คลังหั่นเป้าจีดีพีเหลือ5.1ปีหน้า4%
คลังประกาศลดเป้าจีดีพีทั้งปีเหลือ 5.1 จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 5.6 เหตุส่งออกวูบจากวิกฤตการเงินสหรัฐ ส่วนการบริโภคและลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว ส่วนเป้าจีดีพีปีหน้าเหลือแค่ 4.0-5.0% ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 33-35 บาทต่อดอลลาร์ เชื่อแบงก์ชาติตรึงดอกเบี้ยที่ 3.75% จนถึงสิ้นปี ในขณะที่ปีหน้าการเงินโลกจะยังคงมีความผันผวนต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายวัน 26 กันยายน 2551)
แบงก์ขึ้นดอกเบี้ยซ้ำเติมลูกค้า บิ๊กสศค.ฉะ"แก้ปัญหาไม่ถูกจุด"
ในภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จนส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อลามไปทั่วโลก รวมถึงประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้และประเทศไทยด้วย ซึ่งนอกจากปัญหาดังกล่าวที่ถือว่าเป็นเรื่องหนักหน่วงสำหรับเศรษฐกิจไทยแล้ว ขณะนี้ยังมีความขัดแย้งในทิศทางการดำเนินนโยบายระหว่าง 2 หน่วยงานหลักที่กุมบังเหียนเศรษฐกิจ โดยในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ที่ได้ออกมาส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ขณะที่กระทรวงการคลังมองต่างมุมเห็นควรให้ตรึงดอกเบี้ยเพื่อพยุงไม่ให้เศรษฐกิจถดถอย
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2551)
สศค.คงจีดีพี51โต5-6% ลั่นพื้นฐานศก.ไทยปึ๊ก
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแถลงการณ์คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 51 ที่ระดับ 5-6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับใหม่จาก มาอยู่ที่ 7.2% ยันแม้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นจนกดดันอัตราเงินเฟ้อต่อเนื่อง แต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังรับมือความเสี่ยงได้
(ผู้จัดการรายวัน 26 มิถุนายน 2551)
ผวาน้ำมันดันเงินเฟ้อ10% สศค.รับดัชนีเชื่อมั่นลดลง
สศค.ฟุ้งภาวะเศรษฐกิจเดือนเมษายนยังขยายตัวได้ดี แต่ยอมรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มปรับลดลง ห่วง 3 ปัจจัยหลัก น้ำมัน เงินเฟ้อและการเมืองจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจ คาดเดือนหน้าหลังสรุปทิศทางราคาน้ำมันโลกเสร็จจะปรับเป้าจีดีพีใหม่อีกครั้ง หวั่นหากราคาไม่นิ่งอาจดันเงินเฟ้อไตรมาสสองทะลุหลัก 10% ได้ ขณะที่หมอเลี้ยบยังหวังเศรษฐกิจโตกว่าเงินเฟ้อ
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤษภาคม 2551)
คลังชี้จีดีพีโต5.6%เงินเฟ้อพุ่ง
คลังขยับเป้าจีดีพีเพิ่มเป็น 5.6% หลังแนวโมเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวในทิศทางที่สดใสการใช้จ่ายภาครัฐดึงความเชื่อมั่นภาคเอกชนให้เกิดการลงทุนตาม ด้านเงินเฟ้อไม่น้อยหน้าพุ่งกระฉูดถึง 4.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.0% เหตุต้นทุนสินค้าในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน เชื่อธปท.ถูกกดดันจากปัจจัยภายนอกให้ลดดอกเบี้ยลง 3.0% ตามเฟดหนีส่วนต่างดอกเบี้ยสหรัฐ
