ประวัติศาสตร์ซ้ำซากทศทซื้อเคเบิลฮั้ววงใหญ่ 5 รายแพงเกินจริง 30%
พ่อค้าเคเบิลใน ประเทศเฮ บอร์ดทศทอนุมัติจัดซื้อ 800 ล้านบาท 74 รายการ แบ่งเค้ก
กันทั่ว 5 บริษัทหน้าเดิม อาศัยกลไกเก่าๆ ผ่านคณะกรรมการทรัพยากรที่มีพล.ต.ท.บุญญฤทธิ์
รัตนะพร เป็นประธาน หลังอกหักลอบบี้หมอเลี้ยบให้ตีกรอบใช้ในโครงการโทรศัพท์ 5 แสนเลขหมายไม่สำเร็จ
แถมถูกตอกกลับราคาต่างประเทศถูกกว่าจะบังคับ ทศท ให้ซื้อเคเบิลในประเทศได้อย่างไร
คนในวงการชี้คู่แข่ง ทศท แอบหัวเราะซื้อเคเบิลแพงกว่าชาวบ้าน 30%
(ผู้จัดการรายวัน 7 เมษายน 2547)
เบื้องหลังปลดประธานทศทไม่สนอง 2 โครงการใหญ่
ทศท ยืมมือคุณหญิงทิพาวดี ทิ้งทวน 2 โครงการใหญ่ ทั้งการแก้เงื่อนไขผลงานก่อสร้างท่อร้อยสายของโครงการโทรศัพท์
5 แสนเลขหมาย และการอนุมัติเงินขยายเครือข่ายไทยโมบายกว่า 1,400 ล้านบาทที่สูงเกินจริง
และไม่สนใจภาพรวมยุทธศาสตร์ที่อยู่ระหว่างรอการปรับเปลี่ยน
(ผู้จัดการรายวัน 16 ตุลาคม 2546)
กสท.แซงคิวเข้าตลาด อนาคตผูกติด "ซีดีเอ็มเอ"
หมอเลี้ยบ ฟันธง หุ้นกสท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯปลายม.ค.47 ก่อนหน้า ทศท. หลังพบความไม่ชัดเจนหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนแบ่งรายได้,
ค่าเชื่อมโครงข่าย, ไทยโมบาย พร้อมเร่งโครงการโทรศัพท์ 5 แสนภายใน 3 เดือน ด้านกสท.ฝากอนาคตกับ
ซีดีเอ็มเอด้วยการประมูลซื้อโครงข่ายเอง ยันข้อเสนอนอร์เทลมีความเป็นไปได้
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2546)
ไทยโมบายฟื้นโคม่าจ้างที่ปรึกษารื้อใหม่
หมอเลี้ยบ ผ่าตัดใหญ่ไทยโมบาย ให้ทศทจ้างที่ปรึกษาบริษัท Ureka รื้อโครงสร้างทั้งระบบ
รวมทั้งแนวทางดึงมืออาชีพด้านการตลาดเข้ามาบริหาร ด้านสหภาพฯทศทย้ำนาทีนี้ต้องรีบตัดสินใจระหว่างทศทกับกสท.ให้ใครทำ
ดีกว่ากอดคอจมน้ำตายทั้งไทยโมบายกับ ซีดีเอ็มเอ
(ผู้จัดการรายวัน 4 สิงหาคม 2546)
นอร์เทลยื้อโครงการCDMAไม่เลิก ยื่นข้อเสนอเด็ด "หมอเลี้ยบ" ตัดสิน
นอร์เทลยื่นข้อเสนอน่าสนใจ โครงการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ เปิด 2 ทางเลือกลงทุน
8 พันล้านบาท 1 พันสถานี ฐานครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยคุณสมบัติดีกว่าข้อเสนอ 3.1
หมื่น ล้านบาท หรือ 150 สถานีฐาน 15 เมืองยุทธศาสตร์ ลงทุน 1 พันล้านบาท ชี้ทางออก
กสท.จะลงทุนบนพื้นฐานสนองความต้องการตลาดแท้จริงหรือเลือกลงทุนครอบคลุมทั่วประเทศเพราะแรงอีโก้
(EGO)
(ผู้จัดการรายวัน 9 กรกฎาคม 2546)