เอกชนมึน Q2 เจอ 2 ศึกส่งออกวูบ-การเมืองซ้ำ
ภาคเอกชนเผยทิศทางส่งออกไตรมาส 2 ยังคงส่งสัญญาณติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรก เหตุเศรษฐกิจโลกยังค่อยๆ ฟื้นตัวอาจเห็นผลในช่วงไตรมาส 3- 4 มากกว่า แต่ไตรมาส 2 ภาคการผลิตอาจต้องกระทบมากกว่าเหตุทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและวิกฤติการเมืองไทยหากรุนแรงและยืดเยื้อจ่อซ้ำเติมเพิ่มเข้าไปอีกชี้หลายอุตสาหกรรมยังต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศอยู่
(ผู้จัดการรายวัน 7 เมษายน 2552)
เผย 5 อุตฯไทยโตสวนกระแส จี้ปั้นแรงงานยอดฝีมือป้อนด่วน
กสอ. เผย 5 อุตสาหกรรมไทย ได้แก่ นุ่งห่ม เครื่องปรับอากาศ รองเท้า แม่พิมพ์ และซอฟต์แวร์ โตสวนกระแส ต้องการแรงงานฝีมืออีกกว่า 20,000 คน จี้เร่งสร้างแรงงานยอดฝีมือ ผลักดันเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล่านี้
(ผู้จัดการรายวัน 26 มีนาคม 2552)
บสท.หืดจับศก.ทรุดฉุดยอดขายงัดกลยุทธ์จัดที่ดินแปลงสวยเสนอนักลงทุน
บสท.ยอมรับเศรษฐกิจชะลอตัวกระทบยอดขายสินทรัพย์ ปีนี้ตั้งเป้าขาย 9,400 ล้านบาท ขณะที่ปี 51 ขายได้ 10,548 ล้านบาท ล่าสุดจัดกลุ่มที่ดินเปล่าเมืองท่องเที่ยวออกขาย หลังที่ดินเพื่อการเกษตรได้ผลทำยอดได้ 1,000 ล้านบาท เผยปี 54 ครบกำหนด 10 ปีต้องยุบเลิกกิจการ เล็งแบ่งทรัพย์ให้ บสก.และบบส.สุขุมวิทสางต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 5 มีนาคม 2552)
จี้รัฐอุ้มบริษัทจดทะเบียนเล็ก ตั้งกองทุนฯร่วมลงขันแก้ปัญหาสภาพคล่อง
รมว.คลัง ไฟเขียวยกเว้นภาษีควบรวมกิจการ-ปรับโครงสร้างหนี้ หนุนเสริมสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมเร่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย เดินหน้าแก้ปัญหา-อุปสรรคตลาดหุ้น ขณะที่ สมาคมบจ. เสนอรัฐบาลจัดตั้งกองทุนร่วมทุน (เวนเจอร์แคปปิตอล) เพื่อนำเงินไปลงทุนร่วมบริษัทขนาดเล็ก หลังผลสำรวจพบบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็กประสบปัญหาแหล่งเงินทุน พร้อมแก้เกณท์การกู้เงินของบริษัทขนาดใหญ่ให้ขอสินเชื่อได้มากขึ้น ด้านบีโอไอ จี้รัฐบาลเร่งฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติรายใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ส่วนตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมหารือคลังให้สิทธิทางภาษีบจ. แบบถาวร
(ผู้จัดการรายวัน 28 มกราคม 2552)
บจ.รื้อระบบบริหารจัดการ
บริษัทจดทะเบียนตื่นตัว เร่งปรับเกมรับมือความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก "บ้านปู" หยุดกิจกรรมยาวไปถึงกลางปี เหตุยังไม่มั่นใจเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้ว ระบุเน้นให้ความสำคัญกันมูลค่าของสินทรัพย์ และกระแสเงินสดมากขึ้น หลังราคาทรัพย์สินทั่วโลกวูบถ้วนหน้า พร้อมรีวิวสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใหม่ หวั่นผลกระทบลาม ด้าน "ปตท." รื้อแผนรับมือความเสี่ยง ชง 3 แนวทางแก้เกมครอบคลุมทุกกรณี ขณะที่ "กบข" ชี้ หัวใจของระบบบริหารความเสี่ยง คือต้องมีระบบบริหารจัดการเงินที่ดี
