ธปท.เตือนคลังเร่งพยุงศก.
แบงก์ชาติระบุในยุคเศรษฐกิจหดหู่ ภาครัฐควรออกนโยบายคลังกระตุ้นไม่ใช่พึ่งแต่การลดอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว เล็งปรับลดจีดีพีปีหน้าต่ำกว่าประมาณการณ์เดิม 3.8-5% ชี้หากเศรษฐกิจขยายต่ำ 2.5-3.5% อาจส่งการจ้างงาน บัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่ และการดูแลประชาชนที่มีรายได้ต่ำอาจไม่เพียงพอ ขณะที่การลดภาษีของภาครัฐอาจสร้างภาระหนี้ระยะยาวได้ ส่วนการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีรัฐควรรับความเสี่ยงการประกันสินเชื่อในสัดส่วนเท่ากับแบงก์พาณิชย์และควรแยกบัญชีออกมาชัดเจน
(ผู้จัดการรายวัน 25 พฤศจิกายน 2551)
ธปท.เชื่อเงินเฟ้อพุ่งไม่กระทบจีดีพี
ธปท.ชี้แม้เงินเฟ้อพุ่งก็ไม่กระทบที่คาดการณ์ไว้แล้วจากสมมติฐานราคาน้ำมัน มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังโตได้ตามเป้าหมายเดิม 6% ส่วนกรณีที่นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยถึง 0.75% ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ มั่นใจส่วนต่างดอกเบี้ยและบาทแข็งไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก เพราะยังมีการลงทุนหลากหลายประเภทที่ไม่พึ่งพาดอกเบี้ยอย่างเดียว แต่จะติดตามสถานการณ์ต่อไปและดูแลไม่ให้กระทบเงินเฟ้อและการเติบโตเศรษฐกิจไทย
(ผู้จัดการรายวัน 6 มีนาคม 2551)
แบงก์ชาติออกบอนด์ล็อตแรกวงเงิน5 หมื่นล.-เพิ่มการออม
แบงก์ชาติคลอดพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตแรกของปีนี้ วงเงิน 50,000 ล้านบาท อายุ 4 ปี และ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรอายุ 4 ปี 3.91% ต่อปี ส่วนพันธบัตรอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.53% ต่อปี เปิดขายให้ประชาชนตั้งแต่วันที่ 18 - 26 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ระบุเพื่อเป็นทางเลือกในการออมและการลงทุนให้ประชาชน
(ผู้จัดการรายวัน 8 กุมภาพันธ์ 2551)
แบงก์ชาติเจ๊ง 3 แสนล้าน โบ้ยค่าเงิน-ไม่มีทางเลือก
ตัวเลขในงบดุลปี 49 ชี้ชัดแบงก์ชาติบริหารทุนสำรองเจ๊ง 3 แสนล้าน รองผู้ว่าฯ อ้างไม่มีทางเลือก แถมโบ้ยค่าเงินเป็นเหตุจาก41 บาทต่อดอลลาร์เป็น 36 บาทต่อดอลลาร์ ส่งผลให้บัญชีงบดุลหลังบันทึกค่าเงินกลับมาเป็นบาทขาดทุนยับ ไม่วายฟุ้งยังคุ้มค่า ภาคส่งออกได้ประโยชน์ดันเศรษฐกิจภาพรวมดีขึ้น ระบุหากไม่แทรกแซงจะขาดทุนจะมากกว่านี้ ค่าเงินบาทอาจอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 23 กุมภาพันธ์ 2550)
แบงก์ชาติลั่นคุมเงินไหลเข้า-ออกไม่หวั่นเฟดปรับดอกเบี้ยสิ้นเดือน
แบงก์ชาติมั่นใจจะดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเข้า-ออกอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจับตาหากมีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าหรือออกมากจนเกินไป ส่วนแนวโน้มที่ตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะปรับขึ้นวันที่ 29 มิถุนายนนี้ เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะธนาคารกลางจะส่งสัญญาณให้ตลาดรับรู้อยู่แล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 15 มิถุนายน 2549)
ปรับขึ้นอาร์/พี 0.25% "อุ๋ย"สวนทางรัฐบาล
เมินใบสั่งการเมือง แบงก์ชาติเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอาร์พี อีก 0.25% ส่งผลอาร์พีล่าสุดอยู่ที่ 5.00% แย้มจะไม่ปรับขึ้นอีกนาน ยกเว้นราคาน้ำมันดันเงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด พร้อมดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ ยอมเลื่อนเป้าหมายทำดอกเบี้ยแท้จริงเป็นบวกออกไปก่อน
(ผู้จัดการรายวัน 8 มิถุนายน 2549)
แบงก์ชาติปรับดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 %ดำเนินนโยบายเข้มสกัดเงินเฟ้อพื้นฐาน
แบงก์ชาติ สกัดเงินเฟ้อ ปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มอีก 0.25 % หลังเงินเฟ้อพื้นฐานพุ่งต่อเนื่อง ดังอาร์พี 14 วันขึ้นเป็น 4.5 % ยอมรับปัจจัยการเมือง ฉุดการลงทุนภาคเอกชนลดลง 1-2 % เชื่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ที่ 4.75-5.75% ตามที่ประเมินไว้ ด้านแบงก์ไทยพาณิชย์-ออมสิน ปรับดอกเบี้ยกู้และฝากขึ้นตามคาด
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2549)
ลูกหนี้แบงก์กระอัก ธปท.ขึ้นอาร์/พีพรวด0.5% ดอกกู้ขยับทันที
แบงก์ชาติช็อกตลาดเงินประกาศขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พี พรวดเดียว 0.50% เป็น 3.25% ต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟดเพียง 0.25% เหตุเงินเฟ้อพุ่งพรวดจากพิษราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น รวมทั้งส่อแววขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องถึงปี 2549 หวังกระตุ้นแบงก์ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากบรรเทาปัญหาอัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบ แต่แบงก์ชั่งใจขยับดอกเบี้ยฝากอ้างขอดูสภาพคล่อง แต่ขาเงินกู้ขยับทันที "ทหารไทย" นำร่องขึ้นเอ็มแอลอาร์ 0.25% แล้ว วงการแบงก์รับเซอร์ไพรส์ คาดการณ์ 2-4 สัปดาห์เห็นทิศทางดอกเบี้ยชัด
(ผู้จัดการรายวัน 8 กันยายน 2548)
อสังหาฯQ1ขยายตัวต่อธปท.คาดราคาบ้านพุ่ง
แบงก์ชาติ เผยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสแรกยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เหตุเศรษฐกิจฟื้น
บวกกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ คาดการณ์ราคาอสังหาริมทรัพย์จะสูงขึ้น ตามราคาต้นทุน
และราคาประเมิน ที่ดินที่สูงขึ้น ระบุธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ร้อนแรงจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ
พร้อมชี้คอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟฟ้าและรถไฟ ใต้ดินเป็นทำเลทอง มีแววราคาพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤษภาคม 2547)
ธปท.ชี้ไข้หวัดนกฉุดจีดีพี0.4%เศรษฐกิจโตหนุนคงดอกเบี้ยอาร์พี
แบงก์ชาติ ยืนอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันไว้ที่ระดับเดิม 1.25% เหตุเศรษฐกิจไทยไตรมาส
4 พุ่งต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีนี้ พร้อมปรับตัวเลขการประเมินผลกระทบจากการแพร่
ระบาดไข้หวัดนกฉุดจีดีพีลงจาก 0.2% เป็น 0.4% ด้านเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี
ดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง
(ผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2547)