ธปท.ป้องแบงก์ปล่อยกู้ส่งออก
ธปท.รับยอดสินเชื่อคงค้างปี 51 มีบางภาคธุรกิจได้รับสินเชื่อลดลง แต่มั่นใจไม่มีธุรกิจใดถึงขั้นล้มหายตายจากเหมือนวิกฤตปี40 แจงแบงก์ไม่ได้จำกัดให้สินเชื่อธุรกิจภาคส่งออก ระบุคำสั่งซื้อสินค้าลดลง ทำให้ความต้องการขอสินเชื่อจากแบงก์ลดลงตาม ส่วนยอดสินเชื่อปี 51 แบงก์อนุมัติสินเชื่อให้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 21.20%
(ผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2552)
ข่าวร้ายลูกค้ากู้เงินต้องรอยาวถึงสิ้นปี
อนาคตมืดมน คนขอสินเชื่อแบงก์ต้องรอสิ้นปี บิ๊ก ธปท.ป้องแบงก์พาณิชย์ยังไม่ปล่อยกู้เพราะสถานการณ์ยังไม่เป็นใจ หวั่นเจอลูกค้าไม่ดี คุยต่อไปใช้หลักเกณฑ์บาเซิล 2 การปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น เหตุลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุน โดยเฉพาะปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยเหลือ 75% สินเชื่อบ้าน 35% เอื้อธุรกิจแบงก์เล็กที่มีพอร์ตด้านนี้มาก รวมถึงให้แบงก์กันสำรองลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนที่สูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้
(ผู้จัดการรายวัน 27 มกราคม 2552)
ยอดใช้บัตรเครดิตต.ค.เพิ่ม 6%
ธปท.เผยในช่วงเดือนต.ค.ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 6% หรือเพิ่มขึ้นกว่าหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบงก์ชาติระบุไม่น่าหว่ง แม้ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมจะเพิ่มขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอก็ไม่ใช่เป็นการก่อหนี้ แต่เป็นการหันมาใช้จ่ายบัตรเครดิตซื้อสินค้าที่จำเป็นแทนเงินสด
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2550)
NPLไตรมาส2เพิ่ม2.7หมื่นล้านแบงก์ชาติกัดฟันไม่กระทบศก.
แบงก์ชาติระบุยอดเอ็นพีแอลใหม่ไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้นกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1% ของยอดสินเชื่อรวมทั้งระบบเท่านั้น ยันยังไม่ส่งผลกระทบเพราะฐานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยสูงถึง 14% เผยห่วงสินเชื่อรายย่อยมากกว่าสถาบันเพราะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 12 กันยายน 2550)
ธปท.ส่งซิกบัตรเครดิตลดดบ.ประเมินผลกระทบตลาดก่อนมอบนโยบาย
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2550 ที่ผ่านมา ในการประชุม 3 ครั้งของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วทั้งสิ้น 1% ส่วนจะมีผลให้ธปท.มีการทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตหรือไม่ในอนาคตนั้นขอดูผลที่เกิดขึ้นกับตลาดธุรกิจบัตรเครดิตก่อนว่าตลาดมีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหนบ้าง
(ผู้จัดการรายวัน 23 เมษายน 2550)
ธปท.ใช้มาสเตอร์แพลน2สิ้นปี
ธปท.เผยมาสเตอร์แพลนฉบับที่ 2 ช่วยพัฒนาธุรกิจไทยรองรับการค้าขายยุคไร้พรหมแดน เชื่อผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน รับแผนฉบับนี้มีอุปสรรคบ้าง เหตุต้องพิจารณาให้ละเอียดหวั่นเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยวิกฤตปี 40 มั่นใจเสร็จทันออกมาใช้ได้ภายในสิ้นปีนี้แน่ ส่วนการใช้ IAS 39 มั่นใจช่วยสร้างความมั่นคงให้สถาบันการเงิน ป้องกันเงินออมในระบบที่มีอยู่ 7 ล้านล้านของประชาชน
(ผู้จัดการรายวัน 19 มีนาคม 2550)
ธปท.คุมสถาบันการเงินเข้มเชือดแบงก์BISต่ำกว่า9.5%
แบงก์ชาติคุมเข้มสถาบันการเงินออกเกณฑ์เพิ่มเติมด้านเงินกองทุน ระบุหากบีไอเอสต่ำกว่า 9.5% สั่งทำแผนเพิ่มทุน-ชะลอขยายสินเชื่อหรืองดโครงการที่ต้องใช้เงิน แต่ถ้าต่ำกว่า 8.5%ต้องถอดถอนบอร์ด และหากเงินกองทุนเหลือ 35%เพิกถอนใบอนุญาต หวั่นดูแล-ตรวจสอบไม่ทันการณ์ อาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน 12 ธันวาคม 2549)
อนุมัติปรับเพดานดบ.บัตรเครดิตคาดแบงก์มีกั๊กขยับขึ้นหวังชิงลูกค้า
แบงก์ชาติได้ฤกษ์อนุมัติเพิ่มเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีก 2% เป็น 20% พร้อมผ่อนเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติผู้ถือให้ดูจากเงินฝากหรือพันธบัตรที่ผู้ถือบัตรมีครอบครองอยู่ด้วย แต่ยังไม่ปรับเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล เหตุอยู่ในอัตราที่สูงอยู่แล้ว เชื่อแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตโตได้ และจะไม่สร้างปัญหาเอ็นพีแอลให้ระบบเศรษฐกิจ คาดผู้ประกอบการบางรายอาจยังไม่ปรับดอกเบี้ย หวังใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน
(ผู้จัดการรายวัน 29 พฤศจิกายน 2549)
"แบงก์ชาติ"โยนลูกให้คลังชี้ขาดขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น20%
แบงก์ชาติชงคลังตัดสินข้อเสนอผู้ประกอบการบัตรเครดิตให้ปรับขึ้นเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% และกรณีขอลดวงเงินชำระขั้นต่ำเหลือ 5% ระบุต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ของผู้ประกอบการและภาระของประชาชน แต่ยอมรับผู้ประกอบการมีต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นจริงๆ
(ผู้จัดการรายวัน 9 สิงหาคม 2549)