CPFฟุ้งกำไรปีนี้แตะหมื่นล.ปรับสัดส่วนรายได้ลดเสี่ยง
เจริญโภคภัณฑ์อาหาร อวดกำไรปีนี้แตะ 1 หมื่นล้านบาท หลัง 9 เดือนแรกทะลุ 8 พันล้านบาท แม้รายได้พลาดเป้าโตเพียง 3-5% มั่นใจตัวเลขปันผลสวย " อดิเรก " เผยเน้นสร้างกำไรโตต่อเนื่องเพื่อจ่ายปันผลคืนผู้ถือหุ้น อีก 5 ปีข้างหน้าสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลักเท่ากันเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนปี 53 อัดงบลงทุน 4 พันล้านเน้นต่างประเทศ
(ASTVผู้จัดการรายวัน 11 พฤศจิกายน 2552)
CPFภัยธรรมชาติไม่กระทบโรงงานตุรกี
“ซีพีเอฟ” มั่นใจธุรกิจตุรกีเติบโตต่อเนื่อง ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น กลับกันได้รับอานิสงส์จากวิกฤตดันผลดำเนินงานดียิ่งขึ้นแทน เชื่อทำให้ผลดำเนินงานรวมของบริษัทขยายตัว ด้านโบรกฯรุดปรับประมาณการกำไรสุทธิ ขึ้นจาก 7,383 ล้านบาท เป็น 9,307 ล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 5 ตุลาคม 2552)
“CPF”ทบทวนแผนขยายการลงทุน งวด9เดือนกำไรสุทธิเพิ่มกว่า150%
ซีพีเอฟ โชว์ผลงานงวด 9 เดือนแรก กำไรสุทธิรวม 2.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 151% หลังราคาสินค้าและยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือมียอดขายรวมเกือบ 1.2 แสนล้านบาท ด้านผู้บริหารมั่นใจกระแสไข้หวัดนกไม่กระทบเป้ายอดขายที่ 1.5 แสนล้านบาท พร้อมมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนในปีหน้า ระบุทบทวนแผนลงทุนขยายงานมาตั้งแต่ต้นปีหลักจากเกิดวิกฤตการเงินโลก
(ผู้จัดการรายวัน 13 พฤศจิกายน 2551)
ซีพีเอฟกำไรทรุดฮวบ50%
ซีพีเอฟ เจอพิษราคาสินค้าเนื้อสัตว์ตกต่ำสวนทางราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น ผสมโรงเงินบาทแข็งค่า ฉุดผลการดำเนินงานปี 50 กำไรทรุดเกือบ 50% จาก 2,510 ล้านบาท เหลือแค่ 1,275 ล้านบาท ขณะที่บอร์ดใจป้ำอนุมัติจัดสรรงบ 640 ล้านบาท จ่ายปันผลในอัตราหุ้นละ 0.085 บาท กำหนดจ่าย 22 พ.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 29 กุมภาพันธ์ 2551)
ซีพีเอฟขยายลงทุนตปท.เป้า5ปีสัดส่วนรายได้50%
ซีพีเอฟ ชี้ปีหน้าคนไทย รับศึกหนักค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น ราคาไข่ไก่ เนื้อไก่ เนื้อหมูปรับอีกเพียบ หลังต้นทุนอาหารสัตว์พุ่งสูงจากปัจจัยการนำพืชเกษตรไปผลิตพลังงานทดแทนและ ภาวะโลกร้อน จี้รัฐบาลใหม่ เร่งเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผ่านการประกันราคาสินค้า ดันเศรษฐกิจโตรับส่องหาช่องทางขยายการลงทุนต่างประเทศเพิ่ม พร้อมผุดโรงงานผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มในอินเดีย ยูเครนเพิ่ม วาดฝัน 5 ปี ปรับสัดส่วนรายได้ต่างประเทศได้อีก 50% แน่
(ผู้จัดการรายวัน 14 พฤศจิกายน 2550)
CPFไตรมาส1ขาดทุน1.1พันล.อ้างเหตุต้นทุนพุ่งเงินบาทแข็ง
CPFไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุน 1,135 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศซบเซา ราคาขายสินค้าต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับเพิ่ม รวมทั้งเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้ส่วนต่างค่าเงินต่ำลง มั่นใจไตรมาส 2 ดีขึ้นแน่ เหตุผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศจะให้ผลตอบแทนที่ดีสู่บริษัทแม่ ขณะที่ราคาหุ้น CPF วานนี้ลดลง 0.43%
(ผู้จัดการรายวัน 10 พฤษภาคม 2550)