ดัชนีเชื่อมั่นดิ่งต่อเนื่อง10 ด.หวั่นศก.ซึม
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. ยังดิ่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 หลังคนยังกังวลสถานการณ์ต่างๆ ทั้งบาทแข็ง การว่างงาน ค่าครองชีพพุ่ง แต่มองอนาคตดีขึ้น เหตุจะมีการเลือกตั้งปลายปี แนะรัฐบาลใช้จังหวะนี้กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนส่งไม้ต่อให้รัฐบาลใหม่ ไม่เช่นนั้น เศรษฐกิจไทยซึมยาวแน่
(ผู้จัดการรายวัน 14 กันยายน 2550)
NPLไตรมาส2เพิ่ม2.7หมื่นล้านแบงก์ชาติกัดฟันไม่กระทบศก.
แบงก์ชาติระบุยอดเอ็นพีแอลใหม่ไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้นกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1% ของยอดสินเชื่อรวมทั้งระบบเท่านั้น ยันยังไม่ส่งผลกระทบเพราะฐานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยสูงถึง 14% เผยห่วงสินเชื่อรายย่อยมากกว่าสถาบันเพราะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 12 กันยายน 2550)
"เศรษฐพุฒิ"ชี้ปัจจัยลบจ่อถล่มศก.ไทยเพียบ
"เศรษฐพุฒิ" ชี้สารพัดปัจจัยลบรอถล่มเศรษฐกิจไทยเพียบแม้จะไม่ถึงขั้นวิกฤต ทั้งรายได้ค่าจ้างที่โตเพียง 1.3% ในขณะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2.2% สะท้อนการใช้จ่ายภาคประชาชนลดลงแน่ ขณะที่ห่วงเอกชนไม่กล้าลงทุนหลังการลงทุนเดือนก.ค.ติดลบ 3% วิพากษ์งบประมาณขาดดุล 1.65 แสนล้านบาท เหลือกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 5 พันล้านบาทที่เหลือเป็นการจ่ายดอกเบี้ยใช้เงินต้น ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าห่วงเชื่อกระทบศก.ทั่วโลก
(ผู้จัดการรายวัน 10 กันยายน 2550)
เอกชนไม่เชื่อเลือกตั้งดันกำลังซื้อฟื้นแค่จุดสตาร์ทรับข่าวดีอัดแคมเปญชิงยอดขาย
ส่องกำลังซื้อ 4 เดือนโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งไม่ได้เป็นตัวชี้วัดกำลังซื้อฟื้นหรือไม่ “พิพัฒ” ระบุเลือกตั้งเป็นภาพลวงตา แนวโน้มการตลาดแข่งดุสู่ช่วงเวลาขายจริง วงการมีเดียชี้เจ้าของสินค้าแห่ตัดงบยันไม่คึกคัก เอกชนท่องเที่ยว ระบุยอดนักท่องเที่ยวภายในประเทศไม่โต ขณะที่เครือสหพัฒน์ มั่นใจเลือกตั้ง เป็นเครื่องออกแรงกำลังซื้อฟื้น ด้าน”โฮมเวิร์ค” อัด 80 ล้านบาท ส่งแคมเปญรับกำลังซื้อพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 5 กันยายน 2550)
สศช.-ธปท.ตีปี๊บจีดีพีปีนี้โต 4.5 เปอร์เซ็นต์
“เสือคล้อย” สภาพัฒน์คงประมาณการณ์เศรษฐกิจปี 50 ขยายตัว 4.0-4.5 เปอร์เซ็นต์ จากภาคส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ แต่ยอมรับกังวลปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน เผยวันนี้ชง ครม.เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านแบงก์ชาติเชื่อครึ่งปีหลังจีดีพีขยายตัว 4.5 เปอร์เซ็นต์ กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือน ส.ค.ขยายตัว 1.1 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดรอบ 5 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 4 กันยายน 2550)
หนี้สาธารณะมิ.ย.ลด4.3หมื่นล้าน เร่งคืน"หนี้นอก"สนองนโยบายรัฐ
สบน.เผยยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิ.ย.มีจำนวนกว่า 3.17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 37.72%ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อน 4.3 หมื่นล้าน เหตุมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด 5 หมื่นล้านบาท พร้อมสนองนโยบายรัฐเร่งคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศก่อนครบกำหนดเกือบ 3 หมื่นล้านบาท และรีไฟแนนซ์เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท ระบุช่วยลดยอดหนี้คงค้างได้ 28,890 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 2,370 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 28 สิงหาคม 2550)
พิษซับไพรม์ทำเงินไหลออกกว่า8พันล.