(ผู้จัดการรายวัน 27 มีนาคม 2551)
ธปท.งัดข้อคลังไม่ลดดอกเบี้ยจับตาทุนไหลเข้าดันบาทแข็ง
ศึกรอบใหม่คลัง-แบงก์ชาติระอุ "หมอเลี้ยบ"ระบุลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นหน้าที่กนง. ขณะที่บิ๊ก สศค.แนะให้ลดดอกเบี้ยหลังเฟดหั่นดอกเบี้ยรอบใหม่ 0.75% ป้องกันแรงกดดันเงินทุนไหลเข้า ขณะที่แบงก์ชาติเมิน ลั่นให้ความสำคัญเงินเฟ้อและปัจจัยภายในประเทศ นายแบงก์แนะ ธปท.อย่าแทรกแซงค่าเงินมากเกิน ด้านตลาดหุ้นต่างประเทศคึกคัก หลังเฟดลดดอกเบี้ย 3 สลึง
(ผู้จัดการรายวัน 20 มีนาคม 2551)
คลังเผยส่งออกเม.ย.หนุนศก.เงินเฟ้อ1.8%ต่ำติดต่อ5เดือน
สศค.เผยตัวเลขส่งออกเดือนเมษายนขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 มูลค่า 1.1 หมื่นล้าน หรือเพิ่มขึ้น 18.5% เป็นผลต่อการขยายการส่งออกใหม่ๆ ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณที่ดี ยันฐานะการคลังยังมีสถียรภาพ เงินเฟ้อทั่วไป 1.8% ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
(ผู้จัดการรายวัน 30 พฤษภาคม 2550)
ชง "ฉลองภพ" ชี้ขาดบอนด์ธปท.
สศค.เตรียมเสนอ "ฉลองภพ" ชี้ขาดกรณีแบงก์ชาติขอวงเงินออกบอนด์อุ้มค่าเงิน 4 แสนล้านบาท "พรรณี" เสนอให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 3.75-4.25% ช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้าแทนการขอออกบอนด์ล๊อตใหญ่ เผยภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.ยังน่าห่วง การบริโภค-ลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงต่อเนื่อง นักค้าเงินเผยค่าเงินบาทวานนี้ทรงตัวหลังแบงก์ชาติซื้อดอลลาร์ ส่วนตลาดหุ้นซึมเหตุกังวล พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
(ผู้จัดการรายวัน 30 มีนาคม 2550)
คลังรั้งท้ายปรับเป้าจีดีพีเหลือ4%เร่งเข็นงบฯ-ลงทุนภาครัฐพยุงเศรษฐกิจ
คลังรั้งท้ายปรับเป้าจีดีพีปี 50 ลดเหลือ 4.0% ชี้เศรษฐกิจปีหมูไม่หมูอีกต่อไป เจอเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวซ้ำเติม "การใช้จ่าย–บริโภค–ลงทุนภาคเอกชน"ฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่ยังให้ความหวังหากเบิกจ่ายงบปี 50 ได้ไม่ต่ำ 93% ผนวกกับรัฐวิสาหกิจลงทุนได้ถึง 85% อาจกระตุ้นให้ภาคเอกชนขยับตัวได้บ้าง ฟุ้งนโยบายการคลังภาครัฐจะยังเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 28 กุมภาพันธ์ 2550)
คลังฝืนยืนเป้าจีดีพีปี50โต4-5%ยันรับอานิสงส์ราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อวูบ
คลังกัดฟันยืนเป้าจีดีพีปี 50 โต 4-5% รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าคาดกดดันให้เงินเฟ้อลดลง แต่ยังไม่วางใจติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แย้มกุมภาฯประเมินภาวะเศรษฐกิจอีกรอบ ส่วนทั้งปี 49 มั่นใจเศรษฐกิจโตไม่ต่ำกว่า 5% รับอานิสงส์จากภาคการส่งออกที่ขยายตัวถึง16.9% ยันฐานะการคลังไม่มีปัญหา โชว์จัดเก็บรายได้ยังเกินเป้า-หนี้สาธารณะลดลง
(ผู้จัดการรายวัน 31 มกราคม 2550)