปรับลดไปแล้ว 0.5% ระบุราคาน้ำมัน-ค่าเงินบาท-เงินเฟ้อเป็นปัจจัยกดดัน เชื่อกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อ 3 ศาลช่วยสถานการณ์ทุกอย่างจบเร็ว
(ผู้จัดการรายวัน 1 พฤษภาคม 2549)
อุ๋ยสารภาพแทรกแซงบาทตั้งแต่พ.ย.48-แฉเงินร้อนทะลัก4.4แสนล้าน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทตั้งแต่ค่าเงินบาท และเงินในสกุลภูมิภาคเอเชียเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่เดือน พ.ย.2548 ที่ผ่านมาหรือนานกว่า 5 เดือน โดยการแทรกแซงครั้งนี้ถือว่าเป็นช่วงที่หนักที่สุด เพราะแรงกดดันจากเงินทุนตามนโยบายของสหรัฐมาอย่างรุนแรง และรวดเร็วกว่าทุกครั้ง
(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2549)
ชะลอ "ใช้จ่าย-ลงทุน" สุมไฟวิกฤต แบงก์ชาติปรับลดจีดีพีเหลือ4.25%
แบงก์ชาติปรับลดประมาณการ เศรษฐกิจปีนี้เหลือ 4.25-5.25% จากปัญหาการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวกลางมรสุมน้ำมันแพง-ดอกเบี้ยขาขึ้น เผยลดประมาณการการใช้จ่ายของภาคเอกชนลงเหลือ 3.5-4.5% และลดการลงทุนของภาคเอกชนเหลือ 7.5-8.5% พร้อมปรับลดสัดส่วนการลงทุนของภาครัฐปีนี้ 26,600 ล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 27 เมษายน 2549)
สมคิดรับน้ำมันกระทบศก.เอกชนวอนรัฐอุ้มSMEs
"สมคิด"เปรยยอมรับความจริงปัจจัยลบ"น้ำมัน-การเมือง"กระทบเศรษฐกิจ แนะรัฐบาลดูแลเงินคงคลังให้เหมาะสมหลังภาษีรายได้หลังลด ระบุจีดีพีโตเท่าไหร่ไม่สำคัญขอแค่ให้โตขึ้นพอ ขณะที่"ประเสริฐ" เผยหากเกิดสงครามขึ้น น้ำมันทะลุ 100 เหรียญแน่นอน ด้านก้องเกียรติ ชี้ภาครัฐ-เอกชนต้องสร้างความน่าสนใจดึงเม็ดเงินต่างชาติลงทุนเพิ่ม เตรียมปรับเป้าดัชนีตลาดหุ้นปีนี้ลดลง "สภาอุตฯ" วอนรัฐช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลาง-เล็กต่อสู้ภาวะการแข่งขัน
(ผู้จัดการรายวัน 27 เมษายน 2549)
ฟิทช์ปรับเป้าจีดีพีไทยลดเหลือ4.3%ชี้น้ำมันแพงกระทบขาดดุลเดินสะพัด
ฟิทช์ เรตติ้งคาดจีดีพีไทยปี 49 ลดฮวบเหลือ 4.3% จากประมาณการที่ 5% พร้อมให้เครดิตไทยที่ระดับ A- ระบุเหตุความวุ่นวายทางการเมืองส่งผลกระทบเศรษฐกิจ เผยหากเมกะโปรเจกต์ล่าช้าส่งผลให้งบประมาณเกินดุลได้ถึง 0.3% ของจีดีพี ขณะที่ราคาน้ำมันกระทบดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเป็นครั้งแรกจากปี 2541 ถึง 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.1% ของจีดีพี
(ผู้จัดการรายวัน 27 เมษายน 2549)
น้ำมันพุ่ง-บาทแข็ง-ดอกเบี้ยขาขึ้น เศรษฐกิจไทยปี49 ทรุดยาว
ในช่วงปลายสัปดาห์นี้...เป็นช่วงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนมีนาคมหรือไตรมาสแรกของปี 2549 ออกมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่หลายๆฝ่ายจับตามอง...เพราะนอกจากจะทำให้เห็นภาพในช่วงที่ผ่านมาได้อย่างชัดเจนขึ้นแล้ว ยังจะช่วยให้สามารถประเมินภาพเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีได้ในอีกระดับหนึ่งด้วย...
(ผู้จัดการรายวัน 26 เมษายน 2549)