สภาพัฒน์เผยจีดีพีQ1ลบ7%-แบงก์ชาติรับเลวร้ายสุด
สภาพัฒน์แถลงเศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัว 7.1% ระบุรุนแรงกว่าที่คาดหลังเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรง คาดจีดีพีทั้งปีติดลบ 3.5 ถึงติดลบ 2.5% ผู้บริหารแบงก์ชาติยอมรับตัวเลขลบ 7.1% เป็นไปตามประมาณการขั้นเลวร้ายสุด เผยยังไม่เห็นแววมีการลงทุนภาคเอกชนภายในปีนี้ ตามคาดโยนภาระให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจดันความเชื่อมั่น
(ASTVผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2552)
สภาพัฒน์คาดจีดีพีติดลบ
สภาพัฒน์ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 52 ลงเหลือ -1 ถึง 0% จากที่ขยายตัวในระดับ 2.6% ในปี 51 ชี้ตัวเลขหดเพราะเศรษฐกิจโลกพ่นพิษ-ส่งออกทรุด เผยไตรมาส 4 ปี 51 จีดีพีติดลบ 4.3% เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่ยังไม่เท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง ส.อ.ท.ประเมินส่งออกไตรมาส 2 ส่อเค้าแย่กว่าไตรมาส 1 เหตุคำสั่งซื้อมาต่ำกว่าที่คาดไว้ แนะรัฐรับมือปัญหาแรงงานตกงานพุ่งสูงหากจีดีพีไตรมาส 2 ติดลบ 2.5% แรงงานตกงาน 1.2 ล้านคน เตรียมจับมือกรมจัดหางานจัดตลาดนัดพบแรงงานเน้นระดับปริญญาตรีวันที่ 20-21 มี.ค.ที่สยามพารากอน
(ผู้จัดการรายวัน 24 กุมภาพันธ์ 2552)
สภาพัฒน์ฯลดเป้าจีดีพีเหลือ4-4.5%แนะ4มาตรการสานต่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สภาพัฒน์ฯยอมถอยปรับลดจีดีพีปี 50 เหลือ 4.0-5.0% จาก 4.5-5.0% ระบุยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันผันผวน และความเชื่อมั่นของประชาชน-ธุรกิจต่อเศรษฐกิจ-การเมืองยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ตัวเลขจีพีดีไตรมาสแรกขยายตัว 4.3% ใกล้เคียงกับไตรมาส 4 ปี 49 โดยรับแรงหนุนหลักจากการขยายตัวของภาคการส่งออก พร้อมแนะรัฐเร่ง 4 มาตรการหนุนเศรษฐกิจ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้า รวมถึงเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และสร้างความมั่นใจในด้านการท่องเที่ยว-การเมือง
(ผู้จัดการรายวัน 5 มิถุนายน 2550)
หวั่นเศรษฐกิจซบยาวถึงปีหน้าแนะเร่งใช้เงินรสก.โปะงบปี50
สศช.เผยจีดีพีไตรมาส 2 ปี 49 โต 4.9% ลดลงจาก 6.1%ในไตรมาสแรก ระบุการใช้จ่าย-บริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนยังน่าเป็นห่วง ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเริ่มกระทบภาคส่งออก พร้อมปรับประมาณปี 49 เหลือ 4.2-4.7% แนะต้องเร่งเบิกจ่ายเงินงบรัฐวิสาหกิจที่เหลือเพื่อชดเชยความล่าช้างบฯปี 50
(ผู้จัดการรายวัน 5 กันยายน 2549)
สศช.หั่นเป้าจีดีพีปี”49เศรษฐกิจทรุด-ขาดดุล
สภาพัฒน์ฯ ถอยเป้าจีดีพี ปี 49 เหลือ 4.6% ระบุชัดเศรษฐกิจชะลอตัว ขาดดุล 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สัญญาณเศรษฐกิจโลกถดถอยกระทบชิงส่งออกอิเล็กทรอนิกส์- ยานยนต์ กัดฟันพูดคุมเงินเฟ้ออยู่ 4.5-4.7% แต่น้ำมันไต่ระดับไม่เกิน 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR 8% เร่งมาตรการกระตุ้นศก.ช่วงไร้รัฐบาล อย่าต่างคนต่างทำ ฉุดจีดีพีเหลือ 4.2% แม้ไตรมาสแรกโชว์ 6% กินบุญเก่า ส่งออก ภาคเกษตรโต และท่องเที่ยว
(ผู้จัดการรายวัน 6 มิถุนายน 2549)
มกอช.วางยุทธ์ศาสตร์แข่งขันปกป้องสินค้าเกษตร-อาหาร
มกอช. ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารหวังเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
พร้อมเดินหน้าเจรจาทางการค้าเพื่อปกป้องประโยชน์สินค้าเกษตร-อาหารไทย
(ผู้จัดการรายวัน 3 มิถุนายน 2546)