เซเว่นฯแก้เกมร้านแฟรนไชส์ปิดลุยเปิดเองก่อนให้แฟรนไชส์สวม
ซีพีออล์ปรับทิศ หันกลับมาลุยเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเองก่อนปล่อยแฟรนไชส์สวมต่อ หลังพบทำเลที่แฟรนไชส์หาเองไม่มีประสิทธิภาพ เปิดแล้วต้องปิดไปมาก ผนึก 3 แบงก์ยักษ์ให้สินเชื่อแฟรนไชส์ดอกเบี้ยต่ำ พร้อมขนสินค้าในแคตตาล็อกไปวางขายในร้านเซเว่นฯเพิ่มขึ้น
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 กุมภาพันธ์ )
เซเว่นฯ ปลื้ม"อิ่มสะดวก" ยอดพุ่ง 5 ล้านกล่อง/เดือน
เซเว่นฯ ปลื้มจุดยืนใหม่ "ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย" ดันยอดขายพุ่งเกือบ 5 ล้านกล่องต่อเดือน ไตรมาส 3 ที่ผ่านมามีรายได้รวมทะลุ 2.8 หมื่นล้านบาท คาดปีหน้าดันการผลิตเพิ่มอีก 50%
(ASTVผู้จัดการรายวัน 18 พฤศจิกายน 2552)
เซเว่นอีเลฟเว่นปรับกลยุทธ์ในจีนเล็งปิดสาขาที่ยอดขายไม่คุ้มทุน
ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ปรับแผนลดเปิดสาขาโลตัสในจีนจากเดิม 10-15 บริษัท เป็น 5-10 บริษัท พร้อมปิดสาขาที่มียอดขายไม่คุ้มทุนในอนาคต ขณะที่เตรียมทุ่มงบลงทุนในประเทศ 3 พันล้านบาท ขยายสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นเพิ่ม 400-450 สาขา หวังปรับปรุงคุณภาพสาขา 400 สาขาทั่วประเทศ ยอมรับปัญหาการเมือง-ราคาน้ำมันกระทบธุรกิจครึ่งปีแรก
(ผู้จัดการรายวัน 18 สิงหาคม 2549)
CP7-11 ควัก 100 ล.ช่วย "ไทยสมาร์ทคาร์ด"
CP7-11 ควักทุน 100 ล้านบาท ให้บริษัทร่วมทุน "ไทยสมาร์ทคาร์ด" ยืมเพื่อใช้ลงทุนสำหรับอุปกรณ์ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานปี 49 พร้อมตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสอนในระดับปริญญา และแต่งตั้งกรรมการใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 30 ธันวาคม 2548)
วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำตลาดปี 48 สยายปีกจนถูกกดดันทางสังคมแบบไม่คุ้มค่า
ประมวลข่าว วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำ ปี 2548 ขาใหญ่ต่างเดี้ยงเมื่อต้องเผชิญมรสุมร้ายส่งผลกระทบต่ออิมเมจที่สั่งสมมานาน พลอยได้รับผลกระทบไปอย่างที่ไม่คุ้มค่า ไล่เรียงตั้งแต่ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ โออิชิ เบียร์ช้าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ยูบีซี แอมเวย์ เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำได้อย่างดี
(ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2548)
ชะลอจับเซเว่นยืดเวลาอีก 2 วัน รอคำสั่งกระทรวง
"พินิจ" สั่งชะลอการจับกุมร้านเซเว่นฯ โชว์บุหรี่ 2 วัน จนกว่าคำสั่งกระทรวงฯ ที่หารือร่วมกับฝ่ายกฎหมายต่างๆ จะเสร็จสิ้น เผย "ซีพี" ขอเข้าพบเพื่อพูดคุยหาทางออก เชื่อจะได้รับความร่วมมืออย่างดี ด้านเลขาฯ สคบ.ร่อนจดหมายถึง "พินิจ" ตบหน้าเซเว่นฯ ระบุกฎหมายห้ามวางบุหรี่ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ขายสินค้าโดยไม่ต้องโชว์ได้
(ผู้จัดการรายวัน 11 พฤศจิกายน 2548)
แบงก์กรุงศรีอยุธยาจับมือเซเว่นฯปล่อยกู้ลูกค้าทำธุรกิจแฟรนไชส์
แบงก์กรุงศรีอยุธยาคลอดผลิตภัณฑ์ใหม่ จับมือพันธมิตรค้าปลีกรายใหญ่ "เซเว่น อีเลฟเว่น" ปล่อยกู้ผู้ประกอบการที่จะซื้อแฟรนไชส์ 3 ประเภท คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก "MLR ลบ 2" ปีต่อไปคิดดอกเบี้ย MLR หวังขยายสินเชื่อและฐานลูกค้า เบื้องต้นผู้ประกอบการเข้าขอสินเชื่อกว่า 100 ล้านบาท แย้มเร็วๆ นี้เตรียมจับมือกับพันธมิตรแฟรนไชส์รายที่สอง มั่นใจทั้งปีสินเชื่อเกินเป้าหมายแน่
(ผู้จัดการรายวัน 10 พฤษภาคม 2548)