'หยวน' ขยายแบนด์ฉุดบาทแข็งค่า คาดปลายปีแตะ34/ธปท.คิดหนักเลิกสำรอง30%
ชี้ผลกระทบจีนขยายช่วงการขึ้นลงของค่าเงินหยวนจาก 0.3% เป็น 0.5% อาจทำให้แนวโน้มเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องเมื่อรวมกับปัจจัยหนุนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย คาดมีสิทธิ์แตะ 34 บาทในปลายปีนี้ ระบุทำให้การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%ทำได้ลำบากยิ่งขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 22 พฤษภาคม 2550)
คลังเผย7เดือนแรกขาดดุล2.17ล้าน
สศค.เผยฐานะการคลังช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550 ขาดดุล 217,349 ล้านบาท ระบุการขาดดุลสะท้อนถึงบทบาทนโยบายการคลังในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คาดไตรมาสหลังของปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้มากกว่ารายจ่าย ส่งผลการขาดดุลการคลังมีจำนวนใกล้เคียงกับวงเงินขาดดุลงบประมาณที่กำหนดไว้
(ผู้จัดการรายวัน 16 พฤษภาคม 2550)
คลังคาดทั้งปีรายได้หลุดเป้า1-1.5%
คลังเผยยอดจัดเก็บรายได้เดือนเมษาฯหลุดเป้า 8.8 พันล้าน ฉุดยอดขาดดุล 7 เดือนแรกของปีงบประมาณต่ำกว่าเป้าเฉียด 7 พันล้าน เหตุรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ไม่ทัน และสรรพสามิตรายได้หดหลังประกาศลดภาษีโทรคมนาคมเหลือ 0% ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่กระเตื้อง คาดทั้งปีพลาดเป้า 1-1.5%
(ผู้จัดการรายวัน 10 พฤษภาคม 2550)
ธปท.เผยผลสำรวจนักธุรกิจแหยงลงทุนหวั่นการเมืองร้อนแรง-บาทแข็งซ้ำเติม
แบงก์ชาติออกรายงานแนวโน้มธุรกิจไตรมาสแรก เผยผู้ประกอบการยังกังวลใน 3 เรื่องหลัก "ภาคการเมืองที่ไม่ชัดเจน-สถานการณ์ความรุนแรง3จังหวัดภาคใต้" "ความผันผวนค่าเงินบาท" และ"ความชัดเจน-ต่อเนื่องของนโยบายรัฐ" ฟุ้งเศรษฐกิจครึ่งปีหลังอุปสงค์ในประเทศจะขยายตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นที่กลับคืน ขณะที่ภาคส่งออกยังเป็นแรงหนุนหลัก หลังไตรมาสแรกโตเกินคาด ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไตรมาสแรกเศรษฐกิจโต 3% จากแรงฮึดภาคส่งออก
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2550)
ขุนคลังเกาไม่ถูกที่คัน-ศก.ไร้อนาคต
เกาเหลาลามหน่วยงานรัฐ เศรษฐกิจไทยไร้อนาคต เผย สศค.เตรียมนำมาตรการพยุงเศรษฐกิจแถลงต่อ สนช. 15 พ.ค. แต่ คศร.ไม่ให้ความสำคัญ อ้างแต่ละกระทรวงทำอยู่แล้ว คนคลังสอน "ฉลองภพ" ใช้นโยบายการเงินด้วยการให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย-เลิกมาตรการ 30% แทนมุ่งแต่ให้แบงก์เฉพาะกิจปล่อยกู้ ทั้งๆ ที่ไม่มีโครงการใหม่ จับตาอัตราการว่างงานพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 30 เมษายน 2550)
ธปท.หั่นจีดีพีเหลือ3.8 "บริโภค-ลงทุน"ทรุด
วานนี้ (24 เม.ย.) นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2550 ลงอีก 0.2% ทำให้จีดีพีล่าสุดเหลือเพียง 3.8-4.8% จากเดิมอยู่ที่ระดับ 4-5% เนื่องจากการลงทุนและการบริโภคชะลอตัวลงกว่าที่ กนง.คาดการณ์ไว้ แต่ กนง.เชื่อว่าจะมีการใช้จ่ายทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เป็นผลมาจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองปรับตัวดีขึ้น และจะช่วยกระตุ้นให้การลงทุนฟื้นตัวได้ในไตรมาสแรกของปี 2551
(ผู้จัดการรายวัน 25 เมษายน 2550)
การเมืองกดดันดัชนีหุ้นจี้รัฐฯกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา สมาคมฯได้มีการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ ถึงแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงปลายเดือนเมษายน-ธันวาคม 2550 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันและข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาล
(ผู้จัดการรายวัน 25 เมษายน 2550)
ชี้ลดอาร์พี0.50%ยังไม่พอกระตุ้นศก. ลุ้นกนง.ประชุมนัดหน้าขยับลงอีกระลอก
แบงก์-นักวิชาการมั่นใจกนง.ปรับอาร์พีลงอีก 0.50% หนุนภาวะเศรษฐกิจชะลอ ขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลง จับตาประชุม กนง.นัดต่อไปเดือน พ.ค.มีลุ้นปรับลงต่อ 0.25% ด้านนักวิชาการชี้ลดดอกเบี้ยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความผันผวนค่าเงิน ดึงความเชื่อมั่นภาคเอกชนกลับสู่การลงทุน
(ผู้จัดการรายวัน 9 เมษายน 2550)
ฟิทช์ปรับมุมมองTBANK หลัง"สโกเทีย"เข้าร่วมทุน
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ได้ประกาศเครดิตพินิจภายใต้การพิจารณา (Rating Watch Evolving) แก่อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวที่ A-(tha)อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2(tha) และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ 5 ของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (TCAP) รวมทั้งอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A-(tha) อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2(tha) อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ D และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ 5 ของ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK)
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2550)
รวมหัวก่อหนี้4แสนล้าน"ฉลองภพ-ธปท."อุ้มบาท
นายฉลองภพ สุสังกรณ์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยื่นขออนุญาตกระทรวงการคลังออกพันธบัตรจำนวน 400,000 ล้านบาทคงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจาก ธปท.จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการบริหารจัดการในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่อย่างไรก็ตามต้องพิจารณารายละเอียดประกอบการยื่นขอเพิ่มวงเงินด้วย เนื่องจากไม่ต้องการให้การออกพันธบัตรมีต้นทุนสูงเกินไป
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2550)