Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ248  
Positioning44  
ผู้จัดการรายวัน435  
ผู้จัดการรายสัปดาห์131  
PR News522  
Total 1249  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Economics


ผู้จัดการรายวัน (271 - 280 of 435 items)
BTคาดเศรษฐกิจปี50โต3.1-4.1% สำนักวิจัยไทยธนาคารประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจปี 50 ขยายตัว 3.1-4.1% ชะลอตัวจากปี 49 เล็กน้อย โดยภาคการส่งออกจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยจะลดลงตามราคาน้ำมัน ทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพที่ดีขึ้น(ผู้จัดการรายวัน 2 ตุลาคม 2549)
คลังรับลูกคปค.เตรียมปรับเพิ่มจีดีพี นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างทบทวนตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีใหม่ ภายหลังที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เข้ามาควบคุมสถานการณ์ ทำให้มีการจัดทำงบประมาณปี 2550 มีความชัดเจนและรวดเร็วขึ้น(ผู้จัดการรายวัน 28 กันยายน 2549)
ธปท.นำร่องประเมินศก.ปีหน้าใหม่ย้ำค่าบาท-ตลาดหุ้นคืนสู่สภาวะปกติ แบงก์ชาติเตรียมประเมินภาพรวมเศรษฐกิจปีหน้าใหม่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 18 ตุลาคมนี้ ระบุสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงหลังมีการปฏิรูปการเมืองของคปค. ปัจจัยหลักเป็นส่วนของงบประมาณปี 50 ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะจัดทำ-เบิกจ่ายได้เร็วกว่าที่กำหนด ยันสถานการณ์ค่าบาท-ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และไม่มีเงินทุนไหลออกอย่างผิดปกติ(ผู้จัดการรายวัน 26 กันยายน 2549)
อุ๋ยโล่งอกค่าบาทสู่ปกติ "หม่อมอุ๋ย" โล่งตลาดเงิน-ตลาดทุนไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รัฐประหารมากนัก ตลาดหุ้นลดลงแค่ 9.99 จุด หรือ 1.4% ในวันแรกหลังเปิดทำการ ขณะที่ค่าเงินบาทกลับคืนสู่ระดับปกติแล้วโดยไม่ได้มีการแทรกแซงจากทางการ ระบุเป็นสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง และจะเติบโตได้ดีขึ้นหลังมีรัฐบาลชุดใหม่ ย้ำผู้นำประเทศต้องมีคุณธรรมนำหน้า(ผู้จัดการรายวัน 22 กันยายน 2549)
เอกชนประคองธุรกิจในภาวะเสี่ยง อีเว้นท์เลื่อนเป็นแถว-เบรกเปิดตัวสินค้าใหม่ จากกรณีการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลรักษาการภายใต้การบริหารของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาทั้งในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจทั่วไป ในฟากธุรกิจของเอกชนต่างก็มีการเฝ้าจับตามองว่า ผลจะลงเอยอย่างไร ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ในจังหวะนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การประคองธุรกิจให้อยู่รอด ท่ามกลางความผันแปรของตลาด(ผู้จัดการรายวัน 21 กันยายน 2549)
เศรษฐกิจปีหน้าโตต่ำสุดรอบ 5 ปีบัวหลวงชี้ปัจจัยนอก-ในยังไม่เอื้อ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคแบงก์กรุงเทพคาดเศรษฐกิจปี 50 โต 3-4% ลดลงจาก 4.3% ในปีนี้และต่ำสุดตั้งแต่ 44 ระบุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศยังไม่เอื้อ โดยการใช้จ่ายงบประมาณที่ล่าช้าจะทำให้เม็ดเงินลงทุนภาครัฐขยายตัวไม่ถึง 2%(ผู้จัดการรายวัน 14 กันยายน 2549)
ยอด NPL ไตรมาส 2 เพิ่ม 2 หมื่นล้าน ภาคอุตฯ-อุปโภคบริโภคครองแชมป์ ธปท.เผย ยอดเอ็นพีแอลแยกตามประเภทธุรกิจ ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 หมื่นล้านบาท โดยเอ็นพีแอลทุกประเภทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก โดยกลุ่มรีเอ็นทรีมียอดหนี้เอ็นพีแอลพุ่งสูงถึง 70% โดยเฉพาะภาคการเงินเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นถึง 462.89%(ผู้จัดการรายวัน 7 กันยายน 2549)
การเมืองฉุดจีดีพีตกฟิทซ์ลดศก.ไทยตามหลังคู่แข่งในเอเชีย " ฟิตช์ เรตติ้งส์ "บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ระบุ ความปั่นป่วนผันผวนทางการเมือง และการส่งออกซึ่งกำลังอ่อนปวกเปียก ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศไทยมีอัตราเติบโตตามหลังคู่แข่งในเอเชียด้วยกันด้านนายแบงก์ประสานเสียง ปีหน้าปรับลดดอกเบี้ย 0.25-0.5 % พร้อมสินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัว ฟันธง ประชุมกนง.หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ มองเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เริ่มมีแรงกดดันน้อยลง(ผู้จัดการรายวัน 6 กันยายน 2549)
“อุ๋ย” ส่งสัญญาณคงดบ.เปิดทางนโยบายการคลังดูแลเศรษฐกิจ “หม่อมอุ๋ย”ยันยังไม่คิดปรับลดนโยบายดอกเบี้ย ย้ำเงินเฟ้อลดเดือนเดียวยังไม่ใช่สัญญาณที่ชัดเจน ต้องขอเวลาดูอีกระยะก่อนตัดสินใจ รับคลังตั้งงบประมาณขาดดุลเป็นช่วงที่เหมาะสม แต่ไม่ควรเกิน 2%ของจีดีพี ระบุเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะใช้นโยบายการคลัง ด้านคลังเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ-เอกชนหารือภาวะเศรษฐกิจทุกไตรมาส ขณะที่ภาคเอกชนขอภาครัฐวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ(ผู้จัดการรายวัน 5 กันยายน 2549)
หวั่นเศรษฐกิจซบยาวถึงปีหน้าแนะเร่งใช้เงินรสก.โปะงบปี50 สศช.เผยจีดีพีไตรมาส 2 ปี 49 โต 4.9% ลดลงจาก 6.1%ในไตรมาสแรก ระบุการใช้จ่าย-บริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนยังน่าเป็นห่วง ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเริ่มกระทบภาคส่งออก พร้อมปรับประมาณปี 49 เหลือ 4.2-4.7% แนะต้องเร่งเบิกจ่ายเงินงบรัฐวิสาหกิจที่เหลือเพื่อชดเชยความล่าช้างบฯปี 50(ผู้จัดการรายวัน 5 กันยายน 2549)

Page: ..21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 ..





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us