ธปท.พร้อมอัดเงินสกัดวิกฤต
5 หน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจถกวิกฤตการเงินสหรัฐ ยันยังไม่มีสัญญาณกระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรง แต่พร้อมเฝ้าระวังหากลุกลาม ธปท.จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ธาริษาเผยแบงก์พาณิชย์ไทยกู้เลห์แมน 3.6 พันล้านเหรียญ (122,400 แสนล้านบาท) ลุ้นสภาคองเกรสผ่านเงินอัดฉีด 7 แสนล้านเหรียญกู้วิกฤตเลห์แมนลดผลกระทบลุกลามโลก ขณะที่ “มิ่งขวัญ” บอกห่วงวิกฤติครั้งนี้ฉุดภาคลงทุนชะลอ บิ๊กเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แจงร่วมทุนเอไอจีไร้ปัญหา
(ผู้จัดการรายวัน 26 กันยายน 2551)
บิ๊กธอส.ห่วงวิกฤตการเงินฯ
ธอส. เชื่อทรัพย์สินเลห์แมนฯ กว่าจะนำออกขายทอดตลาดได้อีกนาน แนะรอราคานิ่งค่อยซื้อ ฝากความหวังรัฐบาลใหม่เรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ พร้อมรอขุนคลังเซ็นอนุมัติดำเนินธุรกิจประกันสินเชื่อ หวั่นวิกฤตการเงินฉุดแผนซีเคียวรีไทเซชั่นเกิดยาก
(ผู้จัดการรายวัน 19 กันยายน 2551)
เงินเฟ้อส.ค.ฮวบเหลือแค่6.4%
เงินเฟ้อ ส.ค. 6.4% ลดจากเดือนก่อนที่ทำสถิติสูงสุดถึง 9.2% อ้างอานิสงส์ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ที่ช่วยลดค่าน้ำมัน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟ “พาณิชย์”ได้ทีคุยคุมเงินเฟ้ออยู่หมัด ยันยังไม่ปรับเป้าเงินเฟ้อทั้งปีจาก 5-5.5% แม้ 8 เดือนทะลุ 6.7% ไปแล้ว ด้านแบงก์ชาติยอมรับเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงกว่าที่คาด กนง.ห่วงเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันผันผวน แนะจับตาใกล้ชิด
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2551)
กสิกรฯประเมิน เศรษฐกิจหดตัว ส่งออก-ลงทุนซบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุภาพรวมเศรษฐกิจ 7 เดือนยังขยายตัวได้ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ยังขยายตัวได้สูง แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาคการลงทุนเอกชนที่ยังซบเซาเนื่องจากขาดความเชื่อมั่น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของธปท.ล่าสุดเดือนก.ค.ภาคการลงทุนยังชะลอลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2551)
คนไทยหนี้ภาคครัวเรือนพุ่ง1.3แสนบาท
คนไทยหนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนเป็นหนี้ 1.35 แสนบาท เพิ่มขึ้น 15.84% เหตุรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ทำให้ต้องกู้ยืมนอกระบบ เผยคนรายได้ต่ำกว่าเดือนละหมื่นบาทส่อแววมีปัญหามากสุด เพราะไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ อาจส่งผลกระทบต่อปัญหา NPL แบงก์ที่อาจถูกชักดาบ จี้รัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดเงินลงรากหญ้า
(ผู้จัดการรายวัน 22 สิงหาคม 2551)
ธปท.ลั่นต้องอิสระนโยบาย
แบงก์ชาติฮึดสู้ ต้านการเมืองคุกคาม รองผู้ว่าฯ ลั่นขอแค่อิสระในการใช้เครื่องมือนโยบายการเงิน ส่วนที่เหลือพร้อมให้ความร่วมมือกับคลังกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ย้ำยังเน้นดูแลปัจจัยเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ย เชื่อจีดีพีตามเป้า 4.8-5.8% ขณะที่ รมช.คลังมือใหม่นั่งไม่ติด สวนควรคุยในที่ลับ ยันต้องลดดอกเบี้ยปล่อยบาทอ่อนค่า ส่วนประชาธิปัตย์ทำงานอืดกรณีเลี้ยบตั้งบอร์ด ธปท.ผิดกม. ล่าสุดจะยื่น ป.ป.ช.
