ธปท.แย้มขึ้นอาร์พีสกัดเงินเฟ้อ
ผู้ว่าธปท.ออกโรงแจงนโยบายการเงิน เล็งปรับขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อพุ่ง เหตุไทยดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดในภูมิภาคและดอกเบี้ยแท้จริงติดลบ ระบุทิศทางนโยบายการเงินเน้นดูแลด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ-ราคาให้สมดุล ขณะที่นโยบายการคลังช่วยพัฒนาการลงทุน ชี้เงินทุนไหลออก เหตุนักลงทุนคาดเฟดคงดอกเบี้ย พร้อมทั้งขาดความมั่นใจลงทุนในภูมิภาคเอเชีย
(ผู้จัดการรายวัน 17 มิถุนายน 2551)
คลังหวังQ4ตลาดหุ้นฟื้น-ต่างชาติยังเชื่อมั่นศก.ไทย
คลังเผยอดีตผู้บริหารแบร์ เสตอร์น เชื่อประเทศแถบเอเชียจะเป็นผู้นำผลักดันเศรษฐกิจโลกเดินหน้าต่อไปแม้จะประสบปัญหาราคาน้ำมันและสินค้าเกษตรที่ขยับขึ้นสูงแต่เชื่อทุกประเทศแก้ไขได้ ระบุไตรมาส 4 หุ้นไทยน่าจะฟื้นตัวได้ ขณะที่ผู้บริหารเอชเอสบีซีเผยยังสนลงทุนหุ้นไทยเหตุราคาถูกเมื่อเทียบกับภูมิภาค ชี้แม้มีปัญหาการเมืองแต่นักลงทุนก็เคยชินกับสภาพนี้ถือเป็นเรื่องปกติของประเทศประชาธิปไตย
(ผู้จัดการรายวัน 16 มิถุนายน 2551)
ปท.เอเชียเผชิญปัญหาเงินเฟ้อหนัก แม้รบ.ตรึงแต่คงอั้นไม่อยู่ต้องขึ้นด/บ
ประเทศแถบเอเชียกำลังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อหนักหน่วง โดยเกาหลีใต้ขึ้นสู่อัตราสูงที่สุดในรอบ 7 ปีเมื่อเดือนพฤษภาคม ส่วนไทยก็อยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบสิบปี ขณะที่อินโดนีเซียขึ้นไปเป็นตัวเลขสองหลักแล้ว นับเป็นการทดสอบครั้งหนักหน่วงที่สุดสำหรับบรรดาผู้วางนโยบายทางการเงินของภูมิภาคนี้ ตั้งแต่วิกฤตทางการเงิน "ต้มยำกุ้ง" ปี 1997-98
(ผู้จัดการรายวัน 3 มิถุนายน 2551)
เงินเฟ้อพ.ค.พุ่ง7.6%สูงสุดรอบ 10ปี กกร.จี้สมัครร่วมถกแก้ปัญหาปากท้อง
ตายแล้วคนไทย! เงินเฟ้อพ.ค.พุ่ง 7.6% สูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี “พาณิชย์” ให้เหตุผลง่ายๆ น้ำมันตัวการหลัก ทำให้ต้นทุนสินค้าต่างๆ พุ่งสูงขึ้นจนราคาพุ่งตาม “ศิริพล”ยันคงเป้าทั้งปีไว้ที่ 5-5.5% แม้ยอดรวม 5 เดือนขยับ 5.8% ไปแล้ว ขอดูสถานการณ์น้ำมันต่ออีก 2-3 เดือนค่อยว่ากันใหม่ สั่งเจ้าหน้าที่เร่งดูแลสินค้าทั้งระบบ หวังช่วยลดเงินเฟ้อ
(ผู้จัดการรายวัน 3 มิถุนายน 2551)
หวั่นไทยเกิดวิกฤตศก.รอบสอง น้ำมันแพง-ปัญหาการเมืองรุมเร้า
นักวิชาการนิด้า เตือนความขัดแย้งทางการเมืองซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย หวั่นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 ชี้โครงสร้างเศรษฐกิจยังอ่อนแอ ไม่พร้อมรับมือศึก 2 ด้านทั้งปัจจัยการเมืองและราคาน้ำมัน แนะทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันยุติความขัดแย้ง พร้อมเร่งใช้นโยบายทางการเงินผ่อนคลาย เพื่อฟื้นฟูระยะยาว มั่นใจตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้ยังโตได้ 5.5-6% ตามเป้า
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤษภาคม 2551)
ผวาน้ำมันดันเงินเฟ้อ10% สศค.รับดัชนีเชื่อมั่นลดลง
สศค.ฟุ้งภาวะเศรษฐกิจเดือนเมษายนยังขยายตัวได้ดี แต่ยอมรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มปรับลดลง ห่วง 3 ปัจจัยหลัก น้ำมัน เงินเฟ้อและการเมืองจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจ คาดเดือนหน้าหลังสรุปทิศทางราคาน้ำมันโลกเสร็จจะปรับเป้าจีดีพีใหม่อีกครั้ง หวั่นหากราคาไม่นิ่งอาจดันเงินเฟ้อไตรมาสสองทะลุหลัก 10% ได้ ขณะที่หมอเลี้ยบยังหวังเศรษฐกิจโตกว่าเงินเฟ้อ
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤษภาคม 2551)
น้ำมันแพงตัวการสำคัญทำไทยขาดดุล
หลายๆ คนคงตกใจกับการพาดหัวข่าวในช่วงไม่กี่วันมานี้ว่า ไทยขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 12 ปีบ้าง พิษน้ำมันแพงทำไทยขาดดุลการค้าบ้าง การส่งออกโตน้อยกว่าการนำเข้าบ้าง ซึ่งหากไม่ดูรายละเอียดให้ชัดเจน ก็อาจจะตกใจว่าประเทศไทยกำลังเกิดอะไรขึ้น ทำไมไทยถึงได้ขาดดุลการค้ามากมายเช่นนี้ แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรกับไทยหรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤษภาคม 2551)
น้ำมันทำขาดดุลปีนี้3แสนล้าน
น้ำมันสัปดาห์นี้เตรียมปรับขึ้นอีกระลอกโดยเฉพาะดีเซลจ่อทะลุ 38 บาทต่อลิตรหลังค่าการตลาดยังติดลบกว่า 2 บาท ด้านตลาดโลกยังผันผวนสูง ตลอดปีนี้หากราคาไม่ลดต่ำไปกว่านี้และสูงต่อเนื่องไทยเสี่ยงขาดดุลการค้าทั้งปีพุ่ง 3 แสนล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2551)
ไทยขาดดุลการค้าสูงสุดรอบ 12 ปี
ไทยขาดดุลการค้าในเดือนเม.ย. 1,808 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดในรอบ 12 ปี ผลพวงจากน้ำมันแพงกระฉูด แถมยังมีการนำเข้าทองคำอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนยอดส่งออกในรอบ 4 เดือนโต 22.2% แต่ขาดดุลรวมเฉียด 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ส.อ.ท. จี้รัฐใช้ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ "เอสโซ่"ไม่สนประชาชนเดือดร้อน ประกาศขึ้นราคาน้ำมันรายวัน โดยวันนี้ขยับขึ้นดีเซลอีก 50 สตางค์มาอยู่ที่ 36.94 บาท/ลิตร ด้านราคาน้ำมันโลกทะลุ 130 ดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 22 พฤษภาคม 2551)
้ำมันดีเซลจ่อลิตรละ 36 บ. ดัชนีเชื่อมั่นวูบรอบ 6 เดือน
ผู้ค้าน้ำมันดีเซลขยับอีก 50 สตางค์ต่อลิตรวันนี้ทุกราย เผยค่ายต่างชาติทั้งเชลล์ เอสโซ่ คาลเท็กซ์นำโด่งอยู่ที่ 35.74 บาทต่อลิตร “พูนภิรมย์” เริ่มลังเล ก.ค.นี้อาจอุ้มดีเซล 90 สต./ลิตร ต่อไป เผยคนไทยหมดหวังรัฐบาลชุดนี้ ทั้งที่คาดหวังเข้ามาช่วยกอบกู้เศรษฐกิจ ส่งผลให้ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนเม.ย.ปรับตัวลดลงทุกรายการในรอบ 6 เดือน รายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย “ธนวรรธน์” ยังไม่ฟันธงความเชื่อมั่นดิ่งเหวต่อหรือไม่ ขอจับตาดู 2-3 เดือน หากน้ำมันยังแพง รัฐแก้ปัญหาค่าครองชีพไม่ได้ การบริโภคประชาชนทรุดแน่ ด้านเอสเอ็มอีแบงก์หวั่นธุรกิจเอสเอ็มอีไทยกว่า 2 ล้านราย สูญพันธุ์
(ผู้จัดการรายวัน 16 พฤษภาคม 2551)