ซัปพลายเออร์ฝ่าด่านกำลังซื้อหด งัดเกมไซซิ่งกระตุ้นผู้บริโภคเปิดศึกตลาดภูธร
จับตาซัปพลายเออร์สู้ศึกเศรษฐกิจแย่ ดันยุทธศาสตร์ 3 ประการ ฝ่าด่านกำลังซื้อหด "ไซซิ่ง-แพกคู่-รีฟิล" กระตุ้นผู้บริโภค ฟันธงไซส์เล็กระเบิดตลาดภูธรแน่ ส่วนเมืองกรุงสงครามแพกคู่ทวีความรุนแรง "ลีเวอร์-พีแอนด์จี-โอสถสภา-ดอกบัวคู่" เรียงหน้าปรับเกมบุก รับยุคค่าครองชีพสูง พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนนิยมไซส์เล็กลง
(ผู้จัดการรายวัน 26 กรกฎาคม 2548)
ไฟติ้งแบรนด์สกัดเฮาส์แบรนด์ รับยุคขาลง-ซัปพลายเออร์ตั้งป้อมประหมัดโมเดิร์นเทรด
ซัปพลายเออร์ เล็งส่งไฟติ้งแบรนด์สกัดยอดขายเฮาส์แบรนด์ทะลักช่วงเศรษฐกิจขาลง "บุญฤทธิ์" ระบุยักษ์ใหญ่มีสิทธิ์ ขยายพื้นที่ชั้นวาง-อัดกิจกรรมขยายตลาดสู่เมืองกรุง ล่าสุดพบซัปพลายเออร์ใช้ผลตอบแทนสูงล่อใจยี่ปั๊ว-ซาปั๊วขายไฟติ้งแบรนด์ "โอสถสภา" ยันศึกไฟติ้งแบรนด์ปะทะเฮาส์แบรนด์ รบเฉพาะตลาดภูธรเท่านั้น
(ผู้จัดการรายวัน 18 กรกฎาคม 2548)
"ปล่อยผี" สินค้าปรับราคา น้ำปลาขอขึ้นพรวด 5 บาท
พาณิชย์ปล่อยผีเอกชนปรับขึ้นราคาสินค้า ไฟเขียวแค่กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ย้ำปรับราคาเป็นขั้นบันได ขึ้นราคาหน้าโรงงานและราคาขายส่งได้ แต่ราคาจำหน่ายปลีกคงเดิม ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบหลักในประเทศขอให้ตรึงราคาต่อ 3 เดือน ด้านเอกชนโวยลั่นอั้นไม่ไหวแล้ว หมวดอาหารน้ำปลาขอขึ้น 5 บาท กระดาษขอขึ้น 10% ปูนซีเมนต์อ้างต้นทุนเพิ่ม 30% อาหารสัตว์ กระจก น้ำมันพืช และปลากระป๋องยอมกัดฟันร่วมมือ
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2548)
สหพัฒน์ไต่บันไดโตยุคขาลง ร่วมทุนต่างชาติพันล้าน-รายได้แตะแสนล้าน
สหพัฒน์พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ใช้ช่วงเศรษฐกิจขาลงหว่านเงินลงทุนเกือบ 1,000 ล้านบาท ขยายธุรกิจหวังผลระยะยาว ชูนโยบายยุคดีเซลลอยตัว "ดึงต่างชาติร่วมทุน เน้นนวัตกรรม บริหารต้นทุน" ระบุปีนี้ไม่ปรับราคาสินค้า หวังตีท้ายครัวสูบรายได้คู่แข่ง สิ้นปีโตตาม เป้า 15% กวาดรายได้ทะลุหลัก 1 แสนล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 2 มิถุนายน 2548)
“มิสทิน”ชี้ขายตรงไตรมาสแรกเฉามวยรองซุ่มแผนเด็ดบุกครึ่งปีหลัง
ตลาดรวมขายตรงชั้นเดียวในช่วงไตรมาสแรกไม่คึกคัก หลังไทยเจอปัจจัยลบรุมเร้า เหตุเจ้าตลาดรุกหนักรายเดียว ส่วนอันดับรองนิ่งเงียบ เผยมิสทินเดินหน้าไม่หยุด ยอดขายไตรมาสแรกโต 8% เตรียมลุยหนักขึ้นในไตรมาส 2 ด้านเอวอนก็ไม่น้อยหน้าเตรียมรุกบีโลว์ เดอะ ไลน์ ส่วนยู สตาร์ภายใต้ผู้บริหารคนใหม่เตรียมเดินหน้ารุกตลาดหนักขึ้น หวังแซงเอวอนขึ้นแท่นอันดับ 2
(ผู้จัดการรายวัน 19 เมษายน 2548)
นู สกินรุกอาหารเสริมเอเชียหนักผุดรง.นอกอเมริกาในจีนครั้งแรก
"นู สกิน" ขายตรงแดนมะกันรุกตลาดอาหารเสริม เอเชียเต็มสูบ ล่าสุดผุดโรงงานผลิตเครื่องวัดผลอาหารเสริมไบโอ-โฟโตนิก สแกนเนอร์ในจีน พร้อมเอาใจตลาดไทยนำมาเปิดตัวให้สมาชิกขายตรงเช่าสร้างยอดขายเป็นประเทศแรกในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งป้อมรับศึกขายตรงกลุ่มอาหารเสริมท้ายปีแข่งเดือด
(ผู้จัดการรายวัน 28 กันยายน 2547)
ราชประสงค์คิดเทียบชั้นออร์ชาร์ดโรด
สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ผนึกกำลังกทม.-ททท. เร่งเครื่องดันถนนย่านราชประสงค์เทียบเท่าแหล่งชอปปิ้งเวิลด์คลาส อย่างออร์ชาร์ดโรด เดินเรื่องลดภาษีสินค้าไฮเอนด์เหลือ 30% ทุ่ม 100 ล้านบาท ปรับปรุงพื้นที่
ทางเชื่อม ผุดศูนย์บริการท่องเที่ยว อัดกิจกรรมตลาดล่อใจนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 5%
(ผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2547)
ลีเวอร์ปรับทิศรับผู้บริโภคเปลี่ยนอัด100ล.ชูไทยฮับสกินแคร์เอเชีย
ยูนิลีเวอร์ ชี้ โทรศัพท์มือถือ บ้าน รถยนต์ดึงกำลังซื้อผู้บริโภค คนไทย ส่งผลตลาดอุปโภคบริโภคหดตัวโต
3% ไขก๊อกสองลุยต่อยอดกลยุทธ์ Vitality to life "เพิ่มชีวิตชีวา" ทั่วโลก
วางหมากผุดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ สร้าง ตลาดใหม่ล่อใจผู้บริโภค ทุ่มงบ 100 ล้านบาท
ตั้งศูนย์นวัตกรรมผิวและวิจัยสกินแคร์ หวังใช้ไทยเป็นฮับในเอเชีย มั่นใจสิ้นปีโต10%
โชว์ผลประกอบการปี 46 โตตามเป้า 9.4%
(ผู้จัดการรายวัน 24 กุมภาพันธ์ 2547)
อายิโนะโมะโต๊ะล้มแผนชูกำลัง
อายิโนะโมะโต๊ะ ยอมยกธง ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง รายเก่าหวงตลาด รัฐจ้องจับผิด
เกรงอนาคตออกกฎเพิ่มเติม หวั่นสร้างแบรนด์ไม่ทันคู่แข่ง
(ผู้จัดการรายวัน 8 ธันวาคม 2546)
จับตา"โกลด์มาสเตอร์"ปรับแผนระยะสันกู้ยอด
จับตาคดีห้างทอง ส่งผลกระทบธุรกิจโกลด์มาสเตอร์ ชี้มีการปรับแผนระยะสั้นแต่ปฏิเสธไม่เกี่ยวกับยอดขายตกเพราะคดี
มั่นใจกลุ่มเป้าหมาย ซื้อสินค้า ดูรูปแบบผลิตภัณฑ์ไม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์เจ้าของ
กางแผนปีหน้าเตรียม รื้อระบบแฟรนไชส์กลับมาใช้ใหม่อีก เร่งผุดจุดขาย ปีนี้หวังโต
30% เท่าปีที่แล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 6 พฤศจิกายน 2546)