(ผู้จัดการรายวัน 8 สิงหาคม 2551)
เงินเฟ้อ ก.ค.9.2% สูงสุดในรอบ 10 ปี
เงินเฟ้อ ก.ค.พุ่ง 9.2% ทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 10 ปี “พาณิชย์”มั่นใจไม่เพิ่มไปกว่านี้แล้ว เหตุ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล จะช่วยลดค่าครองชีพ แถมราคาน้ำมันยังลดลง ยันคงเป้าเงินเฟ้อ 5-5.5% แม้ 7 เดือนทะลุ 6.6% ยอมรับปัจจัยเสี่ยงตัวเดียวคือ น้ำมัน หากยังเพิ่มขึ้นตัวเลขทั้งปีอาจได้เห็นเงินเฟ้อ 7% ขณะที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน มีมติให้เก็บเงินดีเซล เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 40 ส.ต.ต่อลิตร เพื่อนำมาอุดหนุนราคาพลังงานทดแทน
(ผู้จัดการรายวัน 4 สิงหาคม 2551)
มั่นใจศก.ไทยไม่วิกฤตต้มยำกุ้ง เชียร์ลงทุนFIFเอาชนะเงินเฟ้อ
ผู้บริหารสปส.มั่นใจเศรษฐกิจไทยไม่วิกฤตเหมือนปี 2540 ยืนยันคงพอร์ตหุ้นเท่าเดิมไม่ปรับลด เพราะเน้นรับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล มากกว่าเก็งกำไรราคาหุ้น แต่ยังกลุ้มกับส่วนต่าง 14% ของกองทุนชราภาพ ที่หาผลตอบแทนมาชดเชยได้ยากเพราะตลาดหุ้นไทยที่มีขนาดเล็ก คาดบอร์ดไฟเขียวเพิ่มวงเงินลงทุนหุ้นต่างแดนอีก 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่บลจ.ไทยพาณิชย์ชี้หลายปัจจัยลบจะคลี่คลายในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า แนะนำลงทุนในกองทุนเอฟไอเอฟ เพื่อกระจายความเสี่ยง โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มขยับขึ้นอีก ยกเว้นน้ำมัน
(ผู้จัดการรายวัน 30 กรกฎาคม 2551)
เลี้ยบสวนธปท.ยันจีดีพี6% เมกะโปรเจกต์ดึงต่างชาติ
หมอเลี้ยบลั่นเศรษฐกิจไทยยังโต 6% เตรียมสรุปเมกะโปเจกต์เสนอนักลงทุนเดือนหน้า สศค.ชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังขยายตัวจากส่งออกและการบริโภค ยอมรับการลงทุนเริ่มสะดุดเหตุเอกชนไม่มั่นใจการเมือง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 71.9 จุด ระบุอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปียังน่าห่วง ยันเป้าจีดีพีครึ่งปีหลังยังขยายตัวได้ในระดับ 5-5.5%
(ผู้จัดการรายวัน 30 กรกฎาคม 2551)
กองอสังหาฯ งัดยิลด์ล่อใจ 21 ฟันด์จ่อขาย
ผู้จัดการกองทุนมองแนวโน้มการเติบโตของพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ไทยชะลอตัว หลังโดนสารพัดปัจจัยกดดัน คาดชูอัตราผลตอบแทนเป็นประเด็นหลักในการแข่งขันมากขึ้น ขณะที่บลจ.ไทยพาณิชย์หวังเปิด 2 กองทุนอสังหาฯใหม่ลงทุนโรงแรมและศูนย์กระจายสินค้า พร้อมเตรียมเข็นกองทุนน้ำมัน ผู้เชี่ยวชาญชี้มีอีก 21 กองทุนรอไอพีโอ-เพิ่มทุน ดันเอ็นเอวีพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ไทยแตะ 1 แสนล้านบาท ขณะที่ "เศรษฐพุฒิ - อดิศร" เชื่อปัญหาเศรษฐกิจไทยไม่ร้ายแรงเท่าปี 40 แนะกระจายการลงทุนฝ่าวิกฤตความผันผวน
(ผู้จัดการรายวัน 24 กรกฎาคม 2551)