แบงก์ชาติเผยช่วงวิกฤตซับไพรม์ 2 สัปดาห์สุดท้ายเดือนก.ค. ต่างชาติเทขายหุ้นมีเงินไหลออกจากไทยกว่า 8 พันล้าน ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี มีเงินทุนจากต่างประเทศทะลักเข้าไทย 1.16 แสนล้านบาท สูงเป็นอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย และมีแนวโน้มเงินทุนเริ่มไหลเข้าอีกระลอกหลังหลังรัฐธรรมนูญผ่าน ทำให้ทิศทางเงินบาทยังแข็งค่าต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 28 สิงหาคม 2550)
เตือนภัย NPL ไตรมาส 3 ปูด เอกชนวอนแบงก์ช่วยด่วน
เอกชนวอนรัฐบาลและสถาบันการเงินช่วยแก้เอ็นพีแอล โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ คาดไตรมาส 3 ยังไม่ฟื้น ผู้ประกอบการระวังเงินสดขาดมือ นักวิชาการเตือนรายใหม่ศึกษาตลาดก่อนลงทุน แนะควรจับมือรายเก่า-พันธมิตรลงทุนป้องร่วมกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง ขณะที่กองทุนSME 5 พันล้านติดหวัดเอ็นพีแอล ส่อแท้ง แบงก์อ้างกันสำรองหนี้เน่าเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่ม ทั้งที่ข้อตกลงมีเพียงใบรับออร์เดอร์การผลิตหรือส่งออก ส.อ.ท.ประสานสมาคมธนาคารไทยช่วยด่วน
(ผู้จัดการรายวัน 28 สิงหาคม 2550)
NPLใหม่โผล่6.4หมื่นล้าน อสังหาฯสูงสุด-อุตฯพุ่งแรง
แบงก์ชาติเผยไตรมาส 2 อสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนเอ็นพีแอลมากที่สุดในระบบถึง 15.16% ขณะที่หนี้ที่เพิ่มขึ้นเกิดลูกหนี้รายใหม่ก่อตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวถึง 63,972 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแบงก์พาณิชย์ไทย ส่วน "ยอดเพิ่มสูงสุด" อยู่ที่ธุรกิจอุตสาหกรรม 41,891 ล้านบาท หรือมีสัดส่วนเพิ่มจาก 9.92 เป็น 11.32% มีทั้งลูกหนี้ใหม่-เก่า ด้านเอ็นพีแอลรายย่อยส่อวิกฤต ความสามารถในการชำระหนี้ทรุด รวมกลุ่มแจ้งกองปรับจับ 4 แบงก์
(ผู้จัดการรายวัน 27 สิงหาคม 2550)
ศุภชัยจี้ ธปท.คุมเงินร้อนเก็งกำไรบาท - ลดพอร์ตดอลลาร์
“ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะแนวทางบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน กระจายพอร์ตเงินสกุลต่างประเทศแทนยึดติดเงินดอลลาร์เพียงสกุลเดียวป้องกันความเสี่ยง ระบุ ธปท. ควรมีมาตรการคุมเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไร ขณะนี้เครื่องมือแก้ปัญหายังมีไม่พอ สอนผู้ประกอบการไทยลงทุนเมืองนอก แทนหวังพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ชี้พลังงานทดแทนจากพืชเกษตร ทำเงินเฟ้อรุนแรงในอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 24 สิงหาคม 2550)