(ผู้จัดการรายวัน 14 มกราคม 2552)
“พาณิชย์”เฮงน้ำมันลงกดเงินเฟ้อปีหนู5.5% ปีวัวคาดโตแค่0-1.2%แต่ไม่ถึงขั้นเงินฝืด
“พาณิชย์”โชคช่วยเงินเฟ้อปีหนูเพิ่มแค่ 5.5% หลังเคยมีการประเมินทั้งปีอาจสูงเป็นตัวเลขสองหลัก จากพิษน้ำมัน แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อทั่วโลกเจอวิกฤตเศรษฐกิจ น้ำมันดิ่งลง “ศิริพล”ชี้น้ำมันที่ลดลงช่วยได้มาก แถมยังคุมราคาสินค้าได้ดี ทำให้เงินเฟ้อโตตามเป้า ส่วนปีวัวคาดโตต่ำ 0-1.2% เหตุแรงกดดันเงินเฟ้อไม่มี หากน้ำมันต่ำต่อเนื่อง เงินเฟ้ออาจติดลบ 0.5% ก็ได้ แต่ไม่ถึงขั้นเงินฝืด
(ผู้จัดการรายวัน 6 มกราคม 2552)
คอนซูเมอร์ครึ่งปีแรกหืดจับแนะป้องฐานเก่าสร้างมูลค่าเพิ่ม
นักการตลาด ชี้การตลาดปีฉลูลำบาก ผจญวิกฤตเศรษฐกิจโลก ครึ่งปีแรกหืดขึ้นคอ ภาคเอกชนรอดูสถานการณ์ เม็ดเงินลงทุนหายวูบ แนะรักษาฐานลูกค้าเก่า พร้อมรอจังหวะควักนวัตกรรมขยายฐานลูกค้าใหม่ ปรับตัวเดินแผนรุกเข้าหาลูกค้า สร้างมูลค่าเพิ่มหาจุดขายตอบโจทย์ลูกค้า หวั่นตัดงบกระทบต่อตราสินค้า
(ผู้จัดการรายวัน 6 มกราคม 2552)
บจ.ดูแลกิจการดี คะแนนพัฒนาพุ่ง ต่างชาติมั่นใจเพิ่ม
ผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบจ.ปีนี้ คะแนนดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มSET 100 ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดหุ้นไทยในสายตาชาวต่างประเทศ สำหรับการลงทุนระยะยาวรวมทั้งนักลงไทยด้วยกัน แต่ในหมวดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งต้องเร่งพัฒนาและฝึกอบรมกันต่อไป
(ผู้จัดการรายวัน 24 พฤศจิกายน 2551)
ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯตุลาคมวูบต่ำสุดคำสั่งซื้อหดหาย
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนต.ค.อยูที่ 75.5 ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน สาเหตุยอดคำสั่งซื้อลดและยอดขายหดจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกถดถอยและปัญหาการเมืองภายใน ภาคเอกชนแนะให้ภาครัฐเร่งแก้ปัญหาการเมืองเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและนักลงทุน วันนี้กรอ.นัดหารือภาพรวมเศรษฐกิจและแนวทางรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤศจิกายน 2551)
ไมเนอร์เร่งล้างขาดทุนในจีน ไล่ซื้อ“โรงแรม-อาหาร-ที่ดิน”
ไมเนอร์ ขอเวลาชั่งใจ เหตุวิกฤตการเมือง และเศรษฐกิจโลก ปัจจัยหลักกระทบธุรกิจโรงแรม คาดไตรมาสแรกปีหน้าจึงฟันธงโยนงบ 3,800 ล้านบาทลงทุนต่อหรือไม่ ยอมรับทำธุรกิจแบบประคองตัว ลดต้นทุน เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด ส่วนธุรกิจอาหารในประเทศจีน ปีหน้าเตรียมทบทวนปรับแผน หลังขาดทุนต่อเนื่อง พร้อมใช้วิกฤตเป็นโอกาส ช้อปปิ้งของถูกทั้งพื้นที่เช่า โรงแรม ที่ดิน ระบุใช้เงินสดในมือเทคโอเวอร์กิจการ คุย 3 ไตรมาส ผลประกอบการยังโตต่อเนื่อง 40% มีกำไรสุทธิ 1,477 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 13 พฤศจิกายน 2551)