จี้รัฐเร่งสกัดราคาสินค้า-ค่าแรง หวั่นกระทบต้นทุนดันเงินเฟ้อพุ่ง
ธปท.หวั่นเกิดวัฎจักรของการขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าแบบไม่สิ้นสุด หรือ Wage-price spiral ระบุผู้ประกอบการมีแนวโน้มแบกรับต้นทุนได้น้อยลงจากการปรับราคาสินค้ายาก ทำให้กำไรหด แนะรัฐใช้นโยบายด้านอุปทานแก้ไขแบบเร่งด่วนในระยะยาวควบคู่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ยันแบงก์ชาติเดินถูกทางลดการคาดการณ์เงินเฟ้อไม่ให้เร่งตัวสูงเกินจริง
(ผู้จัดการรายวัน 21 กรกฎาคม 2551)
ปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจปี 51 ตลาดพังระเนระนาด
ภาคเอกชน ชี้ปัจจัยลบรุมเร้า เศรษฐกิจพ่นพิษ น้ำมันแพง กำลังซื้อหด การเมืองไม่นิ่ง กระทบ อุตสาหกรรมช็อกติดลบครั้งแรกในรอบหลายปี ตลาดนมพร้อมดื่ม เสื้อผ้าเด็ก ชุดชั้นใน เดี้ยง ความถี่ในการซื้อลดลงอัตโนมัติ ด้านธุรกิจขายตรงการเติบโตชะลอตัวลง อุปโภคบริโภคของกินของใช้ยังส่อเค้าแย่ โตได้ 5% ทุกค่ายเฮโล
(ผู้จัดการรายวัน 21 กรกฎาคม 2551)
โกร่งชี้ปีหน้าเงินตึง-บาท40 จี้ธปท.ผ่อนกฎคุมแบงก์อุ๋ยย้ำขึ้นดอกเบี้ยแก้เฟ้อ
พ้นเก้าอี้ ผู้ว่าฯ แล้วแต่ยังรักแบงก์ชาติสุดลิ่ม หม่อมอุ๋ยกางปีกป้อง กนง.ต้องขึ้นดอกเบี้ยแก้เงินเฟ้อ ขณะที่ "ดร.โกร่ง" ตัวแทนเอกชนจวกเป็นริดสีดวงแต่ใช้ยาหยอดตารักษา เตือนหากยังดื้อแพ่งขึ้นดอกเบี้ย ปีหน้าเศรษฐกิจไทยเจอภาวะเงินตึงตัว เงินบาทอ่อนค่าถึง 40 จี้ผ่อนปรนมาตรการควบคุมสถาบันการเงินก่อนหายนะ หากยังเข้มงวดเกินไปผู้ประกอบการล้ม ไม่เพียงกระทบแบงก์ แต่ "ธาริษา" ก็อาจตกเก้าอี้ผู้ว่าฯ
(ผู้จัดการรายวัน 10 กรกฎาคม 2551)
เศรษฐกิจไทยวิกฤติกว่าปี40
นายกสมาคมการขายตรงไทย ระบุเศรษฐกิจไทยปีนี้แย่และน่ากลัวกว่าวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ลั่นใกล้คล้ายซับไพร์มอเมริกา ชี้ครึ่งปีหลังกำลังซื้อผู้บริโภคซึม 2 เท่าตัวในรอบหลายปี อุตฯขายตรงโต 6-7% ต่ำกว่าเป้า ด้านนูสกิน ระบุ เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส มั่นใจคนไทยหาอาชีพที่ 2 เสริมรายได้
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2551)
บลจ.ชี้ศก.ทรงตัวมั่นใจกนง.ขึ้นดบ
ผู้บริหารบลจ.ประเมินเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังทรงตัว แม้ปัญหาราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ และการเมือง โหมรุมเร้าตั้งแต่ช่วงต้นปี เหตุตัวเลขการส่งออกด้านอาหารช่วยรองรับ พร้อมมั่นใจกนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแน่ ส่วนตลาดหุ้นรอวันฟ้าเปิด หรือภาพรวมตลาดในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น คาดทั้งปีดัชนีอยู่ที่ 900 - 950 จุด
(ผู้จัดการรายวัน 4 กรกฎาคม 2551)
ศูนย์กสิกรชี้เงินเฟ้อยังพุ่งต่อสูงสุดแตะสองหลักเดือนส.ค.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป จากแรงกดดันของต้นทุนผู้ผลิตที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชี้เงินเฟ้อเป็นตัวเลขสองหลักในเดือนสิงหาคมนี้ เป็นช่วงที่เงินเฟ้อขึ้นไปสูงสุด ส่วนทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4-8.0%
(ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2551)
โกร่งชี้ค่าบาทแตะ35เงินเฟ้อพุ่งเกิน10%
"วีรพงษ์ รามางกูร" ว่าที่รองนายกฯ ชี้อัตราเงินเฟ้อครึ่งปีหลังเกิน 10% ต่อเนื่องไปถึงปีหน้า คนไทยได้เห็นดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะมีความต้องการเงินไปหมุนเวียน ส่วนเงินออมลดลงจากการนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือลงทุน กระทุ้งแบงก์ชาติดูแลดอกเบี้ย ระบุขณะนี้เศรษฐกิจเหมือนลูกโป่งแฟบ คาดสิ้นปีบาทอ่อนค่าที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" มั่นใจครบ 11 ปี ลอยค่าบาท เศรษฐกิจไทยไม่ซ้ำรอยวิกฤติปี 40
(ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2551)
สศค.คงจีดีพี51โต5-6% ลั่นพื้นฐานศก.ไทยปึ๊ก
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแถลงการณ์คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 51 ที่ระดับ 5-6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับใหม่จาก มาอยู่ที่ 7.2% ยันแม้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นจนกดดันอัตราเงินเฟ้อต่อเนื่อง แต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังรับมือความเสี่ยงได้
(ผู้จัดการรายวัน 26 มิถุนายน 2551)
เอกชนวิตกศก.ไทยครึ่งปีหลังระส่ำรัฐบาลขาดความชัดเจนแก้ไขปัญหา
เอกชนวิตกปัญหาเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังน่าห่วงกว่าครึ่งปีแรกเหตุศก.โลกอาจชะลอตัวจากวิกฤติน้ำมัน ขณะที่ศก.ไทยต้องเผชิญแรงกดดดันทั้งน้ำมัน การเมือง มองไตรมาส 3 ศก.ซึมแน่ ชี้มาตรการกระตุ้นศก.จากรัฐบาลจะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญซึ่งปัจจุบันมองไม่เห็นชัดเจนว่าจะดูแลปัญหาได้ “กกร.”ยังคาดหวังนายกฯจะจัดสรรเวลาให้หารือด้านเศรษฐกิจอย่างเร็วสัปดาห์หน้า
(ผู้จัดการรายวัน 25 มิถุนายน 2551)
ทีดีอาร์ไอชี้น้ำมันกดจีดีพีเหลือแค่4%จี้รัฐสกัดเงินเฟ้อ
ทีดีอาร์ไอราคาน้ำมันพุ่งฉุดจีดีพีปีนี้ขยายตัวแค่ 4% แนะรัฐบาลสกัดเงินเฟ้อ ชี้หากดึงดันนโยบายประชานิยม เงินเฟ้ออาจสูงเหมือนเวียดนาม ขณะที่ รมว.คลังยังหวังได้เห็น 6% พร้อมโบ้ยพันธมิตรฯ ชุมนุมฉุดท่องเที่ยว-หุ้นตก
(ผู้จัดการรายวัน 24 มิถุนายน 2551)