"หัวเหว่ย"คว้าซีดีเอ็มเอ
หัวเหว่ยคว้าซีดีเอ็มเอตามคาดด้วยราคาสุดต่ำ 7.199 พันล้านบาท หรือต่ำกว่างบประมาณ 46.4% สมใจนายกฯ ที่เตรียมนำวิธี e-Auction มาใช้กับโครงการขนาดใหญ่อย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ด้านกลุ่มสามารถถอนฟ้องศาลปกครองหลังเห็นราคาหัวเหว่ย
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2548)
SAMARTปรับโครงสร้างทุน SIF
SAMART เดินหน้าปรับโครงสร้างเงินทุน "สามารถ อินโฟเนต" ขอซื้อหุ้นคืนจาก "กสท โทรคมนาคม" ก่อนขายหุ้นทั้งหมดให้กับสามารถเทเลคอม
(ผู้จัดการรายวัน 24 ธันวาคม 2547)
"กสท" ถกฮัทชิสันสัปดาห์นี้ แก้ซีดีเอ็มเอยึด 2 หลักการ
กสท. เดินหน้าเจรจาแก้สัญญาการตลาดฮัทช์ และสัญญาเช่าโครงการ BFKT กับกลุ่มฮัทชิสันสัปดาห์นี้ ภายใต้ 2 หลักการ คือต้องลดต้นทุนในการให้บริการและลูกค้าต้องมองบริการทั่วประเทศระบบซีดีเอ็มเอ เป็นบริการเดียวกัน "วิทิต" ย้ำคาดว่าบรรลุข้อตกลงภายในสิ้นปีนี้ หากไม่เกิดอุบัติเหตุแทรกแซงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเชิงธุรกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 26 ตุลาคม 2547)
กทช.สัญญาณร้ายทศท/กสท ไม่เร่งปรับตัวอนาคตมืดมน
การเกิดขึ้นของกทช.ไม่เพียงส่งสัญญาณดีกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งระบบ แต่ส่งสัญญาณร้ายถึงทศทและกสท หากไม่เร่งปรับตัว ก็ต้องเริ่มนับถอยหลัง นักวิเคราะห์ฟันธงทศทได้ รับผลกระทบหนัก 3 ด้าน
(ผู้จัดการรายวัน 30 สิงหาคม 2547)
"ทีโออาร์" ถึงมือบอร์ดซีดีเอ็มเอภูธรหมื่นล.
ทีโออาร์มือถือซีดีเอ็มเอ เตรียมเสนอบอร์ด กสท 17 ส.ค.นี้ ด้วยหลักการสำคัญต้องเป็นเทคโนโลยี EV-DO 1,200 สถานีฐาน และต้องพร้อมอัปเกรด (EV-DV Ready) ขณะเดียวกัน ใช้ควอคอมม์เป็นที่ปรึกษาโครงการ ด้านซัมซุงขอความเห็นใจ เพราะอีริคสันซื้อแผนกซีดีเอ็มเอจากควอคอมม์ เกรงไม่เป็นธรรม
(ผู้จัดการรายวัน 16 สิงหาคม 2547)
กสทรุกโทร.ในประเทศบริการผ่านอินเทอร์เน็ต
กสท เปิดศึกโทร.ในประเทศผ่านอินเทอร์เน็ตไม่จำกัดจำนวนและเวลา ขอเพียงเป็นลูกค้าอินเทอร์เน็ต กสท เผยโทร.ต่างประเทศลูกค้าลดลง 1% รายได้วูบเดือนละ 30 ล้าน หลัง ทศท เข้ามาแข่ง กำไรครึ่งปีแรก 1,900 ล้าน ตั้งเป้าทั้งปี 4 พันล้าน พร้อมเข้าตลาดหุ้นไตรมาสแรกปี 48
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2547)
ศึก "กสท-ทศท" บานขนม็อบร้อง "ทักษิณ"
สหภาพฯกสท ขนพนักงานพันคนยื่นหนังสือถึงนายกฯ พิจารณาเรื่องทศทไม่มีสิทธิให้บริการโทร. ต่างประเทศ ด้านสหภาพฯทศทขนพนักงาน 500 คนยื่นหนังสือหวังให้นายกฯมีข้อมูล 2 ด้าน "หมอเลี้ยบ" ชี้ประท้วง ได้แต่ห้ามทำประชาชนเดือดร้อน ย้ำกสทควรส่องกระจกดูประสิทธิภาพองค์กร การบริหารต้นทุนดีกว่าประท้วงเพื่อประโยชน์องค์กรมากกว่าประโยชน์ประชาชน
(ผู้จัดการรายวัน 27 กรกฎาคม 2547)
กสท รื้อสัญญาฮัทช์ปัญหาค่าเช่าระบบ
บอร์ดกสท เตรียมทบทวนสัญญาฮัทช์ มุ่งประเด็นเรื่องค่าเช่าโครงข่ายของบริษัท BFKT เกรงเกิดการผ่องถ่ายรายได้ทำให้ กสท เสียเปรียบ ด้านซีดีเอ็มเอภูมิภาค รอสรุปทีโออาร์ขั้นสุดท้าย หลังบอร์ดล้วงลูกล็อกสเปกสถานี ฐานเอื้อประโยชน์เวนเดอร์รายใหญ่สวีเดน
(ผู้จัดการรายวัน 26 กรกฎาคม 2547)
เอ็มลิงค์ลุยประมูลหมื่นล.
เอ็มลิงค์ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร 4 กลุ่มธุรกิจ หวังเข้าร่วมประมูลโครงการใหญ่โดยอาศัยศักยภาพของพันธมิตร และความน่าเชื่อถือ ของบริษัท เบิกทางได้ 2 โครงการใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและสนามบินสุวรรณภูมิรวมมูลค่าร่วม 4,000 ล้านบาทนำร่อง พร้อมต่อ ยอดธุรกิจด้วยการเพิ่มทุน 540 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้รวมธุรกิจปี 47 กว่าหมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 29 มิถุนายน 2547)
ซัมซุงขอทีโออาร์เข้มประมูลซีดีเอ็มเอภูธร
ซัมซุงชี้จุดอ่อนทีโออาร์ ซีดีเอ็มเอ ในภูมิภาค อาจก่อความเสียหายกับเครดิตประเทศไทยในสายตานักลงทุนต่างชาติ
หลังไม่พบเงื่อนไขทดสอบการเชื่อมโยงกับเครือข่ายฮัทช์ ไม่จำเป็นต้องมีผลงานนอกประเทศ
และเทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัยทำให้ถึงแม้ประกวดราคาจนมีผู้ชนะ แต่โครงการยากที่จะเดินหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 21 มิถุนายน 2547)