รูดปื๊ด"ตปท.พุ่ง"สวนศก.รุมฟันกำไรส่วนต่างบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.ได้ประกาศยอดคงค้างการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า แม้ปริมาณและยอดสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้นตามโปรโมชัน ที่ผู้ประกอบการพยายามกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น แต่เนื่องด้วยเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งลดลงเกือบทุกประเภทในการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ การเบิกเงินสดล่วงหน้า ยกเว้นเพียงปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ ที่แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ก็ได้รับอานิสงส์จากเงินบาทแข็งค่า ทำให้คนไทยหันไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 15 สิงหาคม 2550)
ธปท.เตือนภัยบาทผันผวน-ยันปี 51 เหตุ ศก.มะกันป่วน
“ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ” หวั่นเศรษฐกิจสหรัฐทรุดอาจเป็นปัจจัยกดดันบาทกลับมาแข็งค่าได้อีก ฟันธงค่าเงินผันผวนยาวถึงปีหน้า ผู้ประกอบการต้องเร่งทำประกันความเสี่ยง-ปรับพอร์ตดอลลาร์ ปลื้มผลงานปี 49 บริหารบาทขาดทุนแค่ 1.7 แสนล้าน ทั้งๆ ที่น่าจะขาดทุน 2.9 แสนล้าน “ณรงค์ชัย” แนะเพิ่มผู้ช่วยรัฐมนตรีรุ่นใหม่ช่วยงานก่อนส่งออกเจ๊ง พาณิชย์เล็งชงรัฐตั้งกองทุนหนุนธุรกิจไทยลงทุนต่างประเทศ เอกชนโอดเสียงเดียวกันที่ผ่านมารัฐโดดเดี่ยวค่าบาทแข็ง 1-2 เดือน ขอดูมาตรการรัฐที่ออกไปคุมบาทได้หรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 2 สิงหาคม 2550)
ลุ้น6มาตรการแก้บาทแข็งได้ผลเตือนธปท.-เอกชนหาทางรับมือระยะยาว
"บัวหลวง"หวัง 6 มาตรการช่วยสถานการณ์ค่าบาทดีขึ้น ระบุช่วยเพิ่มอุปสงค์เงินดอลลาร์-สร้างสมดุลใตนตลาดเงิน ศูนย์วิจัยกสิกรฯชี้การปรับตัวอ่อนค่าลงของเงินบาทหลังออกมาตรการแค่ผลทางจิตวิทยา แต่ผลในทางรูปธรรมยังประเมินไม่ได้ชัดเจน เตือนต้องมีมาตรการต่อเนื่องปัจจัยหนุนให้บาทแข็งยังมี คาดแบงก์ชาติยังไม่ยกเลิกกันสำรอง 30%หวั่นค่าบาทผันผวนหนักคุมไม่อยู่
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2550)
คลังโวมิ.ย.ปรับหนี้ตปท.ฉลุยคืนเจบิกเร็วขึ้น-ลดดอกเบี้ย1.8พันล้าน
สบน.โชว์ฝีมือปรับโครงสร้างหนี้เดือน มิ.ย.50 จ่ายหนี้คืนเจบิกก่อนกำหนดกว่าหมื่นล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้กว่า 1.8 พันล้านบาท ขณะที่ 9 เดือนแรกของปีงบฯ สามารถลดยอดหนี้คงค้าง 2.8 หมื่นล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ย 2.3 พันล้านบาท เผยภาครัฐก่อหนี้รวม 1.9 แสนล้านบาท ดันหนี้สาธารณะเพิ่มเล็กน้อยมาอยู่ที่ 38.24% ของจีดีพี
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2550)
"บิ๊กแอ้ด" รับ 6 ข้อเสนอแก้บาทแข็ง-ตั้งกองทุน 5 พันล.อุ้มเอสเอ็มอี-ส่งออก
"โฆสิต-ฉลองภพ" จูงมือ "ธาริษา" รายงานสถานการณ์ค่าบาท "บิ๊กแอ้ด" เช้าวันนี้ เผยนายกฯ ยอมรับข้อเสนอของภาคเอกชน 6 ข้อ ชี้บางมาตรการประกาศใช้ทันที ส่วนมาตรการที่เหลือเตรียมนำเข้า ครม.อังคารหน้า ล่าสุด เตรียมจัดตั้งกองทุน 5 พันล. ช่วนเหลือผู้ประกอบการ "เอสเอ็มอี-ส่งออก"
(ผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2550)
ปลดล็อกบาทอุ้มส่งออก-"แอ้ด"ไฟเขียว ครม.
ฝ่ายเศรษฐกิจรัฐบาลขิงแก่รับข้อเสนอแก้บาทแข็งทั้งแพ็คเกจของภาคเอกชน 3 สถาบัน เหลือแค่มาตรการ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่แบงก์ชาติขอไว้ ถึงมือนายกฯ วันนี้ เข้า ครม.อังคารหน้า แบงก์ชาติเปิดทางให้เอกชนถือครองดอลลาร์ได้ 100,000 ดอลลาร์ ช่วยผ่อนคลายผู้ส่งออก และลดต้นทุนสุดๆ เงินบาทวานนี้ทรงตัวที่ 33.50 รอมาตรการแก้ปัญหาคลอดก่อน ส่วน ส.อ.ท. ชงวงเงินประเดิมจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี 5 พันล้านบาท เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ 23 ก.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2550)
ฉลองภพเชื่อศก.ฟื้นดันจัดเก็บรายได้รสก.หนุนต่ำเป้าไม่เกิน2%
ขุนคลังแจงกรรมาธิการฯ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯปี 51 มั่นใจทิศทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ทำให้จัดเก็บรายได้ในปี 50 นี้ ได้ตามเป้า ชี้แม้ไอเอเอส39 และภาษีโทรคมนาคม 0% ฉุดการจัดเก็บแต่รัฐจะได้รายได้จากรัฐวิสาหกิจ ด้านโฆษกกระทรวงคลังระบุหากต่ำเป้าจะไม่เกิน 2% เผย 9 เดือนแรกทำเกินเป้า 0.4%
(ผู้จัดการรายวัน 10 กรกฎาคม 2550)
ฟันธงศก.ปีหน้าโต5-6%
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย มองเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตสวนกระแส 5-6% หลังการเมืองนิ่ง มีการเลือกตั้ง ส่งออกโต การลงทุนฟื้น พร้อมขยับเป้าเศรษฐกิจปีนี้เป็น 4-4.5% แนะธปท.คุมเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เหตุแข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาทกระทบเศรษฐกิจ 0.2-0.3%
(ผู้จัดการรายวัน 6 กรกฎาคม 2550)
ย้อนรอย10ปีวิกฤติเศรษฐกิจไทยเก็งกำไรบาท-หนี้นอกทำระบบพัง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยย้อนรอย 10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจไทย ระบุสาเหตุจากการปล่อยให้เกิดการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขาดความยืดหยุ่น และการก่อหนี้ต่างประเทศที่ขาดความสมดุล ขณะที่ความท้าทายในปัจจุบันแบงก์ชาติต้องดำเนินเการพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทท่ามกลางกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่างๆทั่วโลก และเร่งบริหารทุนสำรองของประเทศเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(ผู้จัดการรายวัน 29 มิถุนายน 2550)
ปลุก ASEAN+3 ผนึกทุนสำรองต้าน"ต้มยำกุ้ง"
“ขุนคลัง”เผยหนทางรอดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ ไม่ซ้ำรอย “ต้มยำกุ้งดีซิส” ประเทศ ASEAN+3 ต้องใช้จุดแข็งด้วยการร่วมมือกันบริหารทุนสำรอง 3 ล้านล้านดอลลาร์ ให้มีประสิทธิภาพ รักษาเสถียรภาพการเงินรับมือความผันผวนตลาดเงินตลาดทุนที่รุนแรงขึ้น พร้อมเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้หลากหลายต้านปัจจัยเสี่ยงก่อนที่ปัญหาลุกลามจนแก้ไขไม่ได้ แนะคนไทยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเกราะป้องกันชั้นดี
(ผู้จัดการรายวัน 27 มิถุนายน 